ผลงานการพัฒนาการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ด้วยวิธี STAR & แผนภ
โดย...นางสาวอัจฉราพรรณ ศรีจรัสกุล
โรงเรียนบ้านสุไหงโก-ลก
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 2
- จุดประสงค์
1. เพื่อพัฒนาการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกและการลบ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
2. เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหา โดยนักเรียนร้อยละ 70 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70
3. เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อการแก้โจทย์ปัญหาวิชาคณิตศาสตร์
- เป้าหมายการดำเนินงาน
1. เป้าหมายเชิงปริมาณ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 127 คน ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนบ้านสุไหงโก-ลก
2. เป้าหมายคุณภาพ
1) นักเรียนมีความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์สูงขึ้น โดยมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70
2) นักเรียนมีเจตคติที่ดีมากขึ้นต่อการแก้โจทย์ปัญหาวิชาคณิตศาสตร์
- ผลการดำเนินงาน
1. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 127 คน ได้รับการพัฒนาการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกและการลบ ด้วยกลวิธี STAR ร่วมกับการวาดแผนภาพจำลอง โดยนักเรียนทุกคนได้รับการเรียนรู้วิธีการแก้โจทย์ปัญหาตามขั้นตอน STAR ทั้ง 4 ขั้นตอน ซึ่งช่วยให้การแก้โจทย์ปัญหามีระบบและมีขั้นตอนและได้รับการเรียนรู้วิธีวิเคราะห์โจทย์ปัญหาจากข้อความสู่ประโยคสัญลักษณ์ด้วยการวาดแผนภาพจำลอง ไม่ว่าจะเป็นการวาดแผนภาพบาร์โมเดล หรือแผนภาพส่วนย่อย - ส่วนรวม ผ่านการใช้สื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยี การเรียนรู้ที่ครูสร้างขึ้น
2. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกและการลบ โดยใช้กลวิธี STAR ร่วมกับการวาดแผนภาพจำลอง นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 127 คน มีนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 จำนวน 110 คน คิดเป็นร้อยละ 86.61 ซึ่งสูงกว่าร้อยละ 70 ตามที่ได้กำหนดจุดประสงค์ไว้
3. นักเรียนที่ได้รับการเรียนรู้การแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ด้วยกลวิธี STAR ร่วมกับการวาดแผนภาพจำลอง มีเจตคติต่อการแก้โจทย์ปัญหาที่ดีขึ้น เนื่องจากการแก้โจทย์ปัญหาด้วยวิธี STAR นักเรียนจดจำขั้นตอนการแก้โจทย์ปัญหาจากตัวอักษรทั้ง 4 ตัว ทำให้นักเรียนแก้ปัญหาตามขั้นตอนได้จนเสร็จ ส่งผลให้การแก้โจทย์ปัญหามีระบบและมีขั้นตอน และการวาดแผนภาพจำลอง ช่วยให้นักเรียนได้ฝึกการวิเคราะห์โจทย์ปัญหาจากข้อความสู่รูปภาพ ซึ่งมีส่วนช่วยให้นักเรียนมองภาพการแก้ปัญหาออกได้ง่าย นำไปสู่การเขียนประโยคสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ที่ถูกต้อง
- ความสำเร็จของผลงาน
ได้รับรองผลการพิจารณาผ่านการประเมินวิทยฐานะชำนาญการ ผ่านระบบประเมินวิทยฐานะดิจิทัล (Digital Performance Appraisal : DPA)
- ตัวอย่างผลงาน
1. แผนการจัดการเรียนรู้
2. ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
3. ผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน
4. ผลงานนักเรียน
https://drive.google.com/drive/folders/1mMBACnA80n08lDXn4PFeP0a3sp3pOYiw?usp=sharing