การพัฒนารูปแบบการสอนภาษาไทยตามแนวคิดเชิงรุกเพื่อส่งเสริมการคิดอย
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ผู้วิจัย นางสาววลัยพร ก้อนจันทร์หอม
ปีที่ศึกษา 2565
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการสอนภาษาไทยตามแนวคิดเชิงรุก เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานการพัฒนารูปแบบการ
สอนภาษาไทยตามแนวคิดเชิงรุกเพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
2) เพื่อพัฒนารูปแบบการสอนภาษาไทยตามแนวคิดเชิงรุกเพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการสอนภาษาไทยตามแนวคิดเชิงรุกเพื่อส่งเสริมการคิด
อย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ4) เพื่อประเมินรูปแบบการสอนภาษาไทย
ตามแนวคิดเชิงรุกเพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่าง
ที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้เป็นนักเรียนเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน
30 คน โรงเรียนเทศบาล 3 บ้านเหล่า เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบ
สนทนากลุ่ม (Focus Group Disoussion : FGD) แบบประชุมการมีส่วนร่วม แบบประเมินร่างรูปแบบการ
สอนภาษาไทยตามแนวคิดเชิงรุก แผนการจัดการเรียนรู้รูปแบบการสอนภาษาไทยตามแนวคิดเชิงรุก
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทยตามแนวคิดเชิงรุก แบบทดสอบวัดความคิดอย่างมี
วิจารณญาณ แบบวัดความพึงพอใจ และแบบประเมินรูปแบบการสอนภาษาไทยตามแนวคิดเชิงรุก วิเคราะห์
ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) (t-test dependent samples) การวิเคราะห์
เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัย พบว่า
1. รูปแบบการสอนภาษาไทยตามแนวคิดเชิงรุก เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 (SHARP MODEL) ซึ่งการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดเชิงรุกเป็นกลยุทธ์การ
เรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยคำนึงองค์ประกอบ ได้แก่ การทบทวนความรู้เดิม (Review: R) การลงมือ
ปฏิบัติเข้ากลุ่มเพื่อทำงานร่วมกัน (Practice: P) ความคิดเห็นที่ได้เรียนรู้จากการทำงาน) (How to work :
H) สรุปเนื้อหาความคิดรวบยอด (Summary: S) และการนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ (Adapt: A) องค์ประกอบ
ง
ของรูปแบบการสอน ได้แก่ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) ขั้นกระบวนการจัดการเรียนรู้ 4) การจัดกิจกรรม
การเรียนรู้ 5) การวัดและประเมินผล โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดเชิงรุก (ECOPE) มี 5
ขั้นตอน ดังนี้(1) ขั้นกระตุ้นความสนใจ (Engage : E) (2) ขั้นคิดวิเคราะห์ (Critical Thinking : C) (3) ขั้น
ปฏิบัติงาน (Operate : O) (4) ขั้นสื่อสารและนำเสนอ (Presenting :P) (5) ขั้นประเมินผล (Evaluation :
E)
2. การหาประสิทธิภาพของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทยตามแนวคิดเชิงรุก เพื่อส่งเสริม
การคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.02/82.41 ซึ่งสูง
กว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้
3. นักเรียนที่เรียนโดยรูปแบบการสอนภาษาไทยตามแนวคิดเชิงรุก เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมี
วิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทยหลังเรียนสูงกว่าก่อน
เรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05
4. ความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนที่เรียนตามแนวคิดเชิงรุก เพื่อส่งเสริม
การคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญ
ที่ระดับ .05
5. นักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการสอนภาษาไทยตามแนวคิดเชิงรุก เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมี
วิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด