การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างศักยภาพครู
สู่ความเป็นครูมืออาชีพในศตวรรษที่ 21
ผู้วิจัย ธรชญา ไพพา
ปีที่ทำการวิจัย 2563
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อวิเคราะห์หาสมรรถนะและกระบวนการพัฒนาศักยภาพครูโรงเรียนบ้านลำนางแก้ว สู่ความเป็นครูมืออาชีพในศตวรรษที่ 21 (2) เพื่อสร้างรูปแบบการเสริมสร้างศักยภาพครูโรงเรียนบ้านลำนางแก้ว สู่ความเป็นครูมืออาชีพในศตวรรษที่ 21 (3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการเสริมสร้างศักยภาพครูโรงเรียนบ้านลำนางแก้ว สู่ความเป็นครูมืออาชีพในศตวรรษที่ 21 และ (4) เพื่อประเมินผลการใช้การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างศักยภาพครู โรงเรียนบ้านลำนางแก้ว สู่ความเป็นครูมืออาชีพในศตวรรษที่ 21 ดำเนินการวิจัยมี 4 ระยะ 6 ขั้นตอน คือ ระยะที่ 1 ประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1-2 กลุ่มตัวอย่าง คือ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 14 คน ครู จำนวน 19 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 166 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในระยะนี้ คือ แบบสอบถามความจำเป็นสมรรถนะหลักที่ต้องมีของความเป็นครูมืออาชีพของครูและบุคลากรโรงเรียนบ้านลำนางแก้วและแบบสอบถามการพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างศักยภาพครูโรงเรียนบ้านลำนางแก้ว สู่ความเป็นครูมืออาชีพในศตวรรษที่ 21 สถิติที่ใช้ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (X) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ระยะที่ 2 ประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 3-4 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง สัมภาษณ์เชิงลึกผู้ทรงคุณวุฒิด้านการพัฒนาสมรรถนะของครูและบุคลากร จำนวน 12 คน และแบบประเมิน ความเหมาะสมของการพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างศักยภาพภาพครูโรงเรียนบ้านลำนางแก้ว สู่ความเป็นครูมืออาชีพในศตวรรษที่ 21 ระยะที่ 3 ประกอบด้วยขั้นตอนที่ 5 กลุ่มเป้าหมาย คือ ครูโรงเรียนบ้านลำนางแก้วทุกคน จำนวน 23 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในระยะนี้ คือ การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างศักยภาพครู โรงเรียนบ้านลำนางแก้ว สู่ความเป็นครูมืออาชีพในศตวรรษที่ 21 สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ย (X) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่าที (T-test) ระยะที่ 4 ประกอบด้วยขั้นตอนที่ 6 กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูและบุคลากรโรงเรียนบ้านลำนางแก้ว ตัวแทนนักเรียนและตัวแทนผู้ปกครองนักเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบประเมินความพึงพอใจต่อการพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างศักยภาพครูโรงเรียนบ้านลำนางแก้ว สู่ความเป็นครูมืออาชีพในศตวรรษที่ 21 และแบบประเมินความสำเร็จของการพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างศักยภาพครูโรงเรียนบ้านลำนางแก้ว สู่ความเป็นครูมืออาชีพ ในศตวรรษที่ 21 ซึ่งสถิติที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ คือ ค่าเฉลี่ย (X) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่า t-test
ผลการวิจัยสรุปผลได้ ดังนี้
1. สมรรถนะหลักในการพัฒนาสู่ความเป็นครูมืออาชีพของครูและบุคลากรโรงเรียนบ้านลำนางแก้ว ประกอบด้วยสมรรถนะ 5 ด้าน คือ 1) การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา 2) การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 3) การใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน 4) การวิจัยในชั้นเรียน 5) การนิเทศ ติดตามและประเมินผล
2. การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างศักยภาพครูโรงเรียนบ้านลำนางแก้ว สู่ความเป็นครูมืออาชีพในศตวรรษที่ 21 มี 5 ส่วนสัมพันธ์กัน ได้แก่ 1) การพัฒนาแบบมีส่วนร่วม 2) กระบวนการเสริมสร้างศักยภาพ 3) การยึดหลักการทำงานเป็นทีม 4) กระบวนการจัดการความรู้ 5) การสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ เพื่อสร้างทีมแก้ไขและพัฒนาและผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการเสริมสร้างศักยภาพครูโรงเรียนบ้านลำนางแก้ว สู่ความเป็นครูมืออาชีพในศตวรรษที่ 21 โดยภาพรวม มีความเหมาะสมในระดับมาก
3. ผลการทดลองใช้การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างศักยภาพครูโรงเรียนบ้านลำนางแก้ว สู่ความเป็นครูมืออาชีพในศตวรรษที่ 21 พบว่า ก่อนการพัฒนาผู้เข้ารับการพัฒนามีสมรรถนะโดยภาพรวมอยู่ในระดับ ปานกลาง หลังการพัฒนามีสมรรถนะโดยภาพรวมอยู่ในระดับ มาก ซึ่งเพิ่มขึ้นจากก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. การประเมินการพัฒนาการพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างศักยภาพครูโรงเรียนบ้านลำนางแก้ว สู่ความเป็นครูมืออาชีพในศตวรรษที่ 21 พบว่า ผู้เข้ารับการพัฒนามีความพึงพอใจต่อ การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างศักยภาพครูโรงเรียนบ้านลำนางแก้ว สู่ความเป็นครูมืออาชีพในศตวรรษที่ 21 โดยภาพรวมอยู่ในระดับ มาก และการประเมินระดับความสำเร็จของการพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างศักยภาพครูโรงเรียนบ้านลำนางแก้ว สู่ความเป็นครูมืออาชีพในศตวรรษที่ 21 โดยภาพรวมอยู่ในระดับ มาก