สถานศึกษาที่ดำเนินกิจกรรมพาน้องกลับมาเรียนดีเด่น ปีการศึกษา 2565
๑. ชื่อโครงการ ติดตาม ค้นหาเด็กตกหล่นและเด็กออกกลางคันให้กลับเข้าสู่ระบบการศึกษา
“พาน้องกลับมาเรียน
๒. ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงเรียนอนุบาลกบินทร์บุรี
๓. ระยะเวลาการดำเนินโครงการ
๑. ระยะที่ ๑ - ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕
๒. ระยะที่ ๒ กุมภาพันธ์ - มีนาคม ๒๕๖๕
๓. ระยะที่ ๓ เมษายน ๒๕๖๕
๔. ระยะที่ ๔ -๑๖ พฤษภาคม ๒๕๖๕
๔. งบประมาณ
-ไม่ใช้งบประมาณในการจัดโครงการ
๕. ผลการดำเนินงานในภาพรวม
๑.เชิงปริมาณ กลุ่มเป้าหมายที่ดำเนินการติดตามค้นหาจำนวน 6 คน
๒.เชิงคุณภาพ สถานศึกษาสามารถติดตามได้ครบถ้วนทุกคน และนำกลับเข้าสู่ระบบการศึกษาได้ จำนวน ๓ คน คิดเป็น ร้อยละ ๕๐
๖. วิธีการดำเนินงาน
กิจกรรมที่จัด ระยะเวลาดำเนินงาน ผู้รับผิดชอบ
ขั้นการวางแผน ( P)
๑.ประชุมรับนโยบาย เรื่องการติดตามค้นหาเด็กตกหล่นและเด็กออกกลางคัน เพื่อนำกลับเข้าสู่ระบบการศึกษา
๒. ประชุมมอบนโยบายแก่คณะครู ๒๙ เมษายน ๒๕๖๕
โรงเรียนอนุบาลกบินทร์บุรี
ขั้นดำเนินงาน ( D)
๑. แจ้งบัญชีรายชื่อเด็กตกหล่นและออกกลางคันและแนวทางการติดตาม ค้นหาให้สถานศึกษาในสังกัดทราบ
๒. แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินโครงการติดตาม ค้นหาเด็กตกหล่น เด็กออกกลางคัน เพื่อนำกลับเข้าสู่ระบบการศึกษา “พาน้องกลับมา เรียน”
๓. จัดตั้งกลุ่มไลน์ “พาน้องกลับมาเรียน”
๔. ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ https://dropout.edudev.in.th/ เพื่อบันทึกข้อมูลการติดตาม ค้นหาเด็กตกหล่น ออกกลางคันตาม รายชื่อ และดาวโหลดแอพลิเคชั่น “พาน้องกลับมาเรียน” เพื่อปักหมุดและบันทึกผลการติดตามค้นหา ฯ
๕. สถานศึกษาลงพื้นที่ติดตาม ค้นหา เด็กตกหล่นและออกกลางคัน และรายงานผลทางระบบ https://dropout.edudev.in.th/ และทางแอพลิเคชั่น“พาน้องกลับมาเรียน”
๓ มิถุนายน ๒๕๖๕
๘ มิถุนายน ๒๕๖๕
๘ กรกฎาคม ๒๕๖๕
โรงเรียนอนุบาลกบินทร์บุรี
ขั้นประเมินผล (C)
๑.ประเมินผลการออกติดตาม ค้นหา เด็กตกหล่น ออกกลางคัน ทางระบบ https://dropout.edudev.in.th/ และทางแอพลิเคชั่น “พาน้องกลับมาเรียน” ระดับเขตพื้นที่การศึกษา เมษายน ๒๕๖๖
ขั้นสรุป/รายงานผล (A)
๑.สรุปและรายงานผลการติดตาม ค้นหา เด็กตกหล่นและออก กลางคัน จำนวน ๖ คน ทางระบบ https://dropout.edudev.in.th/
และทางแอพลิเคชั่น เมษายน ๒๕๖๖
๗. สรุปผลการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์และเป้าหมาย
เด็กตกหล่นและออกกลางคัน โรงเรียนอนุบาลกบินทร์บุรี จำนวน 6 คน มีผลการติดตาม ค้นหา ครบถ้วน ๖ คน คิดเป็น ร้อยละ ๑๐๐
๘. ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินโครงการ
๘.๑ บัญชีรายชื่อเด็กตกหล่นและออกกลางคันบางรายซ้ำซ้อนกัน
๘.๒ รายชื่อเด็กบางราย โรงเรียนแจ้งว่าได้จำหน่ายออกไปจากระบบของโรงเรียนแล้ว แต่ยังคงปรากฏชื่อ
๘.๓ ไม่สามารถปักหมุดพิกัดเด็กได้ เนื่องจากพื้นที่บางแห่งไม่มีสัญญาณโทรศัพท์มือถือ
๘.๔ ผู้ติดตาม ค้นหานักเรียน บันทึกข้อมูลการติดตามทางระบบหรือแอพลิเคชั่นไม่ครบถ้วน
๘.๕ ห้วงเวลาออกติดตาม ค้นหา ครูบางรายไม่สามารถลงพื้นที่ได้ เนื่องจากกักตัวและอยู่ระหว่างช่วง ปิดภาคเรียน
๘.๖ นักเรียนบางรายที่ไม่พบตัว ไม่มีผู้อยู่อาศัย และไม่มีข้อมูลหรือเบอร์โทรศัพท์สำหรับการติดต่อ หรือข้อมูล ผู้ปกครองบางรายไม่สามารถติดต่อตามหมายเลขโทรศัพท์ที่ให้ไว้ได้
๘.๗ ข้อมูลนักเรียนหลายราย ซึ่งเมื่อโรงเรียนดำเนินการติดตาม ค้นหา ปรากฏว่าเข้าเรียนโรงเรียนในสังกัดอื่น เรียบร้อยแล้ว
๙. ข้อเสนอแนะ
๙.๑ ปรับปรุงข้อมูลเด็กตกหล่น ออกกลางคันให้มีความเป็นปัจจุบัน และไม่ซ้ำซ้อน
๙.๒ การพัฒนาโปรแกรมหรือระบบการบันทึกข้อมูล ควรมีความเสถียรและมีเมนูที่ต้องการข้อมูลให้บันทึก ครบถ้วนทุกหัวข้อ
โครงการ โครงการค้นหา ติดตาม เด็กตกหล่นและเด็กออก เพื่อนำเข้าสู่ระบบการศึกษา
ปีการศึกษา ๒๕๖๕ “พาน้องกลับมาเรียน”
หน่วยงานที่รับผิดชอบ โรงเรียนอนุบาลกบินทร์บุรี
ผู้รับผิดชอบ โรงเรียนอนุบาลกบินทร์บุรี
ลักษณะโครงการ ใหม่
ระยะเวลาดำเนินการ มกราคม – พฤษภาคม ๒๕๖๕
ความสอดคล้องกับนโยบาย สพฐ. : ด้านการสร้างโอกาสในการเข้าถึงบริการการศึกษาที่มีคุณภาพ มี มาตรฐาน และการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา
ความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ สพป.ปราจีนบุรี เขต 2
ส่วนที่ 1 ความเชื่อมโยง/ความสอดคล้องกับแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ : M1
(หลัก) ยุทธศาสตร์ชาติ (Z) ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม
(1) ประเด็น สร้างความเป็นธรรมในการเข้าถึงบริการสาธารณสุข และการศึกษา โดยเฉพาะสำหรับผู้มี รายได้น้อยและกลุ่มผู้ด้อยโอกาส
(2) เป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติ สร้างความเป็นธรรม และลดความเหลื่อมล้ำในทุกมิติ
(3) ความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ
(หลัก) แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (Y)
ประเด็นที่ ความเสมอภาคและหลักประกันทางสังคม
๑) เป้าหมายระดับประเด็น (Y2) คนไทยทุกคนได้รับการคุ้มครองและมีหลักประกันทางสังคม
2) ความสอดคล้องกับแผนแม่บท
๑. เพื่อลดสิ่งรบกวนการเรียนรู้ของเด็กนักเรียน ให้นักเรียนมีความ พร้อมสำหรับการเรียนรู้
๒. เพื่อดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างมีระบบ ทั่วถึง ทันเวลาและถูกวิธี
๓.เพื่อให้ครูมีข้อมูลและ รู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล
4.เพื่อสร้างและพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือในการดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้มีความเข้มแข็ง ระหว่างสถานศึกษา ชุมชน ผู้ปกครอง นักเรียนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
3) ตัวชี้วัดของแผนแม่บท xxxส่วนประชากรไทยทั้งหมดที่ได้รับความคุ้มครอง
๔) แผนย่อยของแผนแม่บทฯ มาตรการแบบเจาะจงกลุ่มเป้าหมายเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะกลุ่ม
๕) แนวทางการพัฒนา
๑.จัดให้มีระบบและกลไกในการให้ความช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมาย โดยพัฒนา ระบบและกลไกในการให้ความช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษเพื่อให้สามารถให้ความช่วย เหลอกับกลุ่มเป้าหมายที่
๓หลากหลายและครอบคลุมกลุ่ม อาทิ ทั้งเด็ก สตรี ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีความบกพร่องทางร่างกาย เหยื่อ ของความรุนแรงต่างๆและการค้ามนุษย์ แรงงานในภาคการผลิตที่มีความเสี่ยง ผู้ติดเชื้อ และบุคคลที่ต้องการการดูแลเป็น พิเศษ
๖) เป้าหมาย
มีระบบและกลไกในการให้ความช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการความช่วยเหลือเป็น พิเศษได้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น
๗) ความสอดคล้องของโครงการกับเป้าหมายของแผนย่อย
๑. เพื่อลดสิ่งรบกวนการเรียนรู้ของเด็ก นักเรียน ให้นักเรียนมีความพร้อมสำหรับการเรียนรู้
๒. เพื่อดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างมีระบบ ทั่วถึง ทันเวลาและถูกวิธี
๓.เพื่อให้ครูมีข้อมูลและรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล
4.เพื่อสร้างและพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือในการดูแลช่วยเหลือ นักเรียนให้มีความเข้มแข็งระหว่างสถานศึกษา ชุมชน ผู้ปกครอง นักเรียนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
๘) ตัวชี้วัดของแผนย่อย ดัชนีความยากจนแบบหลากหลายมิติของกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการความ ช่วยเหลือ
(หลัก) แผนการปฏิรูปประเทศ ด้านการศึกษา
1) เป้าหมายรวม เด็ก เยาวชน และประชาชน ที่ขาดแคลนทุนทรัพย์หรือด้อยโอกาส ทุกคนมีความ เสมอภาคในโอกาสพัฒนาตนเองตามศักยภาพและเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ รวมถึงเสริมสร้างพัฒนา ครูและสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพและคุณภาพ ตลอดจนวิจัยพัฒนาองค์ความรู้ที่นำไปใช้ได้จริง เพื่อยกระดับความสามารถของคนไทยได้อย่างยั่งยืน
2) เรื่องที่ ๓ การปฏิรูปเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา
3) ประเด็นการปฏิรูปที่ ๓ การปฏิรูปเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา
(หลัก) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ยุทธศาสตร์ที่ ๔.๒ ยุทธศาสตร์การสร้างความเป็น ธรรมและลดความเหลื่อมล้ำในสังคม
๑) เป้าหมายรวม
๒) แนวทางการพัฒนา
๓) นโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล การเตรียมคนไทยสู่ศตวรรษที่ ๒๑
ส่วนที่ 2
สรุปเนื้อหาสำคัญของโครงการ
หลักการและเหตุผล จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19) ที่ยังคงแพร่ระบาด อย่างต่อเนื่องและขยายวงกว้างทุกพื้นที่ในประเทศไทย ทำให้เกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่น ประชาชนไม่สามารถประกอบอาชีพตามปกติได้ ขาดรายได้จากการทำงาน หรือร้านค้าต่าง ๆ ต้องปิดตัวลงด้วยความ จำเป็น ทำให้ประชาชน ผู้ปกครองนักเรียนได้รับความเดือดร้อนเป็นอย่างยิ่ง ทั้งนี้ สถานศึกษาหรือสถาบันการศึกษา ก็ไม่สามารถจัดการเรียนการสอนตามปกติได้ เนื่องจากเป็นมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ ซึ่งกำหนดโดยศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-1๙) จังหวัด ปละคณะกรรมการโรคติดต่อ ที่กำหนดให้สถานศึกษาทุกแห่งจัดการเรียนการสอนรูปแบบต่าง ๆ ประกอบด้วย On-line On-Hand, On-Demand และ On-air ตามความเหมาะสมจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย ซึ่งจากกรณีดังกล่าว ทำให้นักเรียนต้องเรียนอยู่ผ่านระบบออนไลน์อยู่ที่บ้านพัก บางรายต้องออกไปช่วยผู้ปกครองประกอบอาชีพ เพื่อหาเลี้ยงครอบครัวในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 หรือต้องออกจากการระบบศึกษา เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระ ผู้ปกครอง เป็นต้น ทำให้จำเป็นต้องออกกลางคันระหว่างการศึกษารูปแบบออนไลน์
ศูนย์พัฒนาระบบข้อมูลทางการศึกษา สำนักนโยบายและแผน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน ได้ตรวจสอบความซ้ำซ้อนข้อมูลนักเรียนเป็นรายบุคคล จากระบบจัดเก็บข้อมูลนักเรียนรายบุคคล (DMC) ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี ภาคเรียนที่ ๑/๒๕๖๔ ณ วันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๖๔ เปรียบเทียบกับจำนวนนักเรียนในภาคเรียนที่ ๒/๒๕๖๔ ณ วันที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ พบว่ามีนักเรียนที่ต้องค้นหา และติดตามจำนวน ๖ คน
ทั้งนี้ เพื่อให้กระบวนการค้นหาติดตามนักเรียนออกกลางคันเพื่อนำเข้าสู่ระบบการศึกษาดังกล่าว เป็นไปด้วยความเรียบร้อย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 2 จึงจัดโครงการค้นหา ติดตาม เด็กตกหล่น และเด็กอออกกลางคัน เพื่อนำเข้าสู่ระบบการศึกษา ปีการศึกษา ๒๕๖๕ ขึ้น
2) วัตถุประสงค์
๒.๑ เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้ผู้บริหารและครูใน การค้นหา ติดตาม เด็กตกหล่น และเด็กออกกลางคันในสังกัด
๒.๒ เพื่อร่วมกันวางแผนการค้นหาติดตามนักเรียนให้กลับเข้าสู่ระบบการศึกษา
๒.๓ เพื่อให้มีข้อมูลสารสนเทศเด็กออกกลางคันในสังกัดที่เป็นระบบและเป็นปัจจุบัน
๒.๔ เพื่อให้สามารถติดตามนักเรียนกลับเข้าสู่ระบบการศึกษาได้ครบถ้วน
3) เป้าหมาย
๓.๑ เป้าหมายเชิงผลผลิต (Output) นักเรียนตกหล่นและออกกลางคัน จำนวน ๖ คน
๓.๒ เป้าหมายเชิงผลลัพธ์ (Outcome) ผู้บริหารและครูผู้รับผิดชอบ สามารถออกค้นหาและติดตามนักเรียนออกกลางคันตามข้อมูล ที่ได้รับครบถ้วนทุกคนและนำกลับเข้าสู่ระบบการศึกษาได้หรือดำเนินการอื่นตามความเหมาะสม
๓.๓ ดัชนีชี้วัดความสำเร็จ
๓.๓.๑ พบนักเรียนตกหล่นและนักเรียนออกกลางคันครบถ้วนทุกคน
๓.๓.๒ สามารถนำนักเรียนกลับเข้าสู่ระบบการศึกษาได้ อย่างน้อย ๘๐%
๓.๓.๓ นักเรียนในสังกัดออกกลางคันลดลง หรือมีจำนวนเป็น ๐
๔) ผลที่คาดว่าจะได้รับ
๔.๑ ผู้บริหารและครู เข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญในการออกติดตาม เด็กตกหล่นและเด็ก ออกกลางคันในสังกัดตนเอง
๔.๒ โรงเรียนมีแนวทางในการค้นหา ติดตามนักเรียนให้กลับเข้าสู่ระบบการศึกษาในทิศทางเดียวกัน
๔.๓ โรงเรียนอนุบาลกบินทร์บุรี มีข้อมูลสารสนเทศเด็กออกกลางคันในสังกัด ที่เป็นปัจจุบัน
๕) กลุ่มเป้าหมาย/ผู้ที่ได้รับผลประโยชน์ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและนักเรียนทุกคนในโรงเรียนสังกัด
สพป.ปราจีนบุรี เขต 2
๖) ระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดโครงการ เมษายน ๒๕๖๕ – พฤษภาคม ๒๕๖๖
๗) สถานที่ดำเนินโครงการ ณ โรงเรียนอนุบาลกบินทร์บุรี
ส่วนที่ 3 กิจกรรมและงบประมาณ
๘) กิจกรรมและขั้นตอนการดำเนินงาน
กิจกรรม/ขั้นตอนการดำเนินงาน ระยะเวลาดำเนินงาน ผู้รับผิดชอบ
เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ เมษายน ๖๕ โรงเรียนอนุบาลกบินทร์บุรี
แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินโครงการ เมษายน ๖๕ โรงเรียนอนุบาลกบินทร์บุรี
ออกติดตาม ค้นหา เด็กตกหล่น เด็กออกกลางคัน และบันทึกข้อมูลในระบบ - รายงาน/บันทึกผลการติดตาม ค้นหาทางระบบและทาง แอพลิเคชั่น “พาน้องกลับมาเรียน” เม.ย. ๖๕ โรงเรียนอนุบาลกบินทร์บุรี
สรุป/ประเมิน/รายงานผลการจัดโครงการ พ.ค. ๖๕ โรงเรียนอนุบาลกบินทร์บุรี
๙. งบประมาณ
- ไม่ใช้งบประมาณในการดำเนินโครงการ
(ลงชื่อ)................. ..............................ผู้อนุมัติโครงการ
(นายจรูญ สุริรัมย์)
ผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลกกบินทร์บุรี