การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning เรื่อง มนุษย์กับค
ชื่อผู้วิจัย : มัลลิกา น้อยอินต๊ะ
วิชา : ชีววิทยา 5
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โรงเรียนท่าวังผาพิทยาคม จังหวัดน่าน
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน (Classroom Action Research) นี้มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนประจำหน่วยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning เรื่อง มนุษย์กับความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในรายวิชาชีววิทยา ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem–based Learning : PBL) บูรณาการบนพื้นฐานวัฒนธรรมวิถีน่าน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนท่าวังผาพิทยาคม ประชากรที่ศึกษา คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/2 โรงเรียนท่าวังผาพิทยาคม จังหวัดน่าน จำนวน 45 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง มนุษย์กับความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem–based Learning) บูรณาการบนพื้นฐานวัฒนธรรมวิถีน่าน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนท่าวังผาพิทยาคม จำนวน 8 คาบเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่อง มนุษย์กับความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 50 คะแนน และแบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย (Mean) และการวัดพัฒนาการจากร้อยละของการเปลี่ยนแปลง
ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/2 จำนวน 45 คน มีคะแนนก่อนเรียนเฉลี่ยเท่ากับ 29.9 คะแนน และมีคะแนนสอบหลังเรียนเท่ากับ 36.1 คะแนน ซึ่งคะแนนสอบหลังเรียนมีการเพิ่มขึ้นจากคะแนนสอบก่อนเรียน 6.2 คะแนน โดยคิดเป็นร้อยละ 20.9 จำนวนและร้อยละของนักเรียนตามระดับคุณภาพหลังการจัดการเรียนการสอน ในระดับพอใช้ร้อยละ 23.53 ในระดับดีร้อยละ 29.41 และในระดับดีมากร้อยละ 20.59 คะแนนสอบหลังเรียนเทียบเป็นร้อยละหลังการจัดการเรียนการสอน นักเรียนได้คะแนนต่ำกว่า65 จำนวน 4 คน (คิดเป็นร้อยละ 8.89) นักเรียนได้คะแนนมากกว่า 65 จำนวน 41 คน (คิดเป็นร้อยละ 91.11) และด้านของระดับพัฒนาการพบว่านักเรียนมีพัฒนาการเพิ่มขึ้นจำนวน 45 คน คิดเป็นร้อยละ 100 และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยมีคะแนนความพึงพอใจเฉลี่ยเท่ากับ 4.12 ซึ่งอยู่ในระดับความพึงพอใจมาก (คะแนนเฉลี่ย 3.51 - 4.50)