การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้ OIPO Model
โดยใช้ OIPO Model ของโรงเรียนเทศบาลวัดท้ายตลาด(กวีธรรมสาร)
ผู้วิจัย นายเสกสรรค์ สนผา
ผู้อํานวยการโรงเรียนเทศบาลวัดท้ายตลาด(กวีธรรมสาร)
ปีการศึกษา 2565
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนา คุณภาพนักเรียนโดยใช้ OIPO Model ของโรงเรียนเทศบาลวัดท้ายตลาด(กวีธรรมสาร) และมี วัตถุประสงค์เฉพาะ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบและแนวทางการบริหารจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนา คุณภาพนักเรียนของโรงเรียนเทศบาลวัดท้ายตลาด(กวีธรรมสาร) 2) เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียนโดยใช้ OIPO Model ของโรงเรียนเทศบาลวัดท้ายตลาด(กวีธรรมสาร) 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียนโดยใช้ OIPO Model ของโรงเรียนเทศบาลวัดท้ายตลาด(กวีธรรมสาร) และ 4) เพื่อประเมินรูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียนโดยใช้ OIPO Model ของโรงเรียนเทศบาลวัดท้ายตลาด(กวีธรรมสาร) มีวิธีดำเนินการวิจัย แบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบและแนวทางการบริหารจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียนของโรงเรียนเทศบาลวัดท้ายตลาด(กวีธรรมสาร) ประกอบด้วย 3 ขั้นย่อย ดังนี้ ขั้นที่ 1.1 การศึกษาองค์ประกอบและแนวทางการบริหารจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียนของโรงเรียนเทศบาลวัดท้ายตลาด(กวีธรรมสาร) โดยการสังเคราะห์เอกสาร วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ขั้นที่ 1.2 การศึกษาองค์ประกอบและแนวทางการบริหารจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียนของโรงเรียนเทศบาลวัดท้ายตลาด(กวีธรรมสาร) โดยการศึกษาโรงเรียนที่มีการปฏิบัติที่ดี เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ขั้นที่ 1.3 การศึกษาองค์ประกอบและแนวทางการบริหารจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียนของโรงเรียนเทศบาลวัดท้ายตลาด(กวีธรรมสาร) โดยการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ขั้นตอนที่ 2 การสร้างรูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียนโดยใช้ OIPO Model ของโรงเรียนเทศบาลวัดท้ายตลาด(กวีธรรมสาร) ประกอบด้วย 2 ขั้นย่อย ดังนี้ ขั้นที่ 2.1 การยกร่างรูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียนโดยใช้ OIPO Model ของโรงเรียนเทศบาลวัดท้ายตลาด(กวีธรรมสาร) ขั้นที่ 2.2 การตรวจสอบรูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียนโดยใช้ OIPO Model ของโรงเรียนเทศบาลวัดท้ายตลาด(กวีธรรมสาร) โดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามเพื่อตรวจสอบความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบฯ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียนโดยใช้ OIPO Model ของโรงเรียนเทศบาลวัดท้ายตลาด(กวีธรรมสาร) กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ครูโรงเรียนเทศบาลวัดท้ายตลาด(กวีธรรมสาร) ที่ปสอบถามปฏิบัติการสอนในปีการศึกษา 2565 จำนวน 48 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่แบบความคิดเห็น วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นตอนที่ 4 การประเมินรูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียนโดยใช้ OIPO Model ของโรงเรียนเทศบาลวัดท้ายตลาด(กวีธรรมสาร) ประกอบด้วย 4 ขั้นย่อย ดังนี้ ขั้นที่ 4.1 การเปรียบเทียบร้อยละของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียนโดยใช้ OIPO Model ของโรงเรียนเทศบาลวัดท้ายตลาด(กวีธรรมสาร) แหล่งข้อมูล ได้แก่ฝ่ายบริหารวิชาการของโรงเรียนเทศบาลวัดท้ายตลาด(กวีธรรมสาร) เพื่อรวบรวมคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน จากฝ่ายบริหารวิชาการในปีการศึกษา 2564 และปีการศึกษา 2565 ของโรงเรียนเทศบาลวัดท้ายตลาด(กวีธรรมสาร) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวม ข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกร้อยละของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ขั้นที่ 4.2 การเปรียบเทียบร้อยละของผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนก่อนและหลังทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียนโดยใช้ OIPO Model ของโรงเรียนเทศบาลวัดท้ายตลาด(กวีธรรมสาร) และแบบบันทึกร้อยละของการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน แหล่งข้อมูล ได้แก่ ฝ่ายบริหารวิชาการของโรงเรียนเทศบาลวัดท้ายตลาด(กวีธรรมสาร) เพื่อรวบรวมคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนจากฝ่ายบริหารวิชาการ ในปีการศึกษา 2564 และ ปีการศึกษา 2565 ของโรงเรียนเทศบาลวัดท้ายตลาด(กวีธรรมสาร) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกร้อยละของการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ขั้นที่ 4.3 การประเมินความพึงพอใจของครูที่มีต่อการปฏิบัติตามรูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียนโดยใช้ OIPO Model ของโรงเรียนเทศบาลวัดท้ายตลาด(กวีธรรมสาร) แหล่งข้อมูล ได้แก่ ครูโรงเรียนเทศบาลวัดท้ายตลาด(กวีธรรมสาร) ที่ปฏิบัติการสอนในปีการศึกษา 2565 จำนวน 48 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาองค์ประกอบและแนวทางการบริหารจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียนของโรงเรียนเทศบาลวัดท้ายตลาด(กวีธรรมสาร) พบว่า ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 2) ปัจจัยการบริหาร 3) กระบวนการบริหาร และ 4) ผลลัพธ์และแนวทางการบริหารจัดการเรียนรู้ของแต่ละองค์ประกอบ
2. ผลการสร้างรูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียนโดยใช้ OIPO Model ของโรงเรียนเทศบาลวัดท้ายตลาด(กวีธรรมสาร) ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลัก ตามรูปแบบ OIPO Model (โอไอพีโอ โมเดล) ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 วัตถุประสงค์ของรูปแบบ (Objective : O) องค์ประกอบที่ 2 ปัจจัยการบริหาร (Input : I) ประกอบด้วย 1) คณะกรรมการ บริหาร 2) คุณลักษณะผู้บริหารและครู องค์ประกอบที่ 3 กระบวนการบริหาร (Process : P) ตามขั้นตอน PODCA Model (พีโอดีซีเอ โมเดล) มี 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การวางแผนงาน (Planning : P) ขั้นตอนที่ 2 การจัดองค์กร (Organizing : O) ขั้นตอนที่ 3 การดําเนินงานตามแผนงาน (Doing : D) ขั้นตอนที่ 4 การประเมินผลงาน (Checking : C) ขั้นตอนที่ 5 การปรับปรุงพัฒนา (Acting : A) และองค์ประกอบที่ 4 ผลลัพธ์ (Outcome : O) ประกอบด้วย 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน 2) คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน 3) ความพึงพอใจของครูสำหรับผลการตรวจสอบรูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียนโดยใช้ OIPO Model ของโรงเรียนเทศบาลวัดท้ายตลาด(กวีธรรมสาร) ผู้ทรงคุณวุฒิมีความเห็นว่ารูปแบบฯ มีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมาก และผ่านเกณฑ์ที่กำหนด
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียนโดยใช้ OIPO Model ของโรงเรียนเทศบาลวัดท้ายตลาด(กวีธรรมสาร) พบว่า ครูมีความเห็นว่าสามารถปฏิบัติตามรูปแบบฯได้ อยู่ในระดับมากที่สุด และผ่านเกณฑ์ที่กำหนด
4. ผลการประเมินรูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียนโดยใช้ OIPO Model ของโรงเรียนเทศบาลวัดท้ายตลาด(กวีธรรมสาร) พบว่า 1) ผลการเปรียบเทียบร้อยละของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลวัดท้ายตลาด(กวีธรรมสาร) ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ในปีการศึกษา 2565 สูงกว่า ในปีการศึกษา 2564 โดยกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่มีร้อยละของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้นสูงที่สุด คือกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รองลงมาได้แก่ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ และกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา มีร้อยละของคะแนนผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนเพิ่มขึ้นต่ำที่สุด 2) ผลการเปรียบเทียบร้อยละของผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลวัดท้ายตลาด(กวีธรรมสาร) ก่อนและหลังทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียนโดยใช้ OIPO Model ของโรงเรียนเทศบาลวัดท้ายตลาด(กวีธรรมสาร) พบว่าคุณลักษณะอันพึงประสงค์ทุกข้อ ในปีการศึกษา 2565 สูงกว่าในปีการศึกษา 2564 โดยที่คุณลักษณะอันพึงประสงค์ข้อที่ 4 ใฝ่เรียนรู้ มีผลการประเมินเพิ่มขึ้นสูงที่สุด รองลงมาได้แก่ ข้อที่ 8 มีจิตสาธารณะ ข้อที่ 5 อยู่อย่าง พอเพียง ข้อที่ 7 รักความเป็นไทย ข้อที่ 6 มุ่งมั่นในการทำงาน ข้อที่ 1 รักชาติศาสน์กษัตริย์ ข้อที่ 3 มีวินัย และข้อที่มีผลการประเมินเพิ่มขึ้นต่ำที่สุด ได้แก่ข้อที่ 2 ซื่อสัตย์สุจริต 3) ผลการประเมินความพึงพอใจของครูที่มีต่อการปฏิบัติตามรูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียน โดยใช้ OIPO Model ของโรงเรียนเทศบาลวัดท้ายตลาด(กวีธรรมสาร) อยู่ในระดับมากที่สุด และผ่านเกณฑ์ที่กำหนด
คําสำคัญ การบริหารจัดการเรียนรู้ / การพัฒนาคุณภาพนักเรียน/
โรงเรียนเทศบาลวัดท้ายตลาด(กวีธรรมสาร)