การพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ของนักเรี
ชื่อผู้วิจัย ชวิณ บัวบาน
ปีที่ศึกษา 2564
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหา และความต้องการในการพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลตำบลลานข่อย (ห้วยศรีเกษร) 2) พัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลตำบลลานข่อย (ห้วยศรีเกษร) 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลตำบลลานข่อย (ห้วยศรีเกษร) 4) ประเมินผลการใช้รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลตำบลลานข่อย (ห้วยศรีเกษร) ดำเนินการตามขั้นตอนการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูในโรงเรียนเทศบาลตำบลลานข่อย (ห้วยศรีเกษร) สังกัดกองการศึกษา เทศบาลตำบลลานข่อย อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง ปฏิบัติการสอนในปีการศึกษา 2564 ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างโดยไม่ใช้ความน่าจะเป็น (Nonprobability sampling) วิธีการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ตามวัตถุประสงค์การวิจัย และจำนวนครูที่มีจำนวน 8 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ("X" ̅) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการวิเคราะห์สภาพปัจจุบันปัญหา และความต้องการในการพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลตำบลลานข่อย (ห้วยศรีเกษร) ตามที่คาดหวังและตามที่เป็นจริง โดยภาพรวมมีสภาพที่คาดหวังอยู่ในระดับมากที่สุด ("X" ̅ = 4.53) และสภาพตามที่เป็นจริงอยู่ในระดับมากที่สุด ("X" ̅ = 3.69) และความต้องการจำเป็นการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลตำบลลานข่อย (ห้วยศรีเกษร) โดยภาพรวมเฉลี่ย 0.2276
2. รูปแบบรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลตำบลลานข่อย (ห้วยศรีเกษร) ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการของรูปแบบ 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3) ขอบข่ายและภารกิจงาน และ 4) กระบวนการบริหารแบบมีส่วนร่วม CHAWIN MODEL ประกอบด้วย 1) สร้างเสริมความรู้และความสามารถ (Construction: C) 2) ช่วยเหลือในการสร้างความเข้าใจร่วมกัน (Help to build mutual understanding : H) 3) รวบรวมความคิดและจัดทำแผนปฏิบัติงาน (Accumulate ideas and do the action plans: A) 4) ปฏิบัติงานร่วมกัน (Working together: W) 5) การสะท้อนคิด (Ideas Reflection: I) และ 6)การพัฒนาอย่างยั่งยืนของเครือข่าย (Network sustainability: N) ผลการตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลตำบลลานข่อย (ห้วยศรีเกษร) ด้านองค์ประกอบของรูปแบบเกี่ยวกับความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด
3. ผลการใช้รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลตำบลลานข่อย (ห้วยศรีเกษร) พบว่า 1) สภาพการปฏิบัติในการดำเนินการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลตำบลลานข่อย (ห้วยศรีเกษร) ก่อนการใช้รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลตำบลลานข่อย (ห้วยศรีเกษร) โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ("X" ̅ = 3.49) และสภาพการปฏิบัติในการดำเนินการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลตำบลลานข่อย (ห้วยศรีเกษร) หลังการใช้รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลตำบลลานข่อย (ห้วยศรีเกษร) โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ("X" ̅ = 4.51) 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโดยภาพรวมหลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยผ่านการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนโดยใช้รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลตำบลลานข่อย (ห้วยศรีเกษร) สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ และ 3) ความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลตำบลลานข่อย (ห้วยศรีเกษร) โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ("X" ̅ = 4.60)
4. ผลการประเมินการใช้รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลตำบลลานข่อย (ห้วยศรีเกษร) โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ("X" ̅ = 4.60)