รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เชิงรุก (Active Learning)
ความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์และสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาล ๑ (กบินทร์ราษฎรอำรุง)
ผู้วิจัย นางปวีร์ คำแหง
ชื่อสถานศึกษา โรงเรียนเทศบาล ๑ (กบินทร์ราษฎรอำรุง)
ปีที่พิมพ์ 2565
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและประเมินหาคุณภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เชิงรุก (Active Learning) เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์และสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาล ๑ (กบินทร์ราษฎรอำรุง) และ 2) เพื่อศึกษาผลของการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เชิงรุก (Active Learning) เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์และสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาล ๑ (กบินทร์ราษฎรอำรุง) ดำเนินการวิจัยเป็นแบบวิจัยและพัฒนา มี 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เชิงรุก (Active Learning) เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์และสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาล ๑ (กบินทร์ราษฎรอำรุง) ขั้นตอนที่ 2 การทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เชิงรุก (Active Learning) เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์และสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาล ๑ (กบินทร์ราษฎรอำรุง) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาล ๑ (กบินทร์ราษฎรอำรุง) อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 2 ห้องเรียน รวมนักเรียน 60 คน ซึ่งได้มาโดยใช้วิธีการสุ่ม ทำการทดลองใช้รูปแบบการสอนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น แบบแผนการวิจัยเป็นแบบสุ่มเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ทดสอบก่อนและหลังการทดลอง (Randomized control group pretest-posttest design) และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การทดสอบความแปรปรวนทางเดียว (OneWay ANOVA) การทดสอบค่าทีสำหรับกลุ่มตัวอย่างที่อิสระต่อกัน (t-testindependent)การทดสอบค่าทีสำหรับกลุ่มตัวอย่างที่ไม่อิสระต่อกัน (t-test dependent) และวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมทางเดียว (One Way ANOVA)
ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เชิงรุก (Active Learning) เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์และสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาล ๑ (กบินทร์ราษฎรอำรุง) มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่แนวคิดของรูปแบบ วัตถุประสงค์ ผลลัพธ์ที่คาดหวัง กระบวนการจัดการเรียนการสอนและการวัดและประเมินผล โดยกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนประกอบไปด้วย 4 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 ทำความเข้าใจ ขั้นที่ 2 คิดวิธีหาคำตอบเพื่อวางแผน ขั้นที่ 3 แสดงวิธีการหาคำตอบอย่างสร้างสรรค์ ขั้นที่ 4 ตรวจคำตอบและสรุปผล 2) การศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เชิงรุก (Active Learning) เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์และสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาล ๑ (กบินทร์ราษฎรอำรุง) พบว่า นักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เชิงรุก (Active Learning) ที่มีพื้นฐานทางการเรียนต่างกัน มีความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์และสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์ หลังเรียนแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เชิงรุก (Active Learning) มีความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์และสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์ สูงกว่านักเรียนที่เรียนด้วยการสอนแบบปกติและมีความสามารถในด้านการคิดวิเคราะห์และสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์ หลังเรียนสูงกว่า ก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เชิงรุก (Active Learning) และนักเรียนที่เรียนด้วยการสอนแบบปกติมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05