ยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนนวัตกรรม Run skill model
ผลจากการจัดทำโครงการนี้ทำให้เห็นได้ชัดว่า โรงเรียนยั่งยืนราษฎร์วิทยา มีค่าพัฒนาที่เพิ่มขึ้นทุกกลุ่มสาระ ซึ่งการออกแบบนวัตกรรมมีขั้นตอนดังนี้
3.1.1 ประชุมวางแผนคณะครู เกี่ยวกับหลักการ วัตถุประสงค์ ขอบเขต ระยะเวลาการดำเนินงานและงบประมาณ ที่สอดคล้องกับนโยบายการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1
3.1.2 กำหนดกรอบแนวคิดของกระบวนการจัดการเรียนรู้ การวางแผนการสร้างนวัตกรรมแนวความคิดหรือหลักการทางวิชาการที่สามารถยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และตรงตามความต้องการของผู้เรียนกับชุมชน
3.1.3 ประชุมแบ่งงานคณะครูศึกษาถึงตัวชี้วัดตามหลักสูตรแกนกลาง วางแนวการใช้นวัตกรรมที่จะสร้างและดำเนินการตามขั้นตอน เช่น วิเคราะห์จุดประสงค์การเรียนรู้ กำหนดและออกแบบชุดการเรียนรู้ด้วยตนเอง ออกแบบสื่อเสริม ลงมือทำ ตรวจสอบคุณภาพ ทดลองใช้ และนำไปใช้เพื่อแก้ปัญหา
3.1.4 การทดลองใช้นวัตกรรม Run Skill Model เพื่อพิสูจน์ว่านวัตกรรมที่สถานศึกษาสร้างขึ้นนั้นเมื่อนำไปใช้จะได้ผลตามที่ต้องการและสามารถแก้ปัญหาในชั้นเรียนหรือพัฒนาผู้เรียนได้จริง
3.1.5 หาประสิทธิภาพของนวัตกรรมที่สถานศึกษาสร้างขึ้น โดยการบรรยายคุณภาพ การคำนวณค่าร้อยละของผู้เรียน หรือค่าเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน
3.1.6 นำโครงการส่งเสริมความเป็นเลิศทางวิชาการ กิจกรรม Run Skill Model เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ลงในแผนปฏิบัติราชการปีการศึกษา 2566 โรงเรียนยั่งยืนราษฎร์วิทยา
3.1.7 กำกับ นิเทศติดตาม วัดผลและประเมินผลประจำทุกเดือน
3.1.8 นำไปพัฒนาต่อยอดสู่กระบวนการ PLC และนำข้อเสนอแนะเหล่านั้นมาปรับปรุงนวัตกรรมให้มีคุณภาพที่เหมาะสม ที่ครูประจำชั้นจะนำไปสู่งานวิจัยในชั้นเรียนได้
รูปแบบกิจกรรม Run Skill Model เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน มุ่งมั่นที่จะพัฒนาผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง ด้วยวิธีการที่หลากหลาย ไม่มีข้อจำกัดในเรื่องพื้นที่ในการจัดการเรียนการสอนและรูปแบบการเรียนรู้ ทั้งนี้ในการดำเนินงานในแต่ละประเด็น จะมีการควบคุมและตรวจสอบคุณภาพการดำเนินงานด้วยหลักการของวงจรคุณภาพ PDCA
ส่วนในด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนโรงเรียนยั่งยืนราษฎร์วิทยาเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยการดำเนินงาน/โครงการ/กิจกรรมอย่างหลากหลาย มุ่งส่งเสริมให้ครูจัดการเรียนการสอนเน้นการปฏิบัติ (Active learning) ให้ผู้เรียนผ่านกระบวนการคิด ปฏิบัติจริง เพื่อนำไปสู่การเรียนรู้ที่ลึกซึ้งและคงทน ตามมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตรสถานศึกษา ให้นักเรียนมีส่วนร่วม ครูรู้จักผู้เรียนเป็นรายบุคคล ดำเนินการตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบ และนำผลมาพัฒนาผู้เรียน รวมทั้งร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และนำผลที่ได้ นำมาปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
รูปแบบนวัตกรรมการพัฒนารูปแบบ Run Skill Model
เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
R : Re - Skills = ขั้นการปรับปรุงทักษะ
คณะครูประชุม PLC ชี้แจง แนวทางการจัดกิจกรรมและการประเมิน โดยขั้นตอนการวางแผน การสอนของคณะครูให้มีความเชื่อมโยงกับความรู้เก่า ๆ ปรับปรุงทักษะของนักเรียนในด้านการอ่านออก เขียนได้ คิดเลขเป็น และลายมือนักเรียน อาจจะมีการทำข้อสอบก่อนเรียน การเล่นเกมก่อนเริ่มบทเรียน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้หรือการถามคำถาม ทำให้ทราบถึงทักษะด้านการอ่านออก เขียนได้ คิดเลขเป็นของนักเรียนเก่ง ปานกลาง และอ่อน ซึ่งโรงเรียนได้นำมาปรับปรุงและพัฒนาแนวทางการดำเนินกิจกรรม
ต่าง ๆ ให้บรรลุวัตถุประสงค์ต่อไป
U : Up - Skills = ขั้นการเพิ่มทักษะ
โรงเรียนกำหนดรูปแบบการจัดกิจกรรมโดยให้คณะครูจัดทำแผนยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบทดสอบประเมิน การอ่าน คิดวิเคราะห์ เขียนในแต่ละระดับชั้น โดยให้คุณครูประจำชั้น
แบ่งเด็กโดยคละกัน จากการประเมินทักษะขั้น Re-Skill ให้ได้ เด็กเก่ง เด็กปานกลาง และเด็กอ่อน คละกลุ่มในการทำกิจกรรมเพื่อเพิ่มทักษะ แล้วดำเนินกิจกรรม Run Skill Model โดยบูรณาการการเรียนรู้แต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ และกำกับ นิเทศติดตาม วัดผลและประเมินผลประจำทุกเดือน
N : New - Skills = ขั้นการสร้างทักษะใหม่
โรงเรียนประเมินผลการจัดการเรียนรู้ว่าเกิดผลอย่างไร ด้วยเครื่องมือการวัดโดยคณะครูเป็นผู้ออกแบบเครื่องมือวัดเอง และนำความรู้ไปประยุกต์ใช้งานเป็นส่วนหนึ่งของการที่จะนำเนื้อหาที่ได้ไปประยุกต์ใช้งานในห้องเรียนหรือชีวิตประจำวันเพื่อสร้างทักษะใหม่ในการอ่านออก เขียนได้ คิดเลขเป็น ซึ่งจะส่งผลต่อการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนแต่ละคน และนำไปพัฒนาต่อยอดสู่กระบวนการ PLC ของสถานศึกษาทุกสัปดาห์ เพื่อนำข้อเสนอแนะเหล่านั้นมาปรับปรุงกิจกรรมให้มีคุณภาพที่เหมาะสม และสามารถนำลงไปสู่วิจัยในชั้นเรียนได้
ส่วนในด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนโรงเรียนยั่งยืนราษฎร์วิทยาเน้นผู้เรียนเป็น
สำคัญ โดยการดำเนินงาน/โครงการ/กิจกรรมอย่างหลากหลาย มุ่งส่งเสริมให้ครูจัดการเรียนการสอนเน้นการปฏิบัติ (Active learning) ให้ผู้เรียนผ่านกระบวนการคิด ปฏิบัติจริง เพื่อนำไปสู่การเรียนรู้ที่ลึกซึ้งและคงทน ตามมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตรสถานศึกษา ให้นักเรียนมีส่วนร่วม ครูรู้จักผู้เรียนเป็นรายบุคคล ดำเนินการตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบ และนำผลมาพัฒนาผู้เรียน รวมทั้งร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และนำผลที่ได้ นำมาปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล