ชุดฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเรื่อง Charming Phatthalung by ครูโบ
ผู้วิจัย เยาวรัตน์ คงมา
หน่วยงาน วิทยาลัยนาฏศิลปพัทลุง สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม
ปีที่วิจัย ปีการศึกษา 2565
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์ คือ 1) เพื่อการพัฒนาชุดฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ เรื่อง Charming Phatthalung โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ก่อนและหลังเรียนด้วยชุดฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ เรื่อง Charming Phatthalung โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ ด้วยชุดฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ เรื่อง Charming Phatthalung โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 วิทยาลัยนาฏศิลปพัทลุง จำนวน 33 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ ชุดฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ เรื่อง Charming Phatthalung จำนวน 4 เล่ม แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD จำนวน 16 แผน ไม่นับรวมการปฐมนิเทศ และทดสอบการวัดผลก่อนเรียนและ หลังเรียน และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง Charming Phatthalung มีลักษณะเป็นแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยชุดฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ เรื่อง Charming Phatthalung โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD จำนวน 18 ข้อ สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที แบบกลุ่มสัมพันธ์กัน
ผลการวิจัย พบว่า
1. ประสิทธิภาพของชุดฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ เรื่อง Charming Phatthalung โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 วิทยาลัยนาฏศิลปพัทลุง เท่ากับ 82.20 /81.92 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนด
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ เรื่อง Charming Phatthalung โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 วิทยาลัยนาฏศิลปพัทลุง หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ เรื่อง Charming Phatthalung โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 วิทยาลัยนาฏศิลปพัทลุง อยู่ในระดับมากที่สุด