การสังเคราะห์แผนปฏิบัติการโรงเรียนในการบริหารวิชาการ เพื่อยก
แผนปฏิบัติการของโรงเรียน เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของโรงเรียนบ้านโป่งไผ่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 1 2) เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารวิชาการ ตามแผนการปฏิบัติการของโรงเรียนตามโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มตัวอย่าง ผู้บริหารและคณะครูโรงเรียน จำนวน 17 คน และนักเรียนโรงเรียนบ้านโป่งไผ่ จำนวน 100 คน กลุ่มตัวอย่างครั้งนี้ ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือ ที่ใช้ในการวิจัยผลการจัดกิจกรรมการพัฒนาเพื่อยกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นเครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบประมาณค่า 5 ระดับตามแบบของลิเคิร์ท (Likert) การดำเนินการโดยวิธีประชุมกลุ่มย่อย (Syndicate) ผู้วิจัยได้ดำเนินการหลังจากประเมินผลโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในช่วงปลายภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564
ผลการวิจัยพบว่า
1. ด้านดำเนินการบริหารงานวิชาการตามแผนปฏิบัติการของโรงเรียนบ้านโป่งไผ่ใน
การนำโครงการมาพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( ) ซึ่ง ครูผู้สอนตามโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามกิจกรรมของโครงการมีความรู้ในระดับมาก ( ) และมีทักษะเพื่อนำไปใช้ในการกิจกรรมตามโครงการในระดับมาก ( ) ส่วนด้านความพึงพอใจของครูผู้สอนต่อกระบวนการพัฒนาบริหารวิชาการตามแผนปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ( ) นักเรียนกลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อแนวทางการดำเนินงานและกระบวนการจัดกิจกรรมตามโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ในระดับมาก ( )
2. แนวทางการบริหารวิชาการ ตามแผนการปฏิบัติการของโรงเรียนตามโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับมาก( ) ซึ่งมีแนวทาง การวิเคราะห์หลักสูตรสถานศึกษาอยู่ในระดับมาก ( ) และการมีส่วนร่วมของผู้บริหารและครูในการร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการดำเนินงานตามแผนการปฏิบัติการของโรงเรียนในระดับมาก ( ) ส่วนด้านความพึงพอใจของครูผู้สอนต่อกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามโครงการอยู่ในระดับมาก ( ) นักเรียนกลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อกระบวนการเรียนการสอนและการวัดผลประเมินผลตามโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ในระดับมาก ( )
ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าการบริหารงานวิชาการตามแผนปฏิบัติการของโรงเรียน ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีคุณภาพ และประสิทธิภาพ จากการทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างผลการวิจัยเป็นไปตามสมมติฐานทั้งสิ้น
ข้อเสนอแนะ
1. ควรเน้นการจัดทำกิจกรรมตามขั้นตอนและการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานของผู้บริหารและคณะครูให้เป็นไปตามแผนปฏิบัติการดำเนินงานเพื่อให้การจัดทำโครงการบรรลุเป้าประสงค์โครงการเพื่อให้เกิดการประสิทธิภาพสูงสุด
2. เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพของการจัดทำแผนการปฏิบัติการในโรงเรียน จึงควรที่จะศึกษาผลที่เกิดจากการจัดกิจกรรมและกระบวนการในพัฒนา เพื่อวิเคราะห์ดูว่าผลการดำเนินการมีความแตกต่างกันหรือไม่เพียงใด ซึ่งหากผลการดำเนินการตามรูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้ตามโครงการได้ผลไปในทิศทางเดียวกันก็มั่นใจได้ว่ารูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้ตามกิจกรรมโครงการนั้นมีความเชื่อมั่นได้สูงจริง