LASTEST NEWS

27 ก.ค. 2567ไม่ต้องผ่านภาค ก 65 อัตรา วุฒิปริญญาตรีทุกสาขา เงินเดือน 16,830 บาท สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล รับสมัครสอบบรรจุเป็นพนักงาน ตั้งแต่บัดนี้ - 9 สิงหาคม 2567 27 ก.ค. 2567โอกาสมาแล้ว!! น้องนิสิต นักศึกษาครู เชิญทางนี้ กรุงเทพมหานคร เปิดสอบครูผู้ช่วย (โครงการช้อนครู) 322 อัตรา รับสมัคร 30 ก.ค. - 2 ส.ค.2567 27 ก.ค. 2567เมืองพัทยา เปิดสอบผู้ช่วยครูผู้ช่วย จำนวน 17 อัตรา รับสมัคร 1-9 สิงหาคม 2567  26 ก.ค. 2567สพป.นนทบุรี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบ 2 ปี 2567 จำนวน 15 อัตรา - รายงานตัว 6 สิงหาคม 2567 26 ก.ค. 2567สพป.ศรีสะเกษ เขต 4 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 2 จำนวน 11 อัตรา - รายงานตัว 1 สิงหาคม 2567 26 ก.ค. 2567สพป.ปทุมธานี เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 2 จำนวน 5 อัตรา - รายงานตัว 6 สิงหาคม 2567 25 ก.ค. 2567“ศธ.-มท.” เตรียมสุ่มตรวจยาเสพติดโรงเรียน 25 ก.ค. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย บัญชีปี พ.ศ.2566 รอบที่ 7 จำนวน 1 อัตรา - รายงานตัว 1 สิงหาคม 2567 25 ก.ค. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย บัญชีปี พ.ศ.2567 รอบที่ 2 จำนวน 9 อัตรา - รายงานตัว 1 สิงหาคม 2567 25 ก.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 6 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย สังกัด สพฐ. ปี 2567 รอบที่ 2 จำนวน 8 อัตรา - รายงานตัว 7 สิงหาคม 2567

การพัฒนารูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC)

usericon

ชื่อเรื่อง :การพัฒนารูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้
เชิงรุกของครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพะเยา
ผู้วิจัย : ว่าที่ร้อยโท ทวีป วงศ์ชาลีกุล ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพะเยา
วิทยฐานะ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชี่ยวชาญ
ปีการศึกษา : 2566

การวิจัยเรื่องการพัฒนารูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพะเยา ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพะเยา 2) สร้างและตรวจสอบรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพะเยา 3) ทดลองใช้รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพะเยา และ 4) ประเมินความเหมาะสมและความเป็นประโยชน์ในการนำไปปฏิบัติของรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพะเยา โดยมีขั้นตอนการวิจัย 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพะเยา โดยครูของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพะเยา จำนวน 18 โรงเรียน จำนวน 128 คน ขั้นตอนที่ 2 สร้างและตรวจสอบรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 12 คน ขั้นตอนที่ 3 ทดลองใช้รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) โดยผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน 9 คน และครูผู้สอนของโรงเรียนในสหวิทยาเขตภูลังกา จำนวน 21 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 30 คน และ ขั้นตอนที่ 4 ประเมินความเหมาะสมและความเป็นประโยชน์ในการนำไปปฏิบัติของรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) โดยผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน 9 คน และครูผู้สอนของโรงเรียนในสหวิทยาเขตภูลังกา จำนวน 21 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถาม สถิติพื้นฐานได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)


ผลการวิจัยพบว่า
    1. ผลศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพะเยา
        1.1 ผลการสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพปัจจุบันและความต้องการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) พบว่า สภาพปัจจุบันของชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และความต้องการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ภาพรวมอยู่ในระดับมาก
        1.2 ผลการสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพปัจจุบันและความต้องการเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุก พบว่า สภาพปัจจุบันเกี่ยวกับการเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และความต้องการเกี่ยวกับการเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกภาพรวมอยู่ในระดับมาก
     2. ผลการสร้างและตรวจสอบรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพะเยา
        2.1 ผลการสร้างรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพะเยา ซึ่งประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการของรูปแบบ วัตถุประสงค์ของรูปแบบ เนื้อหาของรูปแบบ กระบวนการของรูปแบบ และการวัดและประเมินผล
        2.2 ผลการสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการตรวจสอบรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพะเยาของผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่าความถูกต้องภาพรวมอยู่ในระดับมาก และความเป็นไปได้ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
        2.3 ผลการสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการประเมินคู่มือการใช้รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพะเยา พบว่าความถูกต้องของคู่มือการใช้รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และความเป็นไปได้ของคู่มือการใช้รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
    3. ผลการทดลองใช้รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพะเยา ผลการสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพะเยาของครูผู้สอนที่สมัครใจเข้าร่วมทดลองและผ่านการอบรมโครงการอบรมรมเชิงปฏิบัติการการจัดการเรียนรู้เชิงรุก พบว่าก่อนการอบรมภาพรวมอยู่ในระดับมาก และหลังการอบรมภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
    4. ผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นประโยชน์ในการนำไปปฏิบัติของรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพะเยา ผลการสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการประเมินความเหมาะสมในการนำไปปฏิบัติของรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ภาพรวมอยู่ในระดับมาก และความเป็นประโยชน์ในการนำไปปฏิบัติของรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^