นางสาวสมพร หงษ์ยิ้ม ครูโรงเรียนบ้านดงซ่อม
วัตถุประสงค์การพัฒนานวัตกรรม
1. เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนแสดงความคิดเห็น วิชาภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนบ้านดงซ่อม ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80
๒. เพื่อเปรียบเทียบผลคะแนนก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การเขียนแสดงความคิดเห็น ที่จัดการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ร่วมกับการบูรณาการสาระการเรียนรู้วิถีชีวิตในครอบครัว ชุมชนและท้องถิ่น วิชาภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนบ้านดงซ่อม
๓. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนบ้านดงซ่อม ที่จัดการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ร่วมกับการบูรณาการสาระการเรียนรู้วิถีชีวิตในครอบครัว ชุมชนและท้องถิ่น
การนำนวัตกรรม “การพัฒนาทักษะการเขียนแสดงความคิดเห็น วิชาภาษาไทย
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนบ้านดงซ่อม ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ร่วมกับการบูรณาการสาระการเรียนรู้วิถีชีวิตในครอบครัว ชุมชนและท้องถิ่น เรื่อง สถานศึกษาปลอดภัย 9 ภัยคุกคามรูปแบบใหม่ที่ควรรู้”มาใช้จัดการเรียนการสอนเพิ่มเติมให้กับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ นั้นมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาทักษะการเขียนแสดงความคิดเห็น เพื่อให้นักเรียนสามารถการเขียนแสดงความคิดเห็น โดยการวิเคราะห์วิจารณ์อย่างมีเหตุผลอันเกิดประโยชน์และสร้างสรรค์นักเรียนจะได้รับการพัฒนาเพื่อเป็นไปตามเป้าหมายในการยกระดับผลสัมฤทธิ์อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนให้สูงขึ้นตามค่าเป้าหมายร้อยละ 3 ตามที่สถานศึกษาได้ตั้งไว้
นอกจากนี้ได้นำนวัตกรรม “การพัฒนาทักษะการเขียนแสดงความคิดเห็น วิชาภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนบ้านดงซ่อม ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ร่วมกับการบูรณาการสาระการเรียนรู้วิถีชีวิตในครอบครัว ชุมชนและท้องถิ่น เรื่อง สถานศึกษาปลอดภัย 9 ภัยคุกคามรูปแบบใหม่ที่ควรรู้”มาจัดเรียนการสอนซ่อมเสริมให้กับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑-๓ ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอยู่ในกลุ่มที่เขียนไม่คล่อง พบว่า นักเรียนมีคะแนนการเขียน และเขียนแสดงความคิดเห็นสูงขึ้นจากการทดสอบการเขียนแสดงความคิดเห็น จากเครื่องมือการทดสอบสถาบันภาษาไทย สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑-๓
๗.๑ ประโยชน์ที่เกิดจากการใช้นวัตกรรมต่อการจัดการเรียนรู้
การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาไทย การเขียนเป็นทักษะที่สำคัญทักษะหนึ่งในการใช้ภาษาไทย ภาษาเขียนใช้ในการสื่อ ความหมายที่ได้ความและปรากฏหลักฐานมั่นคงเนื่องจากไม่ลบเลือนเร็วเหมือนคำพูด ภาษาเขียนจึงใช้ในการติดต่อสื่อสารได้ดีแม้ในระยะทางไกล
แต่การที่จะสื่อสารได้ดีนั้น ผู้เขียนจะต้องมีความสามารถในการเขียน กล่าวคือ สามารถใช้ภาษาได้อย่างถูกต้อง ชัดเจน และสามารถทำให้ผู้อ่านเข้าใจความหมายในสิ่งที่ตนเขียนได้ (วรรณี โสมประยรู 2553: 11) การเขียนแสดงความคิดเห็นมีความสำคัญมากในการดำรงชีวิตผู้เขียนจะต้องยึดหลัก จรรยาบรรณของการเขียนที่มีคุณธรรม จริยธรรม ไม่มีอคติ เนื่องจากงานเขียนย่อมมีผลกระทบต่อ ส่วนรวม เป็นการเสนอแนะทางแก้ไขอันจะเป็นประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวม และช่วยกระตุ้น ให้ผู้อ่านช่วยกันคิด และหาทางแก้ไขปัญหาได้ด้วย ดังนั้นการเขียนแสดงความคิดเห็นจึงเป็นการเขียน เพื่อมุ่งแสดงความคิดเห็นถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่งว่า มีข้อดีข้อเสียอย่างไร อยู่ตรงไหน มากน้อยเพียงไร โดยเฉพาะข้อบกพร่องหรือข้อเสียและหาวิธีที่จะปรับปรุงแก้ไขได้อย่างไร ผู้เขียนจะต้องพิจารณา คิดค้นให้รอบคอบละเอียดถี่ถ้วนทุกด้านทุกมุมด้วยสติปัญญาความรู้ความคิดอย่างชัดเจนแล้วจึงแสดงความคิดโดยตำหนิหรือชมออกมา (ฐะปะนีย์ นาครทรรพ 2547ก: 29) ดังนั้นประโยชน์ที่เกิดจากการใช้นวัตกรรมต่อการจัดการเรียนรู้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนบ้านดงซ่อม มีผลการพัฒนาทักษะการเขียนแสดงความคิดเห็น วิชาภาษาไทย ให้ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับดีร้อยละ ๘๐ และมีความพึงพอใจ ต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ร่วมกับการบูรณาการสาระการเรียนรู้วิถีชีวิตในครอบครัว ชุมชนและท้องถิ่น อยู่ในระดับดีมาก ส่งผลให้นวัตกรรมการพัฒนาทักษะการเขียนแสดงความคิดเห็น วิชาภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนบ้านดงซ่อม ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ร่วมกับการบูรณาการสาระการเรียนรู้วิถีชีวิตในครอบครัว ชุมชนและท้องถิ่น เรื่อง สถานศึกษาปลอดภัย 9 ภัยคุกคามรูปแบบใหม่ที่ควรรู้ มีประสิทธิภาพและเป็นประสิทธิผลต่อการนำไปประยุกต์ใช้กับนักเรียนในสถานศึกษาอื่น ๆ ที่มีบริบทใกล้เคียงต่อไป