รายงานผลการพัฒนาการนิเทศแบบ NUNAN MODAL เพื่อพัฒนาความสามารถของ
ผู้รายงาน ว่าที่ร้อยตรีหญิงสุวนันต์ สุวรรณรัตน์
ตำแหน่งศึกษานิเทศก์ วิทยฐานะ ศึกษานิเทศก์ชำนาญการ
ปีการศึกษา 2564
รายงานผลการพัฒนาการนิเทศแบบ NUNAN MODAL เพื่อพัฒนาความสามารถของครู ในการพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้พื้นฐานสองภาษา ไทย - มลายูปาตานี เพื่อการใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน สำหรับเด็กปฐมวัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษประถมศึกษายะลา เขต 2 มีวัตถุประสงค์ในการทดลอง ดังนี้ (1). เพื่อศึกษาผลการประเมินความรู้ ความเข้าใจ ความสามารถของครูในการพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้พื้นฐานสองภาษา ไทย - มลายูปาตานี เพื่อการใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน สำหรับเด็กปฐมวัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 2 (2). เพื่อศึกษาพฤติกรรมพัฒนาความสามารถของครูในการพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้พื้นฐานสองภาษา ไทย - มลายูปาตานี เพื่อการใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน สำหรับเด็กปฐมวัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 2 และ(3). เพื่อศึกษาความพึงพอใจของครูที่มีต่อการนิเทศเพื่อพัฒนาความสามารถของครูในการพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้พื้นฐานสองภาษา ไทย – มลายูปาตานีเพื่อการใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน สำหรับเด็กปฐมวัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 2 กลุ่มเป้าหมาย คือ ครูผู้สอนจำนวน 30 คน จากสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 2 ที่ได้เข้าร่วมโครงการส่งเสริมผู้เรียนให้มีคุณลักษณะและทักษะ ความรู้พื้นฐานสองภาษา ไทย - มลายูปาตานี เพื่อการใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน สำหรับเด็กปฐมวัย จำนวน 11 ศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษา ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษา ตัวแปรต้น ได้แก่ กระบวนการนิเทศการสอนแบบ NUNAN MODAL โดยมีกระบวนการ 5 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1) ความต้องการ วัตถุประสงค์ 2) การออกแบบโดยคำนึงถึงความแตกต่าง (บริบท) 3) กลุ่มเครือข่ายในการแลกเปลี่ยนข้อมูล 4) ตรวจสอบและประเมิน 5) การปรับปรุงต่อยอดด้วยการคิดริเริ่มสิ่งใหม่ ตัวแปรตาม ได้แก่ (1). ผลการประเมินความรู้ ความเข้าใจ ความสามารถของครูในการพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้พื้นฐานสองภาษาไทย - มลายูปาตานี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 2 (2). พฤติกรรมพัฒนาความสามารถของครูในการพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้พื้นฐานสองภาษาไทย - มลายูปาตานี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 2 (3.) ความพึงพอใจของครูที่มีต่อการนิเทศเพื่อพัฒนาความสามารถของครูในการพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้พื้นฐานสองภาษา ไทย – มลายูปาตานี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 2 ระยะเวลาในการจัดกระบวนการนิเทศเพื่อส่งเสริมศักยภาพของครูการจัดความรู้พื้นฐานสองภาษา ไทย - มลายูปาตานี เพื่อการใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันสำหรับเด็กปฐมวัย ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2564 เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองและเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ (1). คู่มือการพัฒนาการนิเทศแบบ NUNAN MODAL เพื่อพัฒนาความสามารถของครูในการพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้พื้นฐานสองภาษาไทย - มลายูปาตานี เพื่อการใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันสำหรับเด็กปฐมวัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 2 (2). แบบทดสอบความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ของครูในการพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้พื้นฐานสองภาษา ไทย - มลายูปาตานีเพื่อการใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน สำหรับเด็กปฐมวัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษประถมศึกษายะลา เขต 2 (3). แบบสังเกตพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ของครูในการพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้พื้นฐานสองภาษา ไทย - มลายูปาตานีเพื่อการใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน สำหรับเด็กปฐมวัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษประถมศึกษายะลา เขต 2 และ(4). แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการพัฒนาการนิเทศแบบ NUNAN MODAL เพื่อพัฒนาความสามารถของครูในการพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้พื้นฐานสองภาษา ไทย - มลายูปาตานี เพื่อการใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน สำหรับเด็กปฐมวัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 2 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (Arithimetic:Mean: ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation : S.D.)
ผลการทดลอง พบว่า
(1). ผลการประเมินความรู้ ความเข้าใจ ความสามารถของครูในการพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้พื้นฐานสองภาษา ไทย - มลายูปาตานี เพื่อการใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน สำหรับเด็กปฐมวัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 2 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
(2).พฤติกรรมพัฒนาความสามารถของครูในการพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้พื้นฐานสองภาษา ไทย - มลายูปาตานี เพื่อการใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันสำหรับเด็กปฐมวัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 2 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
(3). ความพึงพอใจของครูที่มีต่อการนิเทศเพื่อพัฒนาความสามารถของครูในการพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้พื้นฐานสองภาษา ไทย – มลายูปาตานีเพื่อการใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน สำหรับเด็กปฐมวัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 2 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด