LASTEST NEWS

08 พ.ย. 2567โรงเรียนแคมป์สนวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาภาษาจีน เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่ 8 - 14 พฤศจิกายน 2567 08 พ.ย. 2567“สพฐ. ประชุม ผอ.เขตพื้นที่ พร้อมเปิดตัว “OBEC Zero Dropout” เพื่อเด็กทุกคนเข้าถึงการศึกษาอย่างถ้วนหน้า” 08 พ.ย. 2567รวมข่าว..เปิดสอบพนักงานราชการครู 91 อัตรา สังกัด สพฐ. วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 18,000.-บาท 07 พ.ย. 2567กรุงเทพมหานคร เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ 375 อัตรา - วุฒิ ปวช. - ปริญญาตรี เงินเดือน 10,340-18,350 บาท สมัครทางอินเทอร์เน็ต ตั้งแต่ 8 - 14 พ.ย.2567 07 พ.ย. 2567สพฐ.แจ้งจัดสรรงบประมาณ ปีพ.ศ.2568 เป็นค่าจ้างบุคลากรสนับสนุนการปฏิบัติงานให้ราชการ ตำแหน่งนักการภารโรง กรณีทดแทนลูกจ้างประจำเกษียณอายุและว่างโดยเหตุอื่นในระหว่างปี 07 พ.ย. 2567สพป.ปทุมธานี เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 57 อัตรา - รายงานตัว 15 พ.ย.2567 07 พ.ย. 2567ประกาศ สำนักงาน ก.พ. เรื่อง รายชื่อผู้สอบผ่านเพื่อวัดความรู้ความสามารถทั่วไป ประจำปี 2567 07 พ.ย. 2567สพม.อุดรธานี เรียกบรรจุครูผู้ช่วย (บัญชี ปี 2566, 2567) จำนวน 33 อัตรา - รายงานตัว 12 พ.ย.2567 07 พ.ย. 2567สพป.ขอนแก่น เขต 5 รับสมัครพนักงานราชการ ตำแหน่งครูผู้สอน 35 อัตรา เงินเดือน 18,000.-บาท ตั้งแต่ 8-14 พฤศจิกายน 2567 06 พ.ย. 2567โรงเรียนอุบลปัญญานุกูล รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 2 อัตรา เงินเดือน 18,000.- บาท ตั้งแต่วันที่ 12 - 18 พฤศจิกายน 2567 ไม่เว้นวันหยุดราชการ

นายการุณ ฤกขะวุฒิกุล: การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

usericon

นายการุณ ฤกขะวุฒิกุล: การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ เรื่องโลกและการเปลี่ยนแปลง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
KARUN REAKKHAWUTTIGUL: THE DEVELOPMENT OF INSTRUCTIONAL MODEL OF ENCOURAGE CREATIVE THINKING SKILLS IN TOPIC OF EARTH AND CHANGING FOR
SECONDARY 2


การวิจัยครั้งนี้มุ่งพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ เรื่อง โลกและการเปลี่ยนแปลง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาลวัดเนินสุทธาวาส(สุทธิพงษ์ประชานุxxxล) ผู้วิจัยได้ดำเนินการตามลักษณะของกระบวนการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) รูปแบบการวิจัยเชิงทดลอง (Pre-Experiment) กลุ่มผู้ให้ข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มผู้ให้ข้อมูลที่ใช้ในการสัมภาษณ์ข้อมูลเกี่ยวกับองค์ประกอบของรูปแบบการจัดการเรียนการสอนเป็นครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์จำนวน 7 คน และกลุ่มในการเก็บข้อมูลจริงก่อนและหลังการทดลอง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนเทศบาลวัดเนินสุทธาวาส(สุทธิพงษ์ประชานุxxxล) จำนวน 18 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ เรื่องโลกและการเปลี่ยนแปลง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ เรื่อง โลกและการเปลี่ยนแปลง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 3) สร้างและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ เรื่องโลกและการเปลี่ยนแปลง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 และ 4) ศึกษาผลการทดลองใช้การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ เรื่องโลกและการเปลี่ยนแปลงสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ดังนี้ 4.1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน
และหลังเรียนจากการเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ 4.2) เพื่อศึกษาความสามารถในความคิดสร้างสรรค์ก่อนและหลังการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
4.3) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้เรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์การวิเคราะห์ข้อมูล และสถิติที่ใช้ คือ 1) หาองค์ประกอบของรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ฯ โดยการสังเคราะห์ข้อมูล (Content Analysis) 2) หาค่าประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้โดยหาค่า E1/E2 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้สถิติ t–test 4) ประเมินความสามารถความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียน โดยค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และ 5) หาค่าความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์แบบมาตรฐานส่วนประเมินค่า โดยค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการศึกษาวิจัยพบว่า
1. ผลการวิเคราะห์แนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับวิธีการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และกระบวนการคิดสร้างสรรค์ พบว่า สาระสำคัญที่สามารถนำมาใช้เป็นกรอบแนวคิดในการวิจัย ประกอบด้วย 1) ขั้นค้นพบปัญหา 2) ขั้นเตรียมการและรวบรวมข้อมูล 3) ขั้นออกแบบและลงมือปฏิบัติ 4) ขั้นนำเสนอผลงาน 5) ขั้นสรุปผลการศึกษา และ 6) ขั้นประเมินผล
2. ผลการวิเคราะห์แนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับองค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์ พบว่าสาระสำคัญที่สามารถนำมาใช้เป็นกรอบแนวคิดในการวิจัย ประกอบด้วย 1) ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ 2) ความคิดคล่อง 3) ความยืดหยุ่น และ 4) ความคิดละเอียดลออ
3. ผลการสร้างและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ เรื่องโลกและการเปลี่ยนแปลง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 1.00 ผลการหาประสิทธิภาพแบบรายบุคคล (One-to-One Testing) ได้ค่าประสิทธิภาพ 61.67/62.22 ผลการหาประสิทธิภาพแบบกลุ่มเล็ก (Small group Tryout) ได้ค่าประสิทธิภาพ 71.48/71.85 และผลการหาประสิทธิภาพแบบภาคสนาม (Field Tryout) ได้ค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 81.39/82.33 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80
4. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีค่าเป็น 83.15/83.52 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80
5. นักเรียนมีความสามารถทางความคิดสร้างสรรค์ในภาพรวมหลังเรียนอยู่ในระดับดี (X bar = 2.59, S.D. = 0.49) สูงกว่าก่อนเรียนอยู่ในระดับพอใช้ (X bar = 1.56, S.D. = 0.52) เมื่อพิจารณาความคิดสร้างสรรค์ในด้านต่าง ๆ รายด้านพบว่า นักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์สูงขึ้นทุกด้าน โดยมีรายละเอียด ดังนี้ นักเรียนมีพัฒนาการด้านความคิดริเริ่มก่อนเรียนอยู่ในระดับพอใช้ (X bar = 1.60, S.D. = 0.55) ความคิดริเริ่มหลังเรียนอยู่ในระดับดี (X bar = 2.61, S.D. = 0.49) ด้านความคิดคล่องก่อนเรียนอยู่ในระดับพอใช้ (X bar = 1.61, S.D. = 0.51) ความคิดคล่องหลังเรียนอยู่ในระดับดี (X bar = 2.58, S.D. = 0.49)ด้านความยืดหยุ่นก่อนเรียนอยู่ในระดับพอใช้ (ค่าเฉลี่ย = 1.62, S.D. = 0.51) ความยืดหยุ่นหลังเรียนอยู่ในระดับดี (X bar = 2.57, S.D. = 0.50) และด้านความละเอียดลออก่อนเรียนอยู่ในระดับพอใช้ (X bar = 1.42, S.D. = 0.50) ความละเอียดลออหลังเรียนอยู่ในระดับดี (X bar = 2.59, S.D. = 0.49)
6. ผลการสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ พบว่า นักเรียนมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากทุกด้าน ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ อยู่ในระดับมากทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ลำดับที่ 1 ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน (X bar = 2.67, S.D. = 0.47) ลำดับที่ 2 ด้านการวัดผลประเมินผล (X bar = 2.66, S.D. = 0.48) ลำดับที่ 3 ด้านเนื้อหา (X bar = 2.64, S.D. = 0.48) ลำดับที่ 4 ด้านรูปแบบ (X bar = 2.61, S.D. = 0.49)
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^