การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วย “CHUMKO MODEL”
ชื่อผลงาน นวัตกรรมการบริหารจัดการสู่การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วย
“CHUMKO MODEL”
ชื่อผู้นำเสนอผลงาน โรงเรียนบ้านชุมโค
..............................................................................................................
๑. ความเป็นมาและความสำคัญ
โรงเรียนบ้านชุมโค สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต ๑ สำนักงานคณะ กรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นหน่วยงานทางการศึกษาที่มีภารกิจที่สำคัญ คือการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ ตามเป้าหมายของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๓ และตามมาตรฐานการเรียนรู้ของหลักสูตรการศึกษา ขั้นพื้นฐาน โรงเรียนบ้านชุมโค เป็นโรงเรียนขนาดเล็ก ซึ่งโรงเรียนขนาดเล็กดังกล่าว ส่วนใหญ่ไม่สามารถบริหาร จัดการศึกษาได้ตามเป้าหมายและมาตรฐานการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตลอดจน มาตรฐานด้านผู้บริหารโรงเรียน มาตรฐานด้านครูและมาตรฐานด้านนักเรียนของโรงเรียนขนาดเล็ก จากการศึกษา สภาพการบริหารจัดการและผลที่เกิดขึ้น การบริหารจัดการของโรงเรียนขนาดเล็ก พบว่ามีปัญหาที่สำคัญดังนี้ คือ
๑. การบริหารวิชาการ ครูไม่ครบชั้น และจำนวนผู้เรียนในแต่ละชั้นมีจำนวนน้อย ทำให้ครูไม่สามารถจัด กิจกรรมการเรียนการสอนให้หลากหลายได้ สังคมผู้เรียนคับแคบ การเรียนรู้ระหว่างผู้เรียนไม่กว้างพอ ผู้เรียนจึงมี ความจำกัดในการพัฒนาการเรียนรู้ ที่ไม่สามารถเรียนรู้ได้ทุกเรื่อง
๒. การบริหารงบประมาณ การจัดสรรงบประมาณให้แก่โรงเรียนขนาดเล็กมีค่อนข้างจำกัด ได้รับงบ ประมาณ ที่จะนำมาใช้ในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนไม่เพียงพอ ทั้งนี้เพราะกระทรวงศึกษาธิการจัดสรรงบประมาณ ให้ตามรายหัวของจำนวนผู้เรียน โรงเรียนมีจำนวนผู้เรียนน้อยทำให้ได้รับงบประมาณน้อยตามไปด้วยจึงไม่เพียงพอ ต่อการจัดการศึกษาและดูแลผู้เรียนได้อย่างมีคุณภาพ ทำให้ขาดแคลนทั้งอาคารเรียน อาคารประกอบ ห้องสมุด ตลอดจนสนาม สำหรับการเล่นกีฬาของนักเรียน อีกทั้งยังต้องใช้จ่ายเงินจำนวนนี้เพื่อการสาธารณูปโภค และค่า ดำเนินการอื่นๆ อีกหลายอย่าง
๓. การบริหารงานบุคคล ขวัญและกำลังใจของครูตกต่ำ เพราะความขาดแคลนบุคลากรที่จะจัดกิจกรรม การเรียนการสอนทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ จัดการเรียนการสอนโดยมีครูไม่ครบชั้นเรียน ไม่ครบกลุ่มสาระ การเรียนรู้ ครูหนึ่งคนต้องรับผิดชอบดูแลผู้เรียนหลายชั้น หรือรับผิดชอบชั้นเดียวแต่ต้องสอนทุกกลุ่มสาระ อีกทั้ง โอกาสที่จะเจริญก้าวหน้าในหน้าที่ราชการก็มีจำกัดไม่เหมือนครูที่สอนในสถานศึกษาขนาดกลาง หรือขนาดใหญ่ ที่มีโอกาสได้รับการพัฒนาตน พัฒนางาน และมีความก้าวหน้าในวิชาชีพ ดังนั้น ถ้าครูขาดขวัญและกำลังใจ ในการทำงานจะมีผลกระทบโดยตรงต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงาน ทั้งของตนเอง สถาบันการศึกษา และประเทศชาติ
๔. การบริหารทั่วไป การได้รับการส่งเสริมสนับสนุนจากท้องถิ่นชุมชนมีค่อนข้างน้อย ผู้ปกครองขาด ความเชื่อมั่นในการจัดการศึกษา เพราะโรงเรียนขนาดเล็ก และมีโรงเรียนขนาดใหญ่อยู่ใกล้ๆและมีปัญหาทางด้าน เศรษฐกิจ มีข้อจำกัดมากมาย เช่น ครูไม่ครบชั้น ขาดสื่อและเทคโนโลยีสมัยใหม่ ฯลฯ ซึ่งทำให้ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนตกต่ำมีผลกระทบต่อความ มั่นใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานมาเข้าเรียน
โรงเรียนบ้านชุมโคมีบทบาทความรับผิดชอบเกี่ยวกับการบริหารจัดการศึกษาให้ความสำคัญกับปัญหา ดังกล่าว เร่งที่จะหาสาเหตุที่แท้จริงของปัญหาทางด้านการจัดการศึกษา จึงได้กำหนดเป้าหมาย นโยบาย แนวทาง การดำเนินมาตรการเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ตลอดจนหารูปแบบในการดำเนินการ ที่จะทำให้เกิดผลการ ปฏิบัติงานสำหรับการบริหารจัดการโรงเรียนอย่างจริงจัง โรงเรียนได้ตระหนักและเห็นคุณค่าของการพัฒนาทาง การศึกษา จึงมีความใส่ใจต่อการแก้ปัญหา ได้ส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องในโรงเรียน ตลอดจน บุคลากรจากหน่วยงานอื่นๆ นอกวงการศึกษา พยายามหาแนวทาง รูปแบบ เทคนิค วิธีการ หรือกระบวนการต่างๆ เพื่อนำมาใช้แก้ปัญหาโรงเรียนให้มีความสามารถในการบริหารจัดการและจัดการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาคุณภาพ ของนักเรียนให้บรรลุตามเป้าหมาย ของการจัดให้บริการทางการศึกษา ผลจากการเปิดโอกาสให้กลุ่มบุคคล ดังกล่าวได้ร่วมกันคิด ร่วมกันทดลองดำเนินการจนกระทั่งเกิดผลต่อคุณภาพของนักเรียนกลุ่มเป้าหมายทำให้สามารถคัดเลือก และสรุปแนวทาง รูปแบบและกระบวนการได้ว่า นวัตกรรมการบริหารจัดการสู่การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วย “CHUMKO MODEL”เป็นแนวทางที่สามารถจัดรูปแบบ สำหรับการดำเนินการได้อย่างเหมาะสมมากที่สุด หากเปิดโอกาสได้ร่วมมือกันสะท้อนปัญหาอุปสรรคที่มีผลกระทบต่อโรงเรียนของตนเอง ออกมาร่วมกัน วิเคราะห์จุดเด่น จุดด้อย โอกาส และข้อจำกัดที่ยึดข้อมูลสารสนเทศของโรงเรียน ร่วมกันสังเคราะห์และสรุปเพื่อหาแนวทางดำเนินการยกระดับคุณภาพทางการศึกษาของโรงเรียน โดยการสร้างเครือข่ายการทำงานด้วยกัน จะทำให้ได้แนวทางที่มีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพบริบทของโรงเรียนและตรงตามความสนใจความต้องการ ของครูที่จะระดมศักยภาพของบุคลากร ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมาพัฒนาโรงเรียนพัฒนานักเรียนร่วมกัน ดังนั้น นวัตกรรมการบริหารจัดการสู่การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วย “CHUMKO MODEL”มีความน่าสนใจ และคาดว่าเมื่อ ดำเนินการแล้วจะส่งผลต่อคุณภาพของนักเรียนที่จะสูงขึ้น