การพัฒนารูปแบบการเรียนแบบสตอรี่ไลน์โดยใช้เทคโนโลยีเสมือนจริง ในร
หัวข้อการศึกษา การพัฒนารูปแบบการเรียนแบบสตอรี่ไลน์โดยใช้เทคโนโลยีเสมือนจริง ในรูปแบบ
แอพลิเคชั่น AR (Augmented Reality) เรื่องรามเกียรติ์
ตอนนารายณ์ปราบนนทก
ผู้วิจัย นางสาวรัศมี ทองสิงห์
ปีการศึกษา 2566
วัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อ 1) เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพทางการเรียน เรื่องรามเกียรติ์ ตอนนารายณ์ปราบนนทก ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จากการเรียนด้วยรูปแบบการเรียนแบบสตอรี่ไลน์โดยใช้เทคโนโลยีเสมือนจริงในรูปแบบแอพลิเคชั่น AR (Augmented Reality) 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนแบบสตอรี่ไลน์โดยใช้เทคโนโลยีเสมือนจริงในรูปแบบแอพลิเคชั่น AR (Augmented Reality) สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อการเรียนโดยใช้ รูปแบบการเรียนแบบสตอรี่ไลน์โดยใช้เทคโนโลยีเสมือนจริงในรูปแบบแอพลิเคชั่น AR (Augmented Reality) สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 2 การเลือกกลุ่มตัวอย่างเลือกเพียงห้องเดียวโดยใช้วิธีสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในวิจัยมี 4 ชุดด้วยกันคือ 1) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 2) แอพลิเคชั่น AR (Augmented Reality) 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน
การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการเรียนของกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้สถิติทดสอบค่า t (t-test dependent) และประเมินความพึงพอใจของนักเรียนโดยใช้สถิติวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1.การพัฒนาสื่อแอพลิเคชั่น AR (Augmented Reality) เรื่องรามเกียรติ์ ตอนนารายณ์ปราบนนทก มีประสิทธิภาพ 91.00/91.50 สอดคล้องกับเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 90/90
2. คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการเรียนด้วยสื่อแอพลิเคชั่น AR (Augmented Reality) ของกลุ่มตัวอย่างสูงกว่าก่อนการเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05
3. กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุดต่อการเรียนด้วยสื่อแอพลิเคชั่น AR เรื่องรามเกียรติ์ ตอนนารายณ์ปราบนนทก (Augmented Reality) (ค่าเฉลี่ยรวม 4.81)