การประเมินโครงการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4
ผู้รายงาน : นายจรุง โปช่วย
ปีการศึกษา : 2565
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
การประเมินโครงการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาโรงเรียนท่าศาลา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4 ปีการศึกษา 2565 ในครั้งนี้ วัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อประเมินด้านบริบทของโครงการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา เกี่ยวกับความต้องการจำเป็นของโครงการ ความพร้อมและเหมาะสมของสถานศึกษา ความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของวัตถุประสงค์ การได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและความสอดคล้องของนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัด 2) เพื่อประเมินด้านปัจจัยนำเข้าเกี่ยวกับบุคลากร งบประมาณ สถานที่ สื่อและวัสดุอุปกรณ์และระบบบริหารที่เอื้อต่อการดำเนินงานโครงการ 3) เพื่อประเมินด้านกระบวนการ เกี่ยวกับการวางแผน การดำเนินการ การนิเทศกำกับติดตาม การประเมินผล การตรวจสอบปรับปรุงและแก้ไข 4) เพื่อประเมินด้านผลผลิต เกี่ยวกับคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน และความพึงพอใจต่อการดำเนินงานพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในของโครงการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนท่าศาลา อำเภอท่าศาลา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4 ในปีการศึกษา 2565 โดยมีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ใน การประเมินโครงการได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (PurposiveเRandom Sampling) จำนวน 350 คน ได้แก่ ครูผู้สอน จำนวน 9 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 168 คน ผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 168 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 5 คน (ไม่รวมตัวแทนครูและผู้อำนวยการสถานศึกษา) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 3 ฉบับ ดังนี้ ฉบับที่ 1 แบบสอบถาม ด้านบริบทและด้านปัจจัยนำเข้าเประเมินก่อนการดำเนินงานโครงการ มีข้อคำถามจำนวน 48 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.93 ประเมินโดยครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ฉบับที่ 2 แบบสอบถามด้านกระบวนการ ประเมินระหว่างดำเนินงานโครงการ จำนวน 5 ตัวชี้วัด ข้อคำถาม จำนวน 41 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.90 ประเมินโดยครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ฉบับที่ 3 แบบสอบถามประเมินผลผลิต ประเมินหลังเสร็จสิ้นการดำเนินงานโครงการ มีจำนวน 5 ตัวชี้วัด มีข้อคำถาม จำนวน 29 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.92 ประเมินโดยครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียนและผู้ปกครอง การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการตรวจสอบเอกสารหลักฐาน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยค่าสถิติ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation)
ผลการประเมิน
การประเมินโครงการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาโรงเรียนท่าศาลา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4 ปีการศึกษา 2565 มีผลการประเมินสามารถสรุปได้ดังนี้
1. ผลการประเมินโครงการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาโรงเรียนท่าศาลา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4 โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄=4.73, S.D.= 0.46) ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดเมื่อพิจารณา ถึงรายละเอียดของแต่ละตัวชี้วัดโดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย พบว่า ผลการประเมินผลผลิต ( x̄= 4.75,S.D.= 0.48) มีผลการประเมินมากที่สุด รองลงมาคือ ผลการประเมินด้านบริบท ( x̄=4.74,S.D.= 0.42) ผลการประเมินปัจจัยนำเข้า ( x̄= 4.72,S.D.=0.44) และผลการประเมินกระบวนการดำเนินงาน ( x̄= 4.77,S.D. = 0.40) ตามลำดับ
2. ผลการประเมินด้านบริบทของโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 5 ตัวชี้วัด โดยรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄= 4.74, S.D. = 0.42) ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินทุกข้อ โดยพิจารณารายตัวชี้วัด ดังนี้
2.1 ความต้องการจำเป็นของโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกข้อและมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄= 4.77, S.D.= 0.41)
2.2 ความพร้อมและความเหมาะสมของสถานศึกษา พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกข้อและมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄= 4.66, S.D.= 0.47)
2.3 ความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของวัตถุประสงค์ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกข้อและมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄= 4.74, S.D.= 0.42)
2.4 การได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกข้อและมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄= 4.83, S.D.= 0.37)
2.5 ความสอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัด พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกข้อและมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄= 4.70, S.D.= 0.44)
3. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 5 ตัวชี้วัด โดยรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄= 4.72, S.D. = 0.44) ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินทุกข้อ โดยพิจารณารายตัวชี้วัด ดังนี้
3.1 ด้านบุคลากรของสถานศึกษา พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ทุกข้อและมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄= 4.76, S.D.= 0.42)
3.2 ด้านงบประมาณ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ทุกข้อและมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄= 4.64, S.D.= 0.48)
3.3 ด้านสถานที่ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ทุกข้อและมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄= 4.71, S.D.= 0.45)
3.4 ด้านเครื่องมือ และวัสดุอุปกรณ์ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกข้อและมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄= 4.79, S.D.= 0.40)
3.5 ด้านระบบบริหารที่เอื้อต่อการดำเนินงานโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกข้อและมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄= 4.67, S.D.= 0.45)
4. ผลการประเมินด้านกระบวนการของโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 5 ตัวชี้วัด โดยรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄= 4.71, S.D. = 0.52) ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินทุกข้อ โดยพิจารณารายตัวชี้วัด ดังนี้
4.1 ด้านการวางแผน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ทุกข้อและมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄= 4.66, S.D.= 0.60)
4.2 ด้านการดำเนินงาน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ทุกข้อและมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄= 4.69, S.D.= 0.51)
4.3 ด้านการนิเทศกำกับติดตามผล พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ทุกข้อและมีค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄= 4.75, S.D.= 0.44)
4.4 ด้านการประเมินผลการดำเนินงาน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกข้อและมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄= 4.71, S.D.= 0.50)
4.5 ด้านการตรวจสอบ ปรับปรุง แก้ไข พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกข้อและมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄= 4.71, S.D.= 0.53)
5. ผลการประเมินกระบวนการของโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 5 ตัวชี้วัด โดยรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄= 4.73, S.D.=0.53) ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินทุกข้อ โดยพิจารณารายตัวชี้วัด ดังนี้
5.1 คุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกข้อและมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄= 4.76, S.D. = 0.43)
5.2 ความพึงพอใจต่อการดำเนินงานพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายใน พบว่าผ่านเกณฑ์การประเมินทุกข้อและมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄= 4.73, S.D.=0.53)
ผลการประเมินโครงการในภาพรวมพบว่า การประเมินโครงการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาโรงเรียนท่าศาลา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4 อยู่ในระดับมากที่สุดและผ่านเกณฑ์การประเมินทุกตัวชี้วัด ดังนั้นจึงควรที่จะให้มีการดำเนินงานตามโครงการต่อไปเทั้งนี้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจะต้องตระหนักและเห็นความสำคัญ ให้ความร่วมมือ สนับสนุนอย่างจริงจัง มีการกำกับติดตามผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การดำเนินงานโครงการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ
ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้
1. ควรดำเนินการจัดกิจกรรมต่อไปอย่างต่อเนื่อง โดยนำผลการประเมินโครงการมาพัฒนาและปรับปรุงโครงการให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลยิ่งขึ้น
2. การดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ควรเปิดโอกาสให้บุคลากรทุกฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมเพื่อให้เกิดมุมมองที่หลากหลาย ซึ่งจะเป็นการพัฒนาคุณภาพการศึกษาตรงตามความต้องการของชุมชน
ข้อเสนอแนะทั่วไปเพื่อการประเมินครั้งต่อไป
1. ควรมีการจัดประเมินระบบประกันคุณภาพภายในโดยให้บุคคลจากภายนอกพื้นที่บริการ ขององค์กรมีส่วนร่วมในการประเมิน
2. ควรมีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับรูปแบบที่เหมาะสมต่อการดำเนินโครงการประกันคุณภาพภายในตามขนาดของโรงเรียน
3. พัฒนาระบบประกันให้เป็นระบบมากขึ้นครูและบุคลากรทุกคนในโรงเรียนมีความรู้ความเข้าใจใน ระบบงานประกันมากขึ้น
4. โรงเรียนควรมีการวิเคราะห์องค์กรเพื่อจัดโครงสร้างองค์กรนําไปสู่การพัฒนาระบบ ประกันคุณภาพการศึกษาได้ดีขึ้น
5. ควรมีการประเมินคุณภาพภายในที่มุ่งผลเพื่อรองรับการประเมินคุณภาพภายนอก