การขับเคลื่อนกระบวนการ PLC โดยใช้ Moral Model
1. ความพอเพียง
2. ความกตัญญู
3. ความซื่อสัตย์สุจริต
4. ความรับผิดชอบ
5. อุดมการณ์คุณธรรม
ในช่วงของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา – 2019 โรงเรียนบ้านโป่งไผ่ได้มีการจัดการเรียนการสอนทั้งแบบออนไลน์และแบบออนไซต์ ทำให้การจัดการเรียนการสอนไม่ต่อเนื่อง รวมถึงการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมให้กับผู้เรียน ถึงแม้จะการมีดำเนินการอย่างเต็มที่ แต่ด้วยพื้นฐานครอบครัวของนักเรียนส่วนใหญ่ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม และผู้ปกครองมีสิ่งอำนวยความสะดวกให้นักเรียน เช่น โทรศัพท์มือถือ แทปเล็ต ทำให้นักเรียนใช้เวลาส่วนมาก ในการเล่นเกม เล่นไลน์ เล่นเฟสบุ๊ค และมีการใช้จ่ายเงินอย่างฟุ่มเฟือย จนละเลยการทำการบ้านและทบทวนความรู้ อีกทั้งผู้ปกครองส่วนมากทำงานในโรงงานในเขตอุตสาหกรรม 304 ต้องเข้าทำงานตั้งแต่เช้าตรู่และกลับถึงบ้านอีกทีในเวลาดึก ครอบครัวจึงไม่มีเวลาได้อยู่ร่วมกัน ทำให้นักเรียนบางส่วนขาดการดูแลเอาใจใส่จากครอบครัว ผู้ปกครองไม่มีเวลาในการอบรมดูแลนักเรียน และไม่ได้เอาใจใส่เรื่องความประพฤติที่ดีของนักเรียนเท่าที่ควร เพราะบางครอบครัวนักเรียนบางคนต้องอยู่ในห้องพักคนเดียว บางส่วนอาศัยอยู่กับ ปู่ ย่า ตา ยาย หรือผู้ปกครองอื่นที่ไม่ใช่บิดามารดา จึงทำให้นักเรียนมีพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ ในเรื่องของความมีวินัย ความรับผิดชอบ และความพอเพียง ซึ่งผู้ปกครองมุ่งหวังจะให้โรงเรียนช่วยดูแล ปรับปรุงพฤติกรรม และแก้ไขปัญหาเหล่านี้ รวมถึงปลูกฝังพฤติกรรมที่ดีงามให้แก่นักเรียน เพื่อให้นักเรียนเติบโตขึ้นไปเป็นคนดีของสังคมต่อไป
วัตถุประสงค์
๑. เพื่อพัฒนาให้ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม ตามคุณธรรมอัตลักษณ์ของสถานศึกษา
๒. เพื่อให้ครูได้พัฒนาตามมาตรฐานวิชาชีพ
๓. เพื่อให้เกิดการร่วมมือรวมพลังของทุกฝ่ายในการพัฒนาการเรียนการสอนสู่คุณภาพของผู้เรียน
๓. วิธีดำเนินงาน
3.1 แนวทางการปฏิบัติกิจกรรมการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ดังนี้
3.1.1 แบ่งกลุ่มย่อยตามความเหมาะสม
3.1.2 ให้แต่ละกลุ่มคิดแนวทางแก้ไขปัญหา 1 เรื่องจากประเด็นต่อไปนี้
- ปัญหาด้านพฤติกรรมของนักเรียน ที่เกี่ยวข้องกับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่พบ และควรเร่งแก้ไขปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้ดีขึ้น
3.1.3 จัดทำโครงการ/กิจกรรม การสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC)
3.2 กระบวนการของ PLC
ขั้นตอนที่ 1 Community สร้างทีมครู
ขั้นตอนที่ 2 Practice วิเคราะห์พฤติกรรมนักเรียนที่ต้องปรับและแก้ไข ร่วมกันออกแบบกิจกรรม เพื่อแก้ปัญหา หรือพัฒนา และนำสู่การปฏิบัติ โดยมีการสังเกตพฤติกรรมนักเรียนเป็นระยะๆ
ขั้นตอนที่ 3 Reflection สะท้อนคิดเพื่อการพัฒนาการปฏิบัติ
ขั้นตอนที่ 4 Evaluation ประเมินเพื่อพัฒนา
ขั้นตอนที่ 5 Network Development สร้างเครือข่ายการพัฒนา
3.3 บทบาทหน้าที่ของสมาชิกกลุ่มตามกระบวนการ PLC ประกอบด้วย
3.3.1 Model Teacher หมายถึง ครูผู้รับการนิเทศ หรือครูผู้สอน
3.3.2 Buddy Teacher หมายถึง ครูคู่นิเทศ หรือครูร่วมเรียนรู้
3.3.3 Mentor หมายถึง หัวหน้าระดับ / หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้
3.3.4 Expert หมายถึง ผู้เชี่ยวชาญ เช่น ครู คศ.3 รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ นักวิชาการ อาจารย์มหาวิทยาลัย ศึกษานิเทศก์
3.3.5 Administrator หมายถึง ผู้บริหารโรงเรียน
ขั้นตอนการนำรูปแบบ PLC ไปใช้ในสถานศึกษา
จาก Flow Chart ขั้นตอนการนำรูปแบบ PLC ไปใช้ในสถานศึกษามีรายละเอียด แต่ละขั้นตอน ดังนี้
1. การรวมกลุ่ม PLC
รวมกลุ่มครูที่มีปัญหา/ความต้องการ เดียวกัน เช่น ครูกลุ่มสาระเดียวกัน ครูที่สอนในระดับชั้นเดียวกัน เป็นต้น
2. ค้นหาปัญหา ความต้องการ
1) ร่วมกันเสนอปัญหา/ความต้องการ
2) จัดกลุ่มปัญหา
3) จัดลำดับความจำเป็นเร่งด่วน
4) เลือกปัญหาเพียง 1 ปัญหา โดยการพิจารณาร่วมกัน
3. ร่วมกันหาแนวทางในการแก้ปัญหา
1) เรื่องเล่าเร้าพลัง/บอกเล่าประสบการณ์ที่แก้ปัญหาได้สำเร็จ
2) ค้นหาตัวอย่าง/รูปแบบที่ประสบความสำเร็จ
3) ร่วมกันตัดสินใจเลือกรูปแบบ/วิธีการ/นวัตกรรมในการแก้ปัญหา
4. ออกแบบกิจกรรมการแก้ปัญหา
ออกแบบกิจกรรมตามวิธีการ/นวัตกรรมที่กลุ่มเลือก
5. แลกเปลี่ยนเสนอแนะ
นำเสนอกิจกรรมการแก้ปัญหา ให้ผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ที่มีประสบการณ์ให้ข้อเสนอแนะ
6. นำสู่การปฏิบัติ /สังเกตการสอน
1) นำกิจกรรมไปใช้ในการแก้ปัญหา
2) ผู้สังเกตการณ์เข้าร่วมสังเกตในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เช่น การเยี่ยมชั้นเรียน
สังเกตการสอน เป็นต้น
7. สะท้อนผล
1) สรุปผลการนำรูปแบบ/วิธีการ ในการนำไปแก้ปัญหา
2) อภิปรายผลการแก้ปัญหา เสนอแนะแนวทางในการพัฒนา
- ผลการจัดกิจกรรมการสร้างชุมชนห้องเรียนรู้ PLC ในระดับชั้น ป.๔ – ๖ เรื่อง ความรี
ระเบียบวินัย
จากการดำเนินกิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนด้านระเบียบวินัย เพื่อแก้ไขปัญหาการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านความมีระเบียบวินัยที่ดีของนักเรียน สรุปผลการดำเนินงาน ดังนี้
- ประเด็นด้านผู้เรียน
- พฤติกรรมของนักเรียนที่มีปัญหาเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้นตามข้อตกลงที่ตั้งไว้ นักเรียนมีพฤติกรรมที่ดีขึ้น และมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมร่วมกัน ซึ่งดูผลได้จากหลักฐานแบบสังเกตพฤติกรรมของนักเรียน ที่แสดงถึงพฤติกรรมที่ดีของนักเรียน ได้รับการปลูกฝังและอบรมผ่านกิจกรรมโฮมรูมอย่างต่อเนื่อง
- ส่งเสริมให้นักเรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ดีในการอยู่ร่วมกันในสังคม ในด้านระเบียบวินัย การเคารพกฎกติการ่วมกันทำให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
- นักเรียนมีกำลังใจจากการเสริมแรง และภูมิใจในตนเอง อยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุขและมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน และนักเรียนกับนักเรียนด้วยกันเองเพิ่มมากขึ้น
- นักเรียนมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์หลายประการ เช่น ได้พูดคุย ถกเถียง อย่างมีเหตุผล และยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นมากขึ้น
- ประเด็นด้านกิจกรรม
- ลักษณะ ความเหมาะสม ประสิทธิภาพของกิจกรรม ขั้นตอนของกระบวนการ วิธีการนำกิจกรรมการโฮมรูม มาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพ
- ครูจัดกิจกรรมโฮมรูม อบรมเรื่องระเบียบวินัยในทุก ๆวัน ผ่านสื่อเทคโนโลยี ICT ตลอดจนเอกสารประกอบ การบันทึก แบบสังเกตพฤติกรรมนักเรียน ทำให้ผู้เรียนได้รับรู้และปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้องเหมาะสมในทุก ๆวัน
- กิจกรรมมีความเหมาะสม สอดคล้องกับการแก้ไขพัฒนาพฤติกรรมด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนในเรื่อง ระเบียบวินัย
- การบริหารจัดการในชั้นเรียน การจัดชั้นเรียน วิธีการคุมชั้นเรียน หรือการจัดกลุ่มเพื่อทำกิจกรรม
- ครูและผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์/การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทำให้การฝึกปฏิบัติดำเนินไปโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
- กิจกรรมการโฮมรูมนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและพัฒนาความมีระเบียบ วินัย ของผู้เรียน โดยผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเองจนเกิดเป็นนิสัยที่ดี และเกิดพฤติกรรมที่เหมาะสม
- ประเด็นด้านครู
- ครูใช้การสังเกตพฤติกรรมของนักเรียนเพื่อดูสภาพปัญหาที่จะร่วมกันนำมาแก้ไขในชั้นเรียน
- ครูมีการเรียงลำดับขั้นตอนในการแก้ไขปัญหาจากเรื่องที่มีปัญหามากไปน้อย
- ครูจะทำหน้าที่คอยให้ความช่วยเหลือ คำปรึกษา และคอยสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนให้สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ด้วยตนเอง สร้างแรงเสริมในทางที่ดีและเหมาะสมให้นักเรียนเกิดความภูมิใจในการแสดงออกทางพฤติกรรมด้านบวก