LASTEST NEWS

23 พ.ย. 2567วิทยาลัยอาชีวศึกษาชลบุรี รับสมัครครูอัตราจ้าง 3 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567โรงเรียนตากพิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกวิทยาศาสตร์ จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 23 พ.ย.-16 ธ.ค.2567 23 พ.ย. 2567สพป.อำนาจเจริญ รับสมัครพนักงานราชการ ตำแหน่งพี่เลี้ยง 5 อัตรา วุฒิม.3-ปวส.ทุกสาขา เงินเดือน 10,430-13,800 บาท สมัครระหว่างวันที่ 2-12 ธันวาคม 2567 23 พ.ย. 2567สพป.อำนาจเจริญ เปิดสอบพนักงานราชการ ตำแหน่งครูผู้สอน 38 อัตรา วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 18,000.-บาท สมัครระหว่างวันที่ 2-12 ธันวาคม 2567 23 พ.ย. 2567#ไม่ต้องผ่านภาค ก กรมทางหลวงชนบท เปิดสอบพนักงานราชการ 111 อัตรา สมัครออนไลน์ ตั้งแต่วันที่ 20 พฤศจิกายน 2567 - 29 พฤศจิกายน 2567 ตลอด 24 ชั่วโมงไม่เว้นวันหยุดราชการ 22 พ.ย. 2567โรงเรียนบ้านผารางวังหม้อ(มิตรประชา) รับสมัครครูผู้สอน วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 5,000 บาท (ห้าพันบาทถ้วน) 22 พ.ย. 2567สพป.ชัยภูมิ เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 6 อัตรา - รายงานตัว 25 พฤศจิกายน 2567 22 พ.ย. 2567สพป.อุดรธานี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 11 อัตรา - รายงานตัว 9 ธันวาคม 2567 22 พ.ย. 2567สพป.พังงา เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 6 จำนวน 5 อัตรา - รายงานตัว 28 พฤศจิกายน 2567 22 พ.ย. 2567สพป.อุบลราชธานี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 55 อัตรา - รายงานตัว 9 ธันวาคม 2567

เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ นายกิติศักดิ์ ศักดิ์ศรีท้าว

usericon

ชื่อเรื่อง    การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบร่วมมือด้วยเทคนิคกลุ่มแข่งขัน TGT
    เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคงทนในการเรียนรู้ เรื่อง พหุนาม
    สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ชื่อผู้วิจัย    นายกิติศักดิ์ ศักดิ์ศรีท้าว ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
    โรงเรียนเทศบาลบ้านศรีมงคล กองการศึกษาเทศบาลเมืองหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์
ปีที่วิจัย    2565

บทคัดย่อ

    การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัด
การเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบร่วมมือด้วยเทคนิคกลุ่มแข่งขัน TGT เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
และความคงทนในการเรียนรู้ เรื่อง พหุนาม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบร่วมมือด้วยเทคนิคกลุ่มแข่งขัน TGT เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคงทนในการเรียนรู้
เรื่อง พหุนาม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 3) เพื่อศึกษาความคงทนในการเรียนรู้ของนักเรียน เรื่อง พหุนาม หลังจากใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบร่วมมือด้วยเทคนิคกลุ่มแข่งขันTGT สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้รูปแบบการจัด
การเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบร่วมมือด้วยเทคนิคกลุ่มแข่งขันTGT เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคงทนในการเรียนรู้ เรื่อง พหุนาม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/3 โรงเรียนเทศบาลบ้านศรีมงคล กองการศึกษาเทศบาลเมืองหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 16 คน ซึ่งใช้วิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยมีห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม ด้วยวิธีการจับฉลากมา 1 ห้องเรียนจาก
ทั้งหมด 4 ห้องเรียน ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลอง ผู้วิจัยเป็นผู้ดำเนินการสอนด้วยตัวเองในชั่วโมงเรียน
ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 ระหว่างวันที่ 1 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 ถึงวันที่ 28 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 รวมระยะที่ใช้ในการทดลองทั้งสิ้น 12 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา
ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบร่วมมือด้วยเทคนิคกลุ่มแข่งขันTGT เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคงทนในการเรียนรู้ เรื่อง พหุนาม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 12 แผน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง พหุนาม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เป็นข้อสอบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบร่วมมือด้วยเทคนิคกลุ่มแข่งขันTGT เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคงทนในการเรียนรู้ เรื่อง พหุนาม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 แบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 15 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที (t – test Dependent)
    ผลการวิจัย พบว่า
    1. ผลการพัฒนาและหาประสิทธิภาพรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบร่วมมือด้วยเทคนิคกลุ่มแข่งขัน TGT เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคงทนในการเรียนรู้ เรื่อง พหุนาม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มี 4 องค์ประกอบได้แก่ 1)หลักการ 2)วัตถุประสงค์ 3)กระบวนการการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ (1) ขั้นเตรียมการจัดการเรียนรู้ (2) ขั้นทำกิจกรรมกลุ่ม (3) ขั้นแข่งขันเกม (4) ขั้นตรวจสอบการเรียนรู้ (5) ขั้นสรุป 4)การวัดและประเมินผล โดยพบว่ารูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบร่วมมือด้วยเทคนิคกลุ่มแข่งขันTGT ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ เท่ากับ 93.98/81.25
    2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบร่วมมือด้วยเทคนิคกลุ่มแข่งขัน TGT เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคงทนในการเรียนรู้ เรื่อง พหุนาม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
    3. นักเรียนมีความคงทนในการเรียนรู้ของนักเรียน เรื่อง พหุนาม หลังจากใช้รูปแบบการจัด
การเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบร่วมมือด้วยเทคนิคกลุ่มแข่งขันTGT สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
    4. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบร่วมมือด้วยเทคนิค
กลุ่มแข่งขัน TGT เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคงทนในการเรียนรู้ เรื่อง พหุนาม
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.54, S.D. = 0.28)
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^