LASTEST NEWS

23 พ.ย. 2567วิทยาลัยอาชีวศึกษาชลบุรี รับสมัครครูอัตราจ้าง 3 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567โรงเรียนตากพิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกวิทยาศาสตร์ จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 23 พ.ย.-16 ธ.ค.2567 23 พ.ย. 2567สพป.อำนาจเจริญ รับสมัครพนักงานราชการ ตำแหน่งพี่เลี้ยง 5 อัตรา วุฒิม.3-ปวส.ทุกสาขา เงินเดือน 10,430-13,800 บาท สมัครระหว่างวันที่ 2-12 ธันวาคม 2567 23 พ.ย. 2567สพป.อำนาจเจริญ เปิดสอบพนักงานราชการ ตำแหน่งครูผู้สอน 38 อัตรา วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 18,000.-บาท สมัครระหว่างวันที่ 2-12 ธันวาคม 2567 23 พ.ย. 2567#ไม่ต้องผ่านภาค ก กรมทางหลวงชนบท เปิดสอบพนักงานราชการ 111 อัตรา สมัครออนไลน์ ตั้งแต่วันที่ 20 พฤศจิกายน 2567 - 29 พฤศจิกายน 2567 ตลอด 24 ชั่วโมงไม่เว้นวันหยุดราชการ 22 พ.ย. 2567โรงเรียนบ้านผารางวังหม้อ(มิตรประชา) รับสมัครครูผู้สอน วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 5,000 บาท (ห้าพันบาทถ้วน) 22 พ.ย. 2567สพป.ชัยภูมิ เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 6 อัตรา - รายงานตัว 25 พฤศจิกายน 2567 22 พ.ย. 2567สพป.อุดรธานี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 11 อัตรา - รายงานตัว 9 ธันวาคม 2567 22 พ.ย. 2567สพป.พังงา เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 6 จำนวน 5 อัตรา - รายงานตัว 28 พฤศจิกายน 2567 22 พ.ย. 2567สพป.อุบลราชธานี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 55 อัตรา - รายงานตัว 9 ธันวาคม 2567

การพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้

usericon

การพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Cycle) หรือ 5Es เปรียบเทียบกับวิธีสอนแบบปกติ วิชาภาษาไทยพื้นฐาน เรื่อง การใช้ภาษาไทยที่ถูกต้อง ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 อิสลามวิทยาลัยแห่งประเทศไทย
ผู้วิจัย: นายภัทรพล ทองในแก้ว
ในปัจจุบันเกิดปัญหาเด็กไทยขาดการศึกษาอย่างทั่วถึง รวมถึงปัญหาภาษาวิบัติทำให้เด็กไทย ไม่สามารถใช้ภาษาไทยได้มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ในขณะเดียวกันได้มีการใช้คำว่าภาษาอุบัติแทนที่ภาษาวิบัติที่มีความหมายในเชิงลบ โดยภาษาอุบัติ หมายถึง ภาษาที่เกิดขึ้นมาใหม่ ตอบสนองวัฒนธรรมย่อยเช่นเดียวกับภาษาเฉพาะวงการที่เป็นศัพท์สแลง
การใช้ภาษาไทยที่ถูกต้องมาจากพื้นฐานการอ่านและการเขียนที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ ปัจจุบันการใช้ภาษาไทยมีการผิดเพี้ยนไปอย่างมาก ทั้งด้านการอ่านการเขียนและหลักภาษาที่ผู้เรียนไม่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้หรือใช้ไม่ถูกต้อง อาทิ การใช้ภาษาไทยที่ไม่ถูกต้อง การอ่านการเขียนไม่ถูกต้อง การใช้คำไม่สอดคล้องกับบริบทและตรงตามความหมายของคำ การเว้นวรรคตอนผิด
จุดมุ่งหมายของการออกแบบการสอน
1. นักเรียนใช้ภาษาไทยได้ถูกต้อง (K)
2. นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อรายวิชาภาษาไทย (A)
3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหา
ความรู้ (A)
4. นักเรียนเกิดทักษะการศึกษาค้นคว้าจากการใช้รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (P)
รูปแบบการสอน
การออกแบบการสอนในครั้งนี้ได้นำเอาวิธีการระบบ (System Approach) หรือวิธีระบบ มาใช้ในการเรียนการสอน โดยที่ระบบจะหมายถึง ส่วนต่าง ๆ ที่สัมพันธ์กัน ได้แก่ส่วนนำเข้า (Input) ส่วนดำเนินการ (Process) และส่วนผลลัพธ์ (Output) รวมถึงกระบวนการการใช้ข้อมูลป้อนกลับ (Feedback) ซึ่งผู้วิจัยนำรูปแบบระบบการเรียนการสอนของสุคนธ์ ภูริเวทย์และใช้รูปแบบการสอนแบบ สืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Cycle) หรือ 5Es
การออกแบบการจัดการเรียนรู้ประกอบด้วย 10 ขั้นตอนดังนี้
1. การวิเคราะห์
1.1 วิเคราะห์ผู้เรียน
1.2 วิเคราะห์เนื้อหา/หลักสูตร
1.3 การวิเคราะห์ภาระงานหรือวิเคราะห์ภารกิจ
2. กำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้
3. กำหนดเนื้อหาวิชา
4. ประเมินผลก่อนเรียน
4.1 ประเมินความพร้อมและพื้นฐานผู้เรียน
4.2 ประเมินความรู้พื้นฐานในเรื่องที่เรียนก่อนการเรียน
5. กำหนดกิจกรรมการเรียนการสอน
โดยใช้รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Cycle) หรือ 5Es
6. กำหนดและเลือกใช้สื่อการเรียนการสอน
7. กำหนดแหล่งการเรียนรู้
7.1 แหล่งการเรียนรู้ที่มีอยู่ตามธรรมชาติ
7.2 แหล่งการเรียนรู้ที่มนุษย์สร้างขึ้น
8. จัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Cycle)
หรือ 5Es ประกอบด้วย 5 ขั้น คือ
1) ขั้นสร้างความสนใจ (Engagement)
2) ขั้นสำรวจและค้นหา (Exploration)
3) ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป (Explanation)
4) ขั้นขยายความรู้ (Elaboration)
5) ขั้นประเมินผล (Evaluation)
9. ประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
10. การปรับปรุงแก้ไข
ขั้นตอนการสร้างเครื่องมือและลักษณะเครื่องมือ
ผู้วิจัยได้ออกแบบการสอนรายวิชาภาษาไทยพื้นฐาน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง การใช้ภาษาไทย ที่ถูกต้อง โดยใช้รูปแบบการสอนตามแนวคิดของนักการศึกษากลุ่ม BSCS (Biological Science Curriculum Study) และสร้างแผนการจัดการเรียนรู้ประกอบไปด้วย 5 เรื่อง คือ 1. อ่านอย่างไร เขียนอย่างไร 2. ความงามในภาษา 3. การใช้ภาษาไทยที่บกพร่อง 4. พันธกิจของภาษา 5. ลักษณะสำคัญของภาษาไทย ด้วยรูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Cycle) หรือ 5Es และแผนการจัดการเรียนรู้ที่ใช้การสอนแบบปกติเสร็จเรียบร้อยแล้ว
ผู้วิจัยได้ดำเนินการตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการสอนและแผนการจัดการเรียนรู้ทั้งรูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Cycle) หรือ 5Es และรูปแบบปกติก่อนนำไปใช้เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง ครบถ้วน ความสอดคล้อง ความเป็นไปได้ การตอบสนองตามจุดประสงค์ หรือมีจุดบกพร่องมากน้อยเพียงใด ในการตรวจสอบครั้งนี้ ผู้วิจัยจะต้องศึกษาในเนื้อหาที่จะสอนและผู้เชี่ยวชาญที่มีความสามารถตรงกับเนื้อหาวิชา รูปแบบการสอน และการวัดประเมินผล ซึ่งการตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบและแผนการจัดการเรียนรู้ในครั้งนี้ มีผู้เชี่ยวชาญประเมินจำนวน 3 ท่าน โดยมีขั้นตอนการสร้างเครื่องมือ ดังนี้
1. ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับองค์ประกอบของรูปแบบการสอนตามแนวคิดของนักการศึกษากลุ่ม BSCS (Biological Science Curriculum Study) รูปแบบการสอนแบบแบบสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Cycle) หรือ 5Es วิธีการระบบ (System Approach) หรือวิธีระบบ และรูปแบบระบบการเรียนการสอนจากหนังสือ เอกสาร ตำราต่าง ๆ
2. ศึกษาเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเครื่องมือตรวจสอบรูปแบบการสอนและแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การใช้ภาษาไทยที่ถูกต้อง
3. ออกแบบเครื่องมือตรวจสอบคุณภาพรูปแบบการสอนและแผนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้รูปแบบระบบการเรียนการสอนของสุคนธ์ ภูริเวทย์และใช้รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Cycle) หรือ 5Es และรูปแบบการสอนแบบปกติ เรื่อง การใช้ภาษาไทยที่ถูกต้อง
4. นำเครื่องมือที่ออกแบบเพื่อตรวจสอบคุณภาพรูปแบบการสอนโดยใช้รูปแบบตามแนวคิดของ นักการศึกษากลุ่ม BSCS (Biological Science Curriculum Study) แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Cycle) หรือ 5Es และแผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติ ประกอบไปด้วย 5 เรื่อง คือ 1. อ่านอย่างไร เขียนอย่างไร 2. ความงามในภาษา 3. การใช้ภาษาไทยที่บกพร่อง 4. พันธกิจของภาษา 5. ลักษณะสำคัญของภาษาไทย เสนออาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อตรวจสอบความถูกต้องก่อนดำเนินการสร้างเครื่องมือ
5. ดำเนินการสร้างเครื่องมือตรวจสอบคุณภาพ ความถูกต้อง ครบถ้วน เหมาะสม และความสอดคล้องขององค์ประกอบรูปแบบการสอน โดยใช้รูปแบบตามแนวคิดของนักการศึกษากลุ่ม BSCS (Biological Science Curriculum Study) และแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Cycle) หรือ 5Es และแผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติ ประกอบไปด้วย 5 เรื่อง คือ 1. อ่านอย่างไร เขียนอย่างไร 2. ความงามในภาษา 3. การใช้ภาษาไทยที่บกพร่อง 4. พันธกิจของภาษา 5. ลักษณะสำคัญของภาษาไทย
- แบบตรวจสอบความถูกต้อง ครบถ้วน เหมาะสม และความสอดคล้องขององค์ประกอบของรูปแบบ การสอนโดยใช้รูปแบบตามแนวคิดของนักการศึกษากลุ่ม BSCS (Biological Science Curriculum Study) แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Cycle) หรือ 5Es และแผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติ เรื่อง การใช้ภาษาไทยที่ถูกต้อง
6. นำแบบตรวจสอบคุณภาพรูปแบบการสอน แบบตรวจสอบคุณภาพแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Cycle) หรือ 5Es และแผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติ ประกอบไปด้วย 5 เรื่อง คือ 1. อ่านอย่างไร เขียนอย่างไร 2. ความงามในภาษา 3. การใช้ภาษาไทยที่บกพร่อง 4. พันธกิจของภาษา 5. ลักษณะสำคัญของภาษาไทย เสนอผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน
7. ปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ
วิธีการสร้างแบบทดสอบก่อนเรียนและแบบทดสอบหลังเรียน
วิธีการสร้างแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนวิชาภาษาไทยเรื่อง การใช้ภาษาไทยที่ถูกต้อง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ซึ่งได้นำรูปแบบระบบการเรียนการสอนและแนวคิดรูปแบบการสอนตามแนวคิดของนักการศึกษากลุ่ม BSCS (Biological Science Curriculum Study), สุคนธ์ ภูริเวทย์ โดยใช้รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Cycle) หรือ 5Es มาประยุกต์ใช้ในการจัดรูปแบบการสอนวิชาภาษาไทยพื้นฐาน อิสลามวิทยาลัยแห่งประเทศไทย แขวงทุ่งครุ เขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร ผู้วิจัยได้ดำเนินการดังนี้
1. ศึกษาวิธีการสร้างแบบทดสอบจากหนังสือ เอกสาร ตำราและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการสร้างแบบทดสอบที่ครอบคลุมพฤติกรรมด้านพุทธิพิสัยทั้ง 6 ระดับของ Bloom คือความรู้ความจำ ความเข้าใจ การนำไปใช้ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ และการประเมินค่า (Bloom. 1956 : 123-125)
2. ศึกษาและวิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้ สาระการเรียนรู้และตัวชี้วัด เพื่อนำมาสร้างแบบทดสอบซึ่งเป็นเนื้อหาเดียวกันกับที่กำหนดไว้ในเรื่อง การใช้ภาษาไทยที่ถูกต้อง ประกอบไปด้วย 5 เรื่อง คือ 1. อ่านอย่างไร เขียนอย่างไร 2. ความงามในภาษา 3. ภาษาไทยที่มักใช้ผิด 4. พันธกิจของภาษา 5. ลักษณะสำคัญของภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
กลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 อิสลามวิทยาลัยแห่งประเทศไทย จำนวน 42 คน เป็นกลุ่มทดลอง และจำนวน 43 คน เป็นกลุ่มควบคุมการสุ่มตัวอย่างเป็นการสุ่มตัวอย่างโดยไม่ใช้ความน่าจะเป็น (Nonprobability sampling) โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling)
วิธีดาเนินการใช้รูปแบบการสอน
ขั้นตอนการดาเนินการใช้รูปแบบการสอน
1. แบ่งนักเรียนออกเป็น 2 กลุ่มคือ
กลุ่มทดลองเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/4 อิสลามวิทยาลัยแห่งประเทศไทย โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Cycle) หรือ 5Es
กลุ่มควบคุมเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/5 อิสลามวิทยาลัยแห่งประเทศไทย โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนแบบปกติ
2. ทดสอบก่อนเรียน (Pre-Test) โดยใช้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยเรื่อง การใช้ภาษาไทยที่ถูกต้อง จำนวน 60 ข้อ ตรวจเก็บคะแนนเพื่อนำไปวิเคราะห์ข้อมูล
3. ดำเนินกิจกรรมการเรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้เรื่องการใช้ภาษาไทยที่ถูกต้อง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 10 ชั่วโมง โดยใช้รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Cycle) หรือ 5Es จำนวน 5 ชั่วโมง และรูปแบบปกติ จำนวน 5 ชั่วโมง
4. สังเกตพฤติกรรมการเรียนของผู้เรียนและบันทึกผลการปฏิบัติงานในแบบประเมินทักษะพิสัย ด้านการศึกษาค้นคว้า
5. เมื่อจัดกิจกรรมการเรียนรู้ครบตามแผนการจัดการเรียนรู้เรียบร้อยแล้ว ทำการทดสอบหลังเรียน (Post-Test) โดยใช้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง การใช้ภาษาไทยที่ถูกต้อง จำนวน 60 ข้อตรวจเก็บคะแนนเพื่อนำไปวิเคราะห์ข้อมูล
6. ให้นักเรียนทำแบบวัดเจตคติที่มีต่อวิชาภาษาไทยพื้นฐาน
7. ให้นักเรียนทำแบบวัดความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Cycle) หรือ 5Es
สรุปผลการใช้รูปแบบการสอนและอภิปรายผล
1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้หลังเรียนรู้เรื่อง การใช้ภาษาไทยที่ถูกต้อง ของนักเรียนทั้งสองกลุ่มนี้แตกต่างกัน แสดงว่าการจัดการเรียนรู้รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Cycle) หรือ 5Es ทำให้นักเรียนใช้ภาษาไทยได้ถูกต้องสูงกว่านักเรียนที่เรียนโดยวิธีปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เพราะการจัดการเรียนรู้แบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Cycle) หรือ 5Esนั้น เป็นการกระตุ้นให้ผู้เรียนได้คิดวิเคราะห์ วางแผนการทำงานและลงมือทำ รวมถึงการฝึกฝนให้ผู้เรียนศึกษาค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเองและเป็นการเรียนรู้แบบยั่งยืน
2. ผลการเปรียบเทียบการเกิดทักษะการศึกษาค้นคว้าของนักเรียน เปรียบเทียบระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม พบว่ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีทักษะการศึกษาค้นคว้าทางสถิติในระดับดี ซึ่งกลุ่มทดลอง มีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 8.88 สูงกว่ากลุ่มควบคุมซึ่งมีค่าเฉลี่ยรวม 7.63
3. ผลการเปรียบเทียบเจตคติต่อวิชาภาษาไทยพื้นฐานของนักเรียนกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม พบว่า เจตคติต่อวิชาภาษาไทยพื้นฐานของกลุ่มทดลองโดยรวมมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.19 มากกว่ากลุ่มควบคุม โดยกลุ่มควบคุมมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนอยู่ในระดับ มาก มีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.02
4. ผลความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้รูปแบบการสอนแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Cycle) หรือ 5Es พบว่าความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Cycle) หรือ 5Es โดยรวมอยู่ในระดับ มาก มีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.45
จากผลการวิจัยพบว่าการใช้รูปแบบการสอนแบบแบบสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Cycle) หรือ 5Es ทำให้นักเรียนกลุ่มทดลองมีความรู้ความเข้าใจ ในการใช้ภาษาไทยได้ถูกต้องมากยิ่งขึ้น เกิดทักษะในการศึกษาค้นคว้า และรู้จักวางแผนการทำงาน การทำงานร่วมกันเป็นทีม รู้จักยอมรับฟังความคิดเห็นของคนอื่นอีกทั้งยังเป็นการสร้างให้ตัวผู้เรียนรู้จักการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองอีกด้วย เป็นการกระตุ้นให้ผู้เรียนได้คิดวิเคราะห์ วางแผนการทำงานและลงมือทำ รวมถึงการฝึกฝนให้ผู้เรียนศึกษาค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเองและเป็นการเรียนรู้แบบคงทนถาวรที่มาจากตัวนักเรียนเอง
ปัญหาและอุปสรรคที่พบ และข้อเสนอแนะแก้ไข
ปัญหาและอุปสรรคที่พบ
1. เวลาในการทดลองใช้รูปแบบการสอนค่อนข้างจำกัด เพราะภาคเรียนที่ 1 โรงเรียน มีกิจกรรม และโครงการที่โรงเรียนจะต้องดำเนินการเป็นจำนวนมาก ซึ่งในบางครั้งมีการกระทบกับคาบเรียน จึงต้องเลื่อนการทำการทดลองไม่ตรงกับระยะเวลาที่กำหนด
2. ในบางครั้งนักเรียนไม่มีสื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือหนังสือ ตำรา เอกสารในการศึกษาค้นคว้าหาข้อมูล ทำให้การเรียนรู้และการทำการทดลองไม่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเท่าที่ควร
3. บรรยากาศและชั่วโมงเรียนของนักเรียนไม่เอื้อต่อการทำการทดลอง
ข้อเสนอแนะแก้ไข
1. ควรมีการศึกษาเปรียบเทียบผลการเรียนที่ใช้รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Cycle) หรือ 5Es กับวิธีสอนรูปแบบอื่น ๆ
2. ควรมีการศึกษาเปรียบเทียบการใช้รูปแบบการสอนแบบแบบสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Cycle) หรือ 5Es ในระดับชั้นอื่น ๆ
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^