การประเมินโครงการพัฒนาศักยภาพครูด้านการจัดการเรียนรู้
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการพัฒนาศักยภาพครูด้านการจัดการเรียนรู้ที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน มีวัตถุประสงค์ 4 ประการ 1) เพื่อประเมินสภาวะแวดล้อมโครงการพัฒนาศักยภาพครูด้านการจัดการเรียนรู้ที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน 2) เพื่อประเมินปัจจัยเบื้องต้นโครงการพัฒนาศักยภาพครูด้านการจัดการเรียนรู้ที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน 3) เพื่อประเมินกระบวนการ โครงการพัฒนาศักยภาพครูด้านการจัดการเรียนรู้ที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน และ 4) เพื่อประเมินผลผลิตโครงการพัฒนาศักยภาพครูด้านการจัดการเรียนรู้ที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน กลุ่มเป้าหมายในครั้งนี้ คือ ครู จำนวน 19 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน รวมทั้งสิ้น 32 คน ในการตอบแบบประเมินด้านสภาวะแวดล้อม ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิตของโครงการ และนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - มัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวนรวมทั้งสิ้น 174 คน โดยการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ในการตอบแบบประเมินด้านผลผลิตของโครงการ และกลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ ครู จำนวน 19 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน รวมทั้งสิ้น 32 คน ในการให้ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ตามแบบสัมภาษณ์ มีโครงสร้างด้านสภาวะแวดล้อมของโครงการ ระยะเวลาในการประเมินโครงการปีการศึกษา 2564 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลมีจำนวน 2 ชุด คือ 1) แบบประเมินมีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วน ประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ แบ่งเป็น 4 ฉบับ ฉบับที่ 1 แบบประเมินด้านสภาวะแวดล้อม โครงการ จำนวน 6 ข้อ ฉบับที่ 2 แบบประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้นโครงการ จำนวน 10 ข้อ ฉบับที่ 3 แบบ ประเมินด้านกระบวนการโครงการ จำนวน 11 ข้อ ฉบับที่ 4 แบบประเมินด้านผลผลิตโครงการ จำนวน 30 2) แบบสัมภาษณ์ เป็นแบบสัมภาษณ์ด้านสภาวะแวดล้อม 1 ฉบับ จำนวน 4 ข้อ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
จากผลการประเมิน สรุปข้อมูลออกเป็น 4 ด้าน ดังต่อไปนี้
1. ด้านสภาวะแวดล้อมพบว่า โครงการตรงกับความต้องการของครู นักเรียน และผู้ที่เกี่ยวข้องและโครงการส่งผลให้เกิดศักยภาพครูและคุณภาพนักเรียนนั้น อยู่ในระดับมากที่สุด หลักการ วัตถุประสงค์ และเป้าหมายของโครงการมีความชัดเจนและสอดคล้องกัน การกำหนดเป้าหมายมีความเหมาะสมและปฏิบัติจริงได้ รวมไปถึงการกำหนดวิธีดำเนินการ และระยะเวลามีความเหมาะสมและปฏิบัติจริงได้ อยู่ในระดับมาก แต่ประเด็นที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดในด้านนี้ คือ การประสานงานระหว่างบุคลากรในโรงเรียน นักเรียน และผู้ปกครองทำให้เกิดความร่วมมือการดำเนินโครงการ
2.ด้านปัจจัยเบื้องต้นพบว่า ครูและนักเรียนสนใจและกระตือรือร้นในการเรียนรู้และการพัฒนา อยู่ในระดับมากที่สุด แหล่งเรียนรู้ อาคารสถานที่ และสิ่งแวดล้อมเอื้อต่อการเรียนรู้ มีการเตรียม ความพร้อมในการพัฒนาอย่างเป็นระบบ วัสดุ อุปกรณ์และสื่อการเรียนรู้มีความหลากหลาย เหมาะสมและเพียงพอ อีกทั้งมีจำนวนบุคลากรดำเนินโครงการอย่างเหมาะสมและเพียงพอ จัดอาหารกลางวันบริการนักเรียนตามหลักโภชนาการ รวมไปถึงมีการจัดสรรงบประมาณดำเนินโครงการอย่างเหมาะสม คุ้มค่า และเพียงพอ ผู้ปกครองร่วมมือและสนับสนุนนักเรียนให้ได้รับการเรียนรู้และการพัฒนาอยู่ในระดับมาก แต่ประเด็นที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดในด้านนี้ คือ มีเครือข่ายวิชาชีพที่สนับสนุนในการพัฒนา
3. ด้านกระบวนการพบว่า การดำเนินกิจกรรมที่กำหนดในโครงการตามขั้นตอนทุกกิจกรรมการปฏิบัติงานตามโครงการ ด้านการอบรมพัฒนาศักยภาพครูด้านการจัดการเรียนรู้ ด้านการอบรมพัฒนาศักยภาพครูด้านกระบวนการ PLC ด้านการจัดการเรียนรู้ที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ด้านการอบรมพัฒนาศักยภาพครูด้านการสร้างนวัตกรรมและสื่อการเรียนรู้ ด้านการอบรมพัฒนาศักยภาพครูด้านการทำวิจัยในชั้นเรียน ด้านการนิเทศติดตามการจัดการเรียนรู้ อยู่ในระดับมากที่สุด การวางแผนดำเนินโครงการเป็นขั้นตอนอย่างเป็นระบบ การนิเทศ ติดตาม กำกับ ดูแลการดำเนินโครงการตามขั้นตอนที่ กำหนดทุกระยะ การประเมินผลการดำเนินโครงการ อยู่ในระดับมาก แต่ประเด็นที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดในด้านนี้ คือ การวิเคราะห์และนำผลการประเมินมาพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง
4. ด้านผลผลิตพบว่า ด้านประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ ครูมีความสามารถในการวิเคราะห์และวางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมกระบวนการคิดและปฏิบัติจริงของนักเรียน มีการเตรียมการสอนและจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ตามขั้นตอน จัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้โดยเน้นกระบวนการคิดและปฏิบัติจริงของนักเรียน มีทักษะในการสื่อสารและสร้างความเข้าใจในเนื้อหาและหน่วยการเรียนรู้ที่ดีให้กับนักเรียนจัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อนวัตกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะสมและทั่วถึงกับนักเรียน ใช้แหล่งเรียนรู้ที่เหมาะสม มีการบริหารจัดการในชั้นเรียนเชิงบวก โดยมีการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้เป็นกันเอง และอบอุ่น มีการนำผลการประเมินมาพัฒนา/แก้ไขปัญหาการเรียนรู้ของนักเรียนอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและคุณภาพทางวิชาการของนักเรียน พบว่า นักเรียนมีทักษะการอ่านเขียนภาษาไทยตามวัยและระดับชั้นของนักเรียนสูงขึ้น มีทักษะการคิด คำนวณพื้นฐานสูงขึ้น มีทักษะการคิดสร้างสรรค์ที่จำเป็นตามวัยและระดับชั้นของนักเรียนสูงขึ้น มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น มีผลสัมฤทธิ์ในการทดสอบระดับชาติสูงขึ้น รวมถึงด้านพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน พบว่า นักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ มีส่วนร่วมและได้ใช้สื่อการเรียนรู้อย่างทั่วถึง แต่นักเรียนยังขาดทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษพื้นฐานกล่าวโดยสรุป โครงการนี้ดำเนินการได้ตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ จึงสมควรดำเนินการต่อไป