การแก้ปัญหาอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้โดยใช้SAMED MODEL
การแก้ปัญหาอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้และพัฒนาคุณภาพการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ โดยใช้รูปแบบ SAMED MODEL ของโรงเรียนบ้านเสม็ด(ประชารัฐนุเคราะห์) ในครั้งนี้ เป็นการประเมินผลการแก้ปัญหาอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้และพัฒนาคุณภาพการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ให้สามารถรักษามาตรฐานคุณภาพ และปรับปรุงต่อยอดเพื่อยกระดับคุณภาพการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนบ้านเสม็ด(ประชารัฐนุเคราะห์) ให้เกิดคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ปัญหาอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้และพัฒนาคุณภาพการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ โดยใช้รูปแบบ SAMED MODEL กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการดำเนินการในครั้งนี้ ประกอบด้วยนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
ปีการศึกษา ๒๕๖๓ มีจำนวน ๑๒ คน ปีการศึกษา ๒๕๖๔ จำนวน ๔ คน ปีการศึกษา ๒๕๖๕ จำนวน ๒๒ คน รวมทั้งสิ้น จำนวน ๓๘ คน เครื่องมือที่ใช้ในการแก้ปัญหาอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้และพัฒนาคุณภาพ
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ โดยใช้รูปแบบ SAMED MODEL จำนวน 5 ขั้นตอน ประกอบด้วย ขั้นที่ ๑ S - Stimulate (เปิดฉากด้วยเรื่องสนุก)
ขั้นที่ ๒ A - Arrangement and spelling (ฝึกแจกลูกสะกดคำ) ขั้นที่ ๓ M - More read (อ่านย้ำซ้ำ
จำแน่นอน) ขั้นที่ ๔ E - Exercise write (เขียนลอกคำที่ครูสอน) ขั้นที่ ๕ D - Dictation (ครูบอกก่อน
จึงเขียนตาม) ตามกรอบการดำเนินการวงจรคุณภาพของเดมมิ่ง (PDCA) โดยผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญ ประกอบด้วยผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้าวิชาการและผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้หาประสิทธิภาพของกระบวนการดำเนินงาน ประเมินความตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) และความตรงเชิงโครงสร้าง (Construct Validity) ซึ่งผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นว่ารูปแบบการแก้ปัญหาอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้และพัฒนาคุณภาพการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ โดยใช้รูปแบบ SAMED MODEL มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด สามารถนำมาใช้ในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนได้ เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบทดสอบและแบบประเมิน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าความก้าวหน้า
ผลการดำเนินการ พบว่า
ผลการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียน (Reading Test : RT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๓ - ๒๕๖๕ พบว่าในปีการศึกษา ๒๕๖๓ ผลการประเมินระดับโรงเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๘๐.๑๘ ส่วนผลการประเมินระดับประเทศมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๗๓.๐๒ เมื่อเปรียบเทียบกันแล้วพบว่าผลการประเมินระดับโรงเรียนมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับประเทศอยู่ ๗.๑๖ ในปีการศึกษา ๒๕๖๔ ผลการประเมินระดับโรงเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๘๕.๕๐ ส่วนผลการประเมินระดับประเทศมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๗๑.๓๘ เมื่อเปรียบเทียบกันแล้วพบว่าผลการประเมินระดับโรงเรียนมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับประเทศอยู่ ๑๔.๑๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๕ ผลการประเมินระดับโรงเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๙๑.๔๐ ส่วนผลการประเมินระดับประเทศมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๗๗.๒๘ เมื่อเปรียบเทียบกันแล้วพบว่าผลการประเมินระดับโรงเรียนมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับประเทศอยู่ ๑๔.๑๒ นอกจากนี้ ในปีการศึกษา ๒๕๖๕ เด็กหญิงธิดารัตน์ ประยงค์หอม นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ มีผลการประเมินความสามารถ
ด้านการอ่านของผู้เรียน (RT) ได้คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน