การพัฒนารูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ของโรงเรียนเทศบาลตำบลพยัคฆภูมิ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของการพัฒนารูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ของโรงเรียนเทศบาลตำบลพยัคฆภูมิพิสัย 2) พัฒนารูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ของโรงเรียนเทศบาลตำบลพยัคฆภูมิพิสัย 3) ทดลองใช้รูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ของโรงเรียนเทศบาลตำบลพยัคฆภูมิพิสัย และ 4) ประเมินรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ของโรงเรียนเทศบาลตำบลพยัคฆภูมิพิสัย ซึ่งดำเนินการวิจัย 4 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบของการพัฒนารูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ของโรงเรียนเทศบาลตำบลพยัคฆภูมิพิสัย โดยการศึกษา วิเคราะห์ สังเคราะห์ แนวคิด ทฤษฎี เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง สภาพปัจจุบันการบริหารเชิงกลยุทธ์ของโรงเรียน และสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนารูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ของโรงเรียนเทศบาลตำบลพยัคฆภูมิพิสัย โดยการประชาพิจารณ์ (Public Hearing) ตรวจสอบร่างรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ของโรงเรียนเทศบาลตำบลพยัคฆภูมิพิสัย โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 23 คน ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ของโรงเรียนเทศบาลตำบลพยัคฆภูมิพิสัย โดยทดลองใช้ในโรงเรียนเทศบาลตำบลพยัคฆภูมิพิสัย สังกัดเทศบาลตำบลพยัคฆภูมิพิสัย จังวัดมหาสารคาม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โดยกลุ่มผู้ให้ข้อมูล จำนวน 16 คน และ ขั้นตอนที่ 4 การประเมินการบริหารเชิงกลยุทธ์ของโรงเรียนเทศบาลตำบลพยัคฆภูมิพิสัย เป็นการประเมินความเป็นไปได้ ความเหมาะสม และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ของโรงเรียนเทศบาลตำบลพยัคฆภูมิพิสัย โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 47 คน ซึ่งกลุ่มผู้ให้ข้อมูลได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ แบบประเมินความพึงพอใจ และแบบประเมินรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ของโรงเรียนเทศบาลตำบลพยัคฆภูมิพิสัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า
1. ผลการศึกษาองค์ประกอบของการพัฒนารูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ของโรงเรียนเทศบาลตำบลพยัคฆภูมิพิสัย พบว่า องค์ประกอบของการพัฒนารูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ของโรงเรียนเทศบาลตำบลพยัคฆภูมิพิสัย มี 4 องค์ประกอบ คือ การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม การกำหนดกลยุทธ์ การนำกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ และการควบคุมและประเมินกลยุทธ์
2. ผลการพัฒนารูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ของโรงเรียนเทศบาลตำบลพยัคฆภูมิพิสัย โดยการประชาพิจารณ์ (Public Hearing) พบว่า ผู้เข้าร่วมการประชาพิจารณ์ (Public Hearing) ทั้ง 23 คน ได้ตรวจสอบยืนยันรับรองร่างรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ของโรงเรียนเทศบาลตำบลพยัคฆภูมิพิสัย
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ของโรงเรียนเทศบาลตำบลพยัคฆภูมิพิสัย พบว่า มีผลการประเมินความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ของโรงเรียนเทศบาลตำบลพยัคฆภูมิพิสัย อยู่ในระดับ มากที่สุด
4. ผลการประเมินรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ของโรงเรียนเทศบาลตำบลพยัคฆภูมิพิสัย พบว่า รูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ของโรงเรียนเทศบาลตำบลพยัคฆภูมิพิสัย มีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับ มากที่สุด