LASTEST NEWS

26 พ.ย. 2567สพฐ. เข้ม สั่งครูล่วงละเมิดนักเรียนออกจากราชการทันที ย้ำดูแลสภาพจิตใจเด็กเป็นสำคัญ 26 พ.ย. 2567สพฐ.เล็งทำบัตรสุขภาพนักเรียนออนไลน์ 26 พ.ย. 2567ทำไมครูส่วนใหญ่ ไม่สนใจสมัครสอบเป็นศึกษานิเทศก์ 26 พ.ย. 2567ก.พ.ยังนิ่งปมทบทวนจ้างเหมาบริการ “ธนุ” ไม่รอแล้วสั่งทำสัญญาจ่ายเงิน ตามระเบียบกรมบัญชีกลาง 25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม 25 พ.ย. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 81 อัตรา - รายงานตัว 28 พ.ย. 2567 25 พ.ย. 2567สพป.สมุทรสาคร เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 14 อัตรา รายงานตัว 3 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเมืองสุรินทร์ รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 25-27 พฤศจิกายน 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนบ้านระไซร์(เด่นพัฒนา) รับสมัครครูอัตราจ้าง วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 7,000.- บาท  24 พ.ย. 2567สพป.เพชรบุรี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 11 อัตรา - รายงานตัว 4 ธันวาคม 2567

เผยแพร่ผลงาน รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมรักการอ่าน

usericon


รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมรักการอ่าน ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 5 สีหรักษ์วิทยา
สำนักการศึกษา เทศบาลนครอุดรธานี

ลักษณะผลงาน : การประเมินโครงการเกี่ยวกับการปฏิบัติงานในหน้าที่

ผู้ประเมิน : นายเอกตระการณ์ ซื่อไกรกุลธวัช รองผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ โรงเรียนเทศบาล 5 สีหรักษ์วิทยา

ปีพุทธศักราช : 2565


บทสรุปสำหรับผู้บริหาร

รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมรักการอ่าน ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 5 สีหรักษ์วิทยา สำนักการศึกษา เทศบาลนครอุดรธานี มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินบริบทของโครงการ เกี่ยวกับความต้องการจำเป็นของโครงการความเหมาะสมของการจัดกิจกรรม และความเป็นไปได้ในการบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ 2) เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการเกี่ยวกับความพร้อมของบุคลากรความพร้อมของงบประมาณ ความพร้อมของวัสดุอุปกรณ์ และความเหมาะสมของสถานที่และแหล่งเรียนรู้ในการดำเนินงานโครงการ 3) เพื่อประเมินกระบวนการดำเนินโครงการ เกี่ยวกับการวางแผน การดำเนินงานการตรวจสอบ กำกับ ติดตาม และการปรับปรุงพัฒนา 4) เพื่อประเมินผลผลิตของโครงการประกอบด้วย 4.1) ประเมินคุณลักษณะนิสัยรักการอ่านของนักเรียน 4.2) ประเมินการนำความรู้และทักษะ ด้านการอ่านไปใช้ในการพัฒนาตนเอง 4.3) ประเมินระดับคุณภาพทางการเรียนของนักเรียน 4.4) ประเมินความพึงพอใจต่อการดำเนินงานโครงการ

ผู้ประเมินยึดรูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ จำนวนทั้งสิ้น 248 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารและครู 61 คน นักเรียน 90 คนใช้วิธี เลือกแบบเจาะจง (เฉพาะนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 7 คน ( ไม่นับรวมตัวแทนครูและผู้บริหาร 2 คน) ผู้ปกครอง 90 คน ซึ่งเป็นผู้ปกครองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วยแบบสอบถามครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการผู้รับผิดชอบ นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 9 ฉบับ ประกอบด้วย แบบสอบถาม ประเด็นบริบทของโครงการ จำนวน 1 ฉบับ แบบสอบถามประเด็นปัจจัยนำเข้าของโครงการ จำนวน 1 ฉบับ แบบสอบถามประเด็นกระบวนการดำเนินงานโครงการ จำนวน 1 ฉบับ แบบสอบถามและแบบเก็บข้อมูลประเด็นผลผลิตของโครงการ จำนวน 6 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติบรรยาย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย(Mean) ค่าร้อยละ(Percentage) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(Standard Deviation) สถิติที่ใช้ในการหาคุณภาพเครื่องมือ ได้แก่ ค่าความเที่ยงตรง(Construct Validity) และค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามโดยหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่า โดยใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรม SPSS for Window


สรุปผลการประเมิน

1. ผลการประเมินประเด็นบริบทของโครงการ โดยการประเมิน 3 ตัวชี้วัด พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินระดับมากที่สุดทุกตัวชี้วัดผ่านการประเมิน และเรียงตามลำดับ ดังนี้

ความเป็นไปได้ในการบรรลุ วัตถุประสงค์ ผ่านการประเมินระดับมากที่สุด ความเหมาะสมของการจัดกิจกรรม ผ่านการประเมินระดับมากที่สุด และความต้องการจำเป็นของโครงการผ่านการประเมินระดับมากที่สุด

2. ผลการประเมินประเด็นปัจจัยนำเข้าของโครงการ โดยการประเมิน 4 ตัวชี้วัด พบว่าผ่านเกณฑ์การประเมินระดับมากทุกตัวชี้วัดผ่านการประเมิน และเรียงตามลำดับ ดังนี้

ความพร้อมของบุคลากร ผ่านการประเมินระดับมากที่สุด ความเหมาะสมของสถานที่และแหล่งเรียนรู้ ผ่านการประเมินระดับมากที่สุด ความพร้อมของวัสดุอุปกรณ์ ผ่านการประเมินระดับมากและ ความพร้อมของงบประมาณ ผ่านการประเมินระดับมาก

3. ผลการประเมินประเด็นกระบวนการดำเนินงานของโครงการ โดยการประเมิน 4 ตัวชี้วัด พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินระดับมากที่สุด ทุกตัวชี้วัดผ่านการประเมิน และเรียงตามลำดับดังนี้ การวางแผน ผ่านการประเมินระดับมากที่สุด การปรับปรุงพัฒนา ผ่านการประเมินระดับมากที่สุด การตรวจสอบ กำกับ ติดตาม ผ่านการประเมินระดับมากที่สุด และการดำเนินงาน ผ่านการประเมินระดับมากที่สุด

4. ผลการประเมินประเด็นผลผลิตของโครงการโดยการประเมิน 4 ตัวชี้วัด พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินระดับมากที่สุด ทุกตัวชี้วัดผ่านการประเมิน และเรียงตามลำดับดังนี้ ผลการประเมินทักษะการอ่าน คิด วิเคราะห์และเขียนผ่านการประเมินระดับมากที่สุด ความพึงพอใจต่อการดำเนินงานโครงการ ผ่านการประเมินระดับมากที่สุด การนำความรู้และทักษะด้านการอ่านไปใช้ในการพัฒนาตนเอง ผ่านการประเมินระดับมาก คุณลักษณะนิสัยรักการอ่าน ของนักเรียนผ่าน การประเมินระดับมาก และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ผ่านการประเมินระดับปานกลาง

5. ผลการประเมินโครงการในภาพรวมของโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของของโรงเรียนเทศบาล 5 สีหรักษ์วิทยา พบว่าผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมากที่สุด ทุกประเด็น การประเมินทั้ง 4 ประเด็น และตัวชี้วัด ของโครงการผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ และเรียงตามลำดับ ด้านบริบทของโครงการ (Contexts) ด้านกระบวนการดำเนินงานของโครงการ(Processes) ด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ (Inputs) และด้านผลผลิตของโครงการ (Products)
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^