การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกับการเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้
รายวิชา วิทยาศาสตร์ เรื่อง ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ผู้วิจัย ประวีณา มีวงษ์
ปีที่วิจัย 2565
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกับการเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น รายวิชา วิทยาศาสตร์ เรื่อง ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกับการเรียนแบบแบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น รายวิชา วิทยาศาสตร์ เรื่อง ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกับการเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น รายวิชา วิทยาศาสตร์ เรื่อง ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการเรียนด้วย ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกับการเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น รายวิชา วิทยาศาสตร์ เรื่อง ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ประชากร ได้แก่ นักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 จำนวน 30 คน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2 จำนวน 65 คน รวม 2 ห้อง จำนวน 65 คน โรงเรียนร่มโพธิ์วิทยา อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 จำนวน 30 คนใน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนร่มโพธิ์วิทยา อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling)โดยมีห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกับการเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น (7E) วิชา วิทยาศาสตร์ เรื่อง ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 7 ชุด 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชา วิทยาศาสตร์ เรื่อง ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 40 ข้อ ซึ่งมีค่าความยาก (P) ระหว่าง 0.20 – 0.83 ค่าอำนาจจำแนก (r) ตั้งแต่ 0.20 - 0.71 และค่าความเชื่อมั่น (rcc ) เท่ากับ 0.9566 3) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วย ชุดการเรียนรู้เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ ค่าความเชื่อมั่น ( ) เท่ากับ 0.936 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ค่าเฉลี่ยค่าร้อยละส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที (t – test dependent samples)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกับการเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น (7E) รายวิชา วิทยาศาสตร์ เรื่อง ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 85.25/82.08 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
2. ค่าดัชนีประสิทธิผลของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกับการเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น (7E) รายวิชา วิทยาศาสตร์ เรื่อง ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่พัฒนาขึ้น มีค่าเท่ากับ 0.7087 แสดงว่านักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียน คิดเป็นร้อยละ 70.87
3. นักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกับการเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น (7E) รายวิชา วิทยาศาสตร์ เรื่อง ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกับการเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น (7E) มีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก และความพึงพอใจรายข้ออยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด