รายงานการประเมินโครงการศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 70
ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินโครงการศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 70 ประจำปีการศึกษา 2565
ของโรงเรียนบ้านบุ่งคล้า
ผู้ประเมิน นางสัญญาลักษณ์ xxxบแก้ว รองผู้อำนวยกำรโรงเรียนบ้ำนบุ่งคล้ำ
ปีที่รายงาน ปีการศึกษา 2565
รายงานการประเมินโครงการศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 70 ประจำปีการศึกษา 2565
ของโรงเรียนบ้านบุ่งคล้า จัดทำขึ้นเพื่อประเมินด้านสภาวะแวดล้อม ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้าน
กระบวนการ ด้านผลผลิต และความพึงพอใจของนักเรียนและผู้ปกครองนักเรียน โดยประยุกต์ใช้
รูปแบบซิป(CIPP Model) ของสตัพเฟิลบีม(Stufflebeam) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา
ครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียนและผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่
4 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางสุ่มตัวอย่างของเคร์จซี่และมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน จ านวน 5 ฉบับ ได้แก่ ฉบับที่ 1 แบบประเมินด้านสภาวะแวดล้อมของโครงการ ฉบับที่ 2 แบบประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้นของโครงการ ฉบับที่ 3 แบบประเมิน
ด้านกระบวนการของโครงการ ฉบับที่ 4 แบบประเมินด้านผลผลิตของโครงการ และฉบับที่ 5
แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนและผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อการประเมินโครงการ สถิติที่ใช้
ในการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS
ผลการประเมิน พบว่า
1. การประเมินบริบทของโครงการศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 70 ประจำปีการศึกษา
2565 ของโรงเรียนบ้านบุ่งคล้า โดยภาพรวมมีความสอดคล้องอยู่ในระดับมากที่สุด (X̅=4.51,S.D.=0.66)
2. การประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 70 ประจำปีการศึกษา
2565 ของโรงเรียนบ้านบุ่งคล้าโดยภาพรวมมีความสอดคล้องอยู่ในระดับมาก(X̅=4.27, S.D.=0.72)
3. การประเมินกระบวนการของโครงการศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 70 ประจำปี
การศึกษา 2565 ของโรงเรียนบ้านบุ่งคล้า โดยภาพรวมมีความสอดคล้องอยู่ในระดับมากที่สุด (X̅ =
4.62, S.D. = 0.60)
4. การประเมินผลผลิตของโครงการศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 70 ประจำปีการศึกษา
2565 ของโรงเรียนบ้านบุ่งคล้า โดยภาพรวมมีความสอดคล้องอยู่ในระดับมากที่สุด(X̅=4.53, S.D.=0.64)
5. การประเมินความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนและนักเรียนที่มีต่อโครงการ
ศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 70 ประจ าปีการศึกษา 2565 ของโรงเรียนบ้านบุ่งคล้า มีความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (X̅ = 4.53, S.D. = 0.59