นวัตกรรม IM (อิ่ม) Model ส่งเสริมสุขภาวะดี
นวัตกรรม IM Model (อิ่ม โมเดล) ส่งเสริมสุขภาวะดี เป็นนวัตกรรมที่มุ่งแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการและพฤติกรรมการบริโภคของนักเรียนโรงเรียนบ้านุท่งไพล และส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมด้านการสร้างสุขภาวะที่ดี ประกอบด้วยกิจกรรม 5 อิ่ม ได้แก่ 1) อิ่มอาหารดีฝีมือแม่ 2) อิ่มใจ หุ่นสวย ไร้พุง 3) อิ่มนมส่วนสูงตามเกณฑ์ 4) อิ่มความรู้คุณค่าโภชนาการ และ 5) อิ่มเอมรวมใจเป็นหนึ่ง ส่งผลให้นักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งไพลมีปัญหาภาวะทุพโภชนาการลดลง มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินที่ถูกต้องและมีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพที่ดีขึ้นเช่น ออกกำลังกายยามว่าง ดื่มนม นอนพักผ่อนอย่างเพียงพอ เป็นต้น
วิธีการพัฒนา
1. วางแผนดำเนินงาน (P)
2. ดำเนินงาน (D)
2.1 ดำเนินการคัดกรอง โดยวิธีการ ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง นักเรียนออกเป็นกลุ่ม
2.2 จัดทำข้อมูลสารสนเทศด้านภาวะทุพโภชนาการของนักเรียน
2.3 จัดประชุมผู้ปกครองนักเรียน สร้างความเข้าใจที่ดีในเรื่องภาวะโภชนาการ พร้อมทั้งสร้างการมีส่วนร่วม โดยการให้ผู้ปกครอง เป็นผู้ประกอบอาหารกลางวันให้นักเรียนตามความสมัครใจ
2.5 จัดกิจกรรมแก้ไขปัญหาและส่งเสริมภาวะโภชนาการของนักเรียน 5 กิจกรรม ดังนี้
1. อิ่มอาหารดีฝีมือแม่
กิจกรรมอิ่มอาหารดีฝีมือแม่ เป็นกิจกรรมที่จัดทำขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาภาวทุพโภชนาการของนักเรียน โดยการให้ผู้ปกครองนักเรียนเข้ามามีส่วนร่วมในการประกอบอาหารกลางวัน เนื่องจากอาหารที่ดีที่สุด คือ อาหารที่มาจากผู้ปกครอง วิธีการดำเนินงาน ดังนี้
- สำรวจความต้องการ การรับประทานอาหารกลางวันของนักเรียน
- ครู และผู้ปกครองนำผลการสำรวจมาวิเคราะห์ เพื่อออกแบบเมนูอาหารที่มีประโยชน์ ถูกต้องตามหลักโภชนาการ ภายใต้สังคมพหุวัฒนธรรม
- จัดเมนูอาหารกลางวันโดยใช้โปรแกรม Thai school lunch
- ผู้ปกครองนักเรียนทำอาหารให้นักเรียนทาน โดยยึดหลัก สะอาด อร่อย ถูกใจ ถูกสุขลักษณะ ครบ 5 หมู่ โดยเน้นอาหารที่ไม่ใช้น้ำมัน หรือวัตถุดิบที่มีไขมันสูง เน้นให้เด็กรับประทานอาหารอาหารประเภทผัก และผลไม้ที่ไม่มีรสหวานหรือหวานน้อย หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด ไม่ใส่ผงปรุงรส ทั้งในเด็กในกลุ่มเป้าหมายและเด็กที่มีภาวะโภชนาการปกติ
- ครู และผู้ปกครองสำรวจความพึงพอใจของนักเรียน
- ปรับปรุง พัฒนา เมนูอาหารกลางวันให้นักเรียนสามารถรับประทานได้อย่างมีความสุข 2. อิ่มใจ หุ่นสวย ไร้พุง
กิจกรรมอิ่มใจ หุ่นสวย ไร้พุง เป็นกิจกรรมที่จัดทำขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาภาวทุพโภชนาการของนักเรียนที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ ต่ำกว่าเกณฑ์ และส่งเสริมให้นักเรียนที่มีน้ำหนักตามเกณฑ์ปกติ มีสุขภาพที่แข็งแรง
2.1 กิจกรรมแอโรบิค
จัดกิจกรรมกายบริหารอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง ตอนเช้า เวลา 08.00 – 08.30 น. เป็นเวลา 30 นาที โดยการคัดเลือกนักเรียนแกนนำร่วมกับครู ออกมาเป็นผู้นำกายบริหาร เพื่อให้นักเรียนคลายความเครียด และได้ออกกำลังกาย
2.2 กิจกรรมเล่นกีฬายามว่าง
จัดกิจกรรมกีฬาอย่างหลากหลาย ตามความสนใจของนักเรียน โดยทางโรงเรียนจะสนับสนุนอุปกรณ์กีฬาต่าง ๆ ให้นักเรียนได้เล่นในเวลาว่าง และมีครูคอยให้คำแนะนำ ร่วมเล่นกีฬากับนักเรียน
2.3 กิจกรรมโยคะ
จัดกิจกรรมโยคะ สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ตอนเช้า เวลา 08.00 – 08.30 น. เป็นเวลา 30 นาที
โดยการคัดเลือกนักเรียนแกนนำร่วมกับครู ออกมาเป็นผู้นำโยคะ เพื่อฝึกสมาธิ การหายใจ การไหลเวียนโลหิตและสร้างความสมดุลของร่างกาย
2.4 กิจกรรมเสียงตามสายสร้างสุข
จัดกิจกรรมเสียงตามสายสร้างสุขเป็นประจำทุกวัน เวลาประมาณ 12.00 น โดยให้นักเรียนหมุนเวียนกันมาให้ความรู้เกี่ยวกับภาวะโภชนาที่ถูกต้อง โรคภัยต่าง ๆ และการดูแลตนเอง อีกทั้งยังประชาสัมพันธ์การดำเนินงานด้านการส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียน
2.5 กิจกรรม ลดได้ให้รางวัล”
จัดกิจกรรมประกวดลดพุง “ลดได้ให้รางวัล” โดยการใช้ร้อยละของน้ำหนักที่ลดลงแข่งขันกับตนเองเปรียบเทียบ การลดลงในแต่ละเดือนและจะนำมาสรุปเมื่อสิ้นภาคเรียน และมอบรางวัลเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจให้นักเรียน อีกทั้งยังเป็นการกระตุ้นให้นักเรียนหันมาดูแลสุขภาพตนเอง
3. อิ่มนม ส่วนสูงตามเกณฑ์
3.1 กิจกรรมดื่มนมประจำวัน
ให้นักเรียนดื่มนมทุกวัน โดยคุณครูประจำชั้นแต่ละชั้นเรียนเป็นผู้ควบคุม ดูแล การดื่มนมของนักเรียน และคัดกรองนักเรียนที่มีส่วนสูงไม่ถึงเกณฑ์ ส่งต่อครูผู้รับผิดชอบกิจกรรม
3.2 กิจกรรมคัดกรอง
ครูผู้รับผิดชอบโครงการ รวบรวมข้อมูลนักเรียนที่มีปัญหาด้าน ส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์ ดำเนินการโดยการเชิญผู้ปกครองมารับทราบปัญหา และแนวทางการแก้ไข พร้อมทั้งทำ ข้อตกลงการดูแลนักเรียน ดังนี้
3.2.1 ให้ผู้ครองให้นักเรียนดื่มนมอย่างน้อยวันละ 2 แก้วเมื่ออยู่ที่บ้าน
3.2.2 ให้ผู้ปกครองส่งเสริมให้นักเรียนออกกำลังกาย เช่น การกระโดดเชือก
3.2.3 ให้ผู้ปกครองกำชับนักเรียนให้นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ โดยเวลานอนไม่ควรเกิน 22.00 น.
3.2.4 ให้ผู้ปกครองให้นักเรียนรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
4. อิ่มความรู้ คุณค่าโภชนาการ
จัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามโครงการขยายผลเกษตรเพื่ออาหารกลาง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นฐานการเรียนรู้ เพื่อให้นักเรียน ได้เรียนรู้คุณค่าของอาหาร หลักโภชนาการ การแปรรูปอาหาร และเห็นความสำคัญของการเลือกรับประทานอาหาร อีกทั้งการดำเนินงานดังกล่าวทำให้นักเรียนได้รับประทานอาหารที่ปลอดภัย ปลอดสารเคมี และเป็นการส่งเสริมให้นักเรียนได้ศึกษา เรียนรู้ สืบทอด ภูมิปัญญาของชุมชน ดำเนินการจัดกิจกรรม ดังนี้
4.1 กิจกรรมปลูกผักสวนครัวตามฤดูกาล
นักเรียนแต่ละระดับชั้น ต้องปลูกผักสวนครัว อย่างน้อยระดับชั้นละ 1 ชนิด โดยวิธีการเรียนรู้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอพียง 3 ห่วง 2 เงื่อนไข 4 มิติ ตามขั้นตอน คือ
1. ขั้นต้นน้ำ
นักเรียนเรียนรู้วิธีการเตรียมดิน ข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับการปลูกผักสวนครัว การดูแลรักษา
2. ขั้นกลางน้ำ
นักเรียนเรียนรู้วิธีการปลูกผักโดยการลงมือปฏิบัติ
3. ขั้นปลายน้ำ
- นักเรียนนำผลผลิตที่ได้จำหน่ายสหกรณ์เพื่อใช้ประกอบอาหารกลางวัน และจำหน่ายออกสู่ชุมชน
- ถอดบทเรียน
4.2 กิจกรรมเลี้ยงปลา
นักเรียนระดับชั้น ป.6 เป็นผู้รับผิดชอบ โดยการแบ่งเวรประจำวัน โดยปลาประกอบด้วย ปลาดุก ปลานิล ปลาทับทิม ปลากด เรียนรู้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอพียง 3 ห่วง 2 เงื่อนไข 4 มิติ ตามขั้นตอน คือ
1. ขั้นต้นน้ำ
นักเรียนเรียนรู้วิธีการเตรียมบ่อ ข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับการเลี้ยงปลา การดูแล อัตราส่วนการให้อาหาร การบำบัดน้ำเสีย
2. ขั้นกลางน้ำ
นักเรียนเรียนรู้วิธีการเลี้ยงปลาโดยการลงมือปฏิบัติ
3. ขั้นปลายน้ำ
- นักเรียนนำผลผลิตที่ได้จำหน่ายสหกรณ์เพื่อใช้ประกอบอาหารกลางวัน และจำหน่ายออกสู่ชุมชน
- ถอดบทเรียน
4.3 กิจกรรมเพาะเห็ด
นักเรียนระดับชั้น ป.5 เป็นผู้รับผิดชอบ โดยการแบ่งเวรประจำวัน โดยเห็ดประกอบด้วย เห็ดนางฟ้า และเห็ดแครง เรียนรู้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอพียง 3 ห่วง 2 เงื่อนไข 4 มิติ ตามขั้นตอน คือ
1. ขั้นต้นน้ำ
นักเรียนเรียนรู้วิธีการเพาะเชื้อเห็ด การเตรียมโรคเรือน ความชื้น ข้อมูลต่างๆ ที่จำเป็นต่อการเพาะและดูแลรักษาเห็ด
2. ขั้นกลางน้ำ
นักเรียนเรียนรู้วิธีการเพาะเห็ดโดยการลงมือปฏิบัติ
3. ขั้นปลายน้ำ
- นักเรียนนำผลผลิตที่ได้จำหน่ายสหกรณ์เพื่อใช้ประกอบอาหารกลางวัน และจำหน่ายออกสู่ชุมชน
- ถอดบทเรียน
4.4กิจกรรมเลี้ยงไก่ไข่
นักเรียนระดับชั้น ป.4 เป็นผู้รับผิดชอบ โดยการแบ่งเวรประจำวัน เรียนรู้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอพียง 3 ห่วง 2 เงื่อนไข 4 มิติ ตามขั้นตอน คือ
1. ขั้นต้นน้ำ
นักเรียนเรียนรู้วิธีการให้อาหารไก่ไข่ การดูแลรักษาความสะอาดของโรงเรือน การเก็บผลผลิต และข้อมูลต่างๆ ที่จำเป็นต่อการเลี้ยงไก่ไข่
2. ขั้นกลางน้ำ
นักเรียนเรียนรู้วิธีการเลี้ยงไข่ไก่โดยการลงมือปฏิบัติ
3. ขั้นปลายน้ำ
- นักเรียนนำผลผลิตที่ได้จำหน่ายสหกรณ์เพื่อใช้ประกอบอาหารกลางวัน และจำหน่ายออกสู่ชุมชน
- ถอดบทเรียน
4.5 กิจกรรมแปรรูปอาหาร
นักเรียนทุกคนเรียนรู้การสร้างมูลค่าเพิ่มของผลผลิต หลักการถนอมอาหาร และภูมิปัญญาของชุมชน เรียนรู้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอพียง 3 ห่วง 2 เงื่อนไข 4 มิติ ตามขั้นตอน คือ
1. ขั้นต้นน้ำ
- นักเรียนเรียนรู้วิธีการแปรรูปอาหารต่างๆ เช่น การทำปลาดุกแดดเดียว การทำน้ำพริกเห็ดแครง การทำเห็ดแครงอบแห้ง การทำบัวลอยไข่หวาน เป็นต้น
- นักเรียนเรียนรูปการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิต โดยการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่น่าสนใจ
2. ขั้นกลางน้ำ
นักเรียนเรียนรู้การลงมือปฏิบัติ
3. ขั้นปลายน้ำ
- นักเรียนผลิตภัณฑ์ที่ได้จำหน่ายสหกรณ์เพื่อใช้ประกอบอาหารกลางวัน และจำหน่ายออกสู่ชุมชน
- ถอดบทเรียน
4.6 กิจกรรมโภชนาการดี
นักเรียนทุกคนเรียนรู้หลักโภชนาการ พฤติกรรมการบริโภค และเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยร่วมกับโรงพยาบาลสะบ้าย้อยให้การให้ความรู้แก่นักเรียน
4.7 กิจกรรมสุขภาวะดี
4.7.1 กิจกรรมทุ่งไพลไร้เหา ร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลถ้ำตลอด
- สำรวจนักเรียน
- คัดกรอง
- ดำเนินการกำจัดเหา เดือนละ 2 ครั้ง
- ติดตาม และสรุปผล
4.7.2 กิจกรรมอบรม อย. น้อย ร่วมกับสาธารณสุขอำเภอสะบ้าย้อย
- อบรมนักเรียน
- แต่งตั้งนักเรียนแกนนำ
- นักเรียนแกนนำดำเนินการ
- ติดตาม และสรุปผล
4.7.3 กิจกรรมอบรมทันตกรรม ร่วมกับโรงพยาบาลสะบ้าย้อย
- อบรมนักเรียน
- เสียงตามสายขั้นตอนการแปรงฟัน
- นักเรียนทุกคนแปรงฟันหลังรับประทานอาหารการวัน
- ติดตาม และสรุปผล
4.7.4 กิจกรรมอบรม การตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร ร่วมกับโรงพยาบาลสะบ้าย้อย
- อบรมนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
- ขยายผลองค์ความรู้ให้นักเรียนตระหนักถึงความสำคัญ
5 อิ่มเอม รวมใจเป็นหนึ่งเดียว
5.1กิจกรรมอบรมให้ความรู้ผู้ปกครอง
จัดอบรมให้ความรู้สร้างความเข้าใจ "จัดอบรมให้ความรู้สร้างความเข้าใจให้กับ ผู้ปกครองและนักเรียนที่มีน น้ำหนักเกินเกณฑ์โดยการเชิญวิทยากรที่มีความรู้ด้านโภชนาการและสุขภาพอนามัย โดยประสานเจ้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เพื่อจัดประชุมให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเด็กอ้วนแก่ นักเรียนและผู้ปกครองของนักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการ (อ้วน) โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
1) การรับประทาน อาหารที่มีประโยชน์ ถูกสุขลักษณะ
2) ภัยโรคอ้วน
3) ประโยชน์ของการออกกำลังกาย
4) ทำความเข้าใจ ข้อตกลง ในการร่วมมือกันระหว่างโรงเรียนกับผู้ปกครองในการควบคุมการรับประทานอาหารของนักเรียน ในเวลาที่อยู่กับผู้ปกครอง
5. 2กิจกรรมดูสุขภาพ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลถ้ำตลอด และโรงพยาบาลสะบ้าย้อย
- ตรวจฟัน
- ฉีดวัคซีน
- หยอดโปลิโอ
- ตรวจหู
- ตรวจตา
5.3 กิจกรรม Big Cleaning
ดำเนินการเดือนละ 1 ครั้ง โดยนักเรียน ผู้ปกครอง องค์กรบริหารส่วนตำบลเขาแดง และชุมชน เข้ามาร่วมกันทำความสะอาดโรงเรียน
3. ขั้นการตรวจสอบ (C)
ร่วมกันตรวจสอบการดำเนินงานตามกิจกรรมทั้ง 5 ดำเนินงานโดยการสะท้อนข้อมูลที่เป็นผลมาจากการปฏิบัติกิจกรรม ประเมินความพึงพอใจผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และสรุปโครงการเสนอผู้บริหารเพื่อการพัฒนาต่อไป
3. ขั้นการตรวจสอบ (A)
นำผลการประเมินแก้ไขปรับปรุง และพัฒนาการดำเนินงาน เผยแพร่ให้โรงเรียน ชุมชน และหน่วยงานอื่นที่สนใจเข้ามาศึกษาเพื่อขยายผลต่อไป