LASTEST NEWS

27 ก.ค. 2567สพป.แม่ฮ่องสอน เขต 2 เปิดสอบพนักงานราชการ 2 อัตรา วุฒิปริญญาตรีทุกสาขา เงินเดือน 18,000.- บาท สนใจสมัครตั้งแต่วันที่ 1-7 สิงหาคม 2567 27 ก.ค. 2567ไม่ต้องผ่านภาค ก 65 อัตรา วุฒิปริญญาตรีทุกสาขา เงินเดือน 16,830 บาท สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล รับสมัครสอบบรรจุเป็นพนักงาน ตั้งแต่บัดนี้ - 9 สิงหาคม 2567 27 ก.ค. 2567โอกาสมาแล้ว!! น้องนิสิต นักศึกษาครู เชิญทางนี้ กรุงเทพมหานคร เปิดสอบครูผู้ช่วย (โครงการช้อนครู) 322 อัตรา รับสมัคร 30 ก.ค. - 2 ส.ค.2567 27 ก.ค. 2567เมืองพัทยา เปิดสอบผู้ช่วยครูผู้ช่วย จำนวน 17 อัตรา รับสมัคร 1-9 สิงหาคม 2567  26 ก.ค. 2567สพป.นนทบุรี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบ 2 ปี 2567 จำนวน 15 อัตรา - รายงานตัว 6 สิงหาคม 2567 26 ก.ค. 2567สพป.ศรีสะเกษ เขต 4 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 2 จำนวน 11 อัตรา - รายงานตัว 1 สิงหาคม 2567 26 ก.ค. 2567สพป.ปทุมธานี เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 2 จำนวน 5 อัตรา - รายงานตัว 6 สิงหาคม 2567 25 ก.ค. 2567“ศธ.-มท.” เตรียมสุ่มตรวจยาเสพติดโรงเรียน 25 ก.ค. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย บัญชีปี พ.ศ.2566 รอบที่ 7 จำนวน 1 อัตรา - รายงานตัว 1 สิงหาคม 2567 25 ก.ค. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย บัญชีปี พ.ศ.2567 รอบที่ 2 จำนวน 9 อัตรา - รายงานตัว 1 สิงหาคม 2567

การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาครูฯ

usericon

ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้
ที่ส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียน
ผู้วิจัย      นางสาวสุปราณี สงวนรัษฎ์
ปีที่ทำวิจัย     2565

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียน 2) ทดลองใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียน และ 3) ประเมินความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูผู้สอน นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อการพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกข้อเสนอแนะประเด็นต่าง ๆ ตามหัวข้อของรูปแบบ เทปบันทึกการประชุม แบบบันทึกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบประเมินความพึงพอใจ
วิธีดำเนินการวิจัยมี 3 ขั้นตอน ดังนี้ 1) การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียน โดยการศึกษาวิเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ ตรวจสอบความตรง และความเหมาะสมของรูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียน โดยการจัดประชาพิจารณ์ ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญ ตัวแทนครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง และตัวแทนนักเรียน รวมจำนวนผู้เข้าร่วมประชาพิจารณ์ 50 คน 2) การทดลองใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียน โดยดำเนินการทดลองใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนภายในอำเภอโนนสะอาด จังหวัดอุดรธานี 3) ประเมินความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูผู้สอน นักเรียนและผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อการพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียน รวมจำนวนทั้งสิ้น 386 คน

ผลการวิจัยพบว่า
1. การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียน พบว่า มีความตรงและความเหมาะสมมากโดยบูรณาการ 4 กลยุทธ์ ได้แก่ 1) การพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียน (Teacher development : T) 2) การส่งเสริมครูด้านการใช้เทคโนโลยีประกอบการสอน (Teacher develop-ment of using technology for teaching : T) 3) ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional learning community : P) และ 4) การนิเทศภายในสถานศึกษา (Class visit/supervision in the school : C) มีชื่อว่า TTPC Model
2. ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียน พบว่า การพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียน (TTPC Model) ทำให้ครูมีการปรับเปลี่ยนวิธีการสอน สามารถออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนได้อย่างหลากหลาย โดยเน้นนักเรียนเป็นสำคัญ มีการพัฒนา และใช้สื่อประกอบการเรียนการสอน นำกระบวนการวิจัยในชั้นเรียนมาเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการเรียนการสอน และสามารถนำผลการวิจัยไปใช้ในการแก้ปัญหาและพัฒนาการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ การพัฒนาวิธีการเรียนรู้ การพัฒนาสื่อนวัตกรรมและแหล่งเรียนรู้ และการส่งเสริมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพในการจัดการศึกษา ทำให้นักเรียนได้เรียนรู้ตามความสนใจ และความถนัดของตนเอง นักเรียนมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยตนเอง ได้คิด ได้ลงมือปฏิบัติจริง นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ผ่านเกณฑ์ที่ทางโรงเรียนกำหนด และมีทักษะการแก้ปัญหาที่พัฒนาขึ้นกว่าเดิม
3. ผลการประเมินความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูผู้สอน นักเรียนและผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อการพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียน (TTPC Model) พบว่า คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูผู้สอน นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน มีความพึงพอใจต่อการพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนเทศบาลตำบลโนนสะอาดอยู่ในระดับมาก

ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^