การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษา โรงเรียนห้วยต้อนพิทยาคม
ชื่อผู้วิจัย นายพวงค์วิทย์ เดิมชัยภูมิ
ปีการศึกษา 2565
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการในการพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษา โรงเรียนห้วยต้อนพิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ 2) สร้าง และพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษา โรงเรียนห้วยต้อนพิทยาคม สังกัดองค์การบริหาร ส่วนจังหวัดชัยภูมิ 3) ทดลองใช้รูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษา โรงเรียนห้วยต้อนพิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ 4) ประเมินรูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษา โรงเรียนห้วยต้อนพิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ รูปแบบที่ใช้ในการวิจัย เป็นการวิจัย และพัฒนา (Research and Development) กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหาร จำนวน 1 คน และครูผู้สอน จำนวน 37 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย รูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษา โรงเรียนห้วยต้อนพิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ แบบสอบถามความพึงพอใจ ของครูผู้สอนที่มีต่อการใช้รูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษา โรงเรียนห้วยต้อนพิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1) ผลการศึกษาความต้องการพัฒนาของรูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษา โรงเรียน ห้วยต้อนพิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ พบว่า ผลการวิเคราะห์เอกสารได้ระบุกระบวนการทำงานร่วมกันระหว่างผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการปรับปรุง พัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนของครู ให้มีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลต่อคุณภาพทางการศึกษาของนักเรียนเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ และจากการให้ข้อมูลเชิงคุณภาพของผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้บริหาร ครูผู้สอน พบว่า การนิเทศภายในสถานศึกษาควรเป็นการนิเทศแบบร่วมมือ เปิดโอกาสให้ครูได้มีส่วนร่วมในการนำเสนอ ความคิดเห็น กำหนดวัตถุประสงค์ เป้าหมายของการนิเทศ และวางแผนดำเนินการนิเทศ 2) ผลการสร้างและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษา โรงเรียน ห้วยต้อนพิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ มีชื่อว่า “PSAM Model” โดยมีองค์ประกอบดังนี้ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ ประกอบด้วย 5 ด้าน คือ 2.1) การให้ความช่วยเหลือแก่ครูโดยตรง (Direct Assistance) 2.2) การพัฒนาทักษะการทำงานกลุ่ม (Group Development) 2.3) การเสริมสร้างประสบการณ์ทางวิชาชีพ (Professional Development) 2.4) การพัฒนาหลักสูตร (Curriculum Development) และ 2.5) การวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน (Action Research) 3) วิธีดำเนินการ ประกอบด้วย 4 ขั้น คือ 3.1) การวางแผนการนิเทศ (Planning: P) 3.2) การดำเนินการนิเทศ (Supervision: S) 3.3) การประเมินผลการนิเทศ (Assessment : A) และ 3.4) การสร้างขวัญและกำลังใจ (Moral : M) 4) การประเมินผล 3) ผลการใช้รูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษา โรงเรียนห้วยต้อนพิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ พบว่า 3.1) รูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษา โรงเรียนห้วยต้อน พิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ มีความเหมาะสม 3.2) ผู้บริหารและครูผู้สอน มีความพึงพอใจของการใช้รูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษา โรงเรียนห้วยต้อนพิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ ในระดับมาก 4) ผลการประเมินรูปแบบรูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษา โรงเรียนห้วยต้อนพิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น มีคุณภาพ
คำสำคัญ : การพัฒนารูปแบบ, การนิเทศภายในสถานศึกษา