รายงานผลการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
ผู้วิจัย นางสาวนราทิพย์ เจนสัญญายุทธ
สังกัด โรงเรียนกบินทร์วิทยา
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปราจีนบุรี นครนายก
ปีการศึกษา 2565
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อรายงานผลการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนกบินทร์วิทยา โดยใช้รูปแบบการประเมินของ D.L.Stufflebeam ที่เรียกว่า CIPP Model ซึ่งแบ่งการประเมินออกเป็น 4 ด้าน ได้แก่ การประเมินบริบท (Context Evaluation) การประเมินปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) การประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) และการประเมินผลผลิต (Product Evaluation) และประเมินความพึงพอใจของครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียน และผู้ปกครองที่มีต่อโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนกบินทร์วิทยา กลุ่มตัวอย่างจำนวนทั้งสิ้น 350 คน ประกอบด้วย ครู จำนวน 20 คน ใช้ตาราง Krejecie & Morgan ได้มาโดยวิธีสุ่มอย่างง่ายคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 14 คน ได้จากการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง กลุ่มนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 158 คน และกลุ่มผู้ปกครอง 158 คน ซึ่งเป็นนักเรียนและผู้ปกครองของนักเรียนใช้ตาราง Krejecie & Morgan ได้มาโดยวิธีสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วยแบบสอบถาม (Questionnaire) จำนวน 11 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้หาค่าความตรงของเครื่องมือใช้สูตร IOC ใช้ α หาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม
ผลการประเมินพบว่า
1. ด้านบริบท (Context Evaluation) มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยูในระดับมาก มีตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 2 ตัวชี้วัด ดังนี้
1.1 ระดับความต้องการจำเป็นของโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมากที่สุด
1.2 ระดับความเป็นไปได้ของโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมากที่สุด
2. ด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก มีตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 3 ตัวชี้วัด ดังนี้
2.1 ระดับความเหมาะสมของบุคลากร พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมาก
2.2 ระดับความเหมาะสมของงบประมาณ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมาก
2.3 ระดับความเหมาะสมของวัสดุ อุปกรณ์ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมาก
3. ด้านกระบวนการ (Process Evaluation) ค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก มีตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมิน ดังนี้
3.1 ระดับความเหมาะสมของขั้นตอนการดำเนินงาน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน
ในระดับมาก
4. ด้านผลผลิต (Product Evaluation) ค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก มีตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 8 ตัวชี้วัด ดังนี้
4.1 นักเรียนรู้จักตนเองและพึ่งตนเองได้ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมาก
4.2 นักเรียนมีสุขภาพกาย สุขภาพจิตและสุขนิสัยที่ดี พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน
ในระดับมาก
4.3 นักเรียนมีทักษะในการหลีกเลี่ยง ป้องกันภัยอันตรายและพฤติกรรมอันไม่พึงประสงค์ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมาก
4.4 นักเรียนมีเจตคติที่ดีและมีทักษะพื้นฐานในการประกอบอาชีพสุจริต พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมาก
4.5 ระดับความพึงพอใจของครู พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมาก
4.6 ระดับความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ผ่านเกณฑ์
การประเมินในระดับมาก
4.7 ระดับความพึงพอใจของนักเรียน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมาก
4.8 ระดับความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมาก