รายงานการประเมินโครงการนิเทศภายในโรงเรียนชุมแสงชนูทิศ
ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินโครงการการพัฒนาการจัดกระบวนการเรียนรู้
ด้วยการนิเทศภายในโรงเรียนชุมแสงชนูทิศ ปีการศึกษา 2564
ชื่อผู้ประเมิน นางสาวรัชฎาพร สุดเสมา
ปีที่ประเมิน ปีการศึกษา 2564
การประเมินครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการ การพัฒนาการจัดกระบวนการเรียนรู้ด้วยการนิเทศภายในโรงเรียนชุมแสงชนูทิศ ปีการศึกษา 2564 โดยใช้รูปแบบการประเมิน
แบบซิปป์ (CIPP Model) โดยมุ่งประเมิน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อม ด้านปัจจัย
การดำเนินโครงการ ด้านกระบวนการดำเนินโครงการ และด้านผลผลิตของโครงการ ประชากรที่ใช้
ในการประเมินครั้งนี้ ประกอบด้วย คณะกรรมการบริหารโรงเรียน จำนวน 5 คน ครูผู้รับผิดชอบโครงการ จำนวน 3 คน ครูผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 101 คน นักเรียนที่กำลังศึกษาในโรงเรียนชุมแสงชนูทิศ ปีการศึกษา 2564 จำนวน 2,117 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ ได้มา
โดยการใช้วิธีเจาะจง และการกำหนดกลุ่มตัวอย่างจากการคำนวณโดยใช้สูตรของทาโร ยามาเน่ (Yamane, 1973 อ้างใน ธีรวุฒิ เอกะกุล, 2543) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้
เป็นแบบสอบถามเพื่อประเมินโครงการ โดยแบ่งออกเป็น 3 ฉบับ ฉบับที่ 1 สำหรับคณะกรรมการบริหารโรงเรียนและครูผู้รับผิดชอบโครงการ ฉบับที่ 2 สำหรับครูผู้สอนที่เข้าร่วมโครงการ ฉบับที่ 3 สำหรับนักเรียนที่เรียนจากครูผู้สอนที่เข้าร่วมโครงการการพัฒนาการจัดกระบวนการเรียนรู้ด้วย
การนิเทศภายในโรงเรียนชุมแสงชนูทิศ ปีการศึกษา 2564
ผลการประเมิน พบว่า
1. ด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อม (Context Evaluation) ผลการประเมินของคณะกรรมการ
บริหารโรงเรียน และครูผู้รับผิดชอบโครงการ พบว่า วัตถุประสงค์โครงการสอดคล้องกับนโยบาย
ของรัฐและความต้องการของโรงเรียนและชุมชน เมื่อเทียบกับเกณฑ์แล้วโดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด (¯x = 4.93, S.D.=0.06) ผ่านเกณฑ์การประเมิน
2. ด้านปัจจัยการดำเนินโครงการ (Input Evaluation) ผลการประเมิน พบว่า ความพร้อมด้านความสามารถ ความเพียงพอของจำนวนบุคลากร งบประมาณ คู่มือดำเนินโครงการ วัสดุ อุปกรณ์ในการปฏิบัติกิจกรรม ความเหมาะสมของบุคลากร และระยะเวลาในการดำเนินการ เมื่อเทียบกับเกณฑ์แล้ว โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (¯x = 4.92, S.D.=0.07) ผ่านเกณฑ์การประเมิน
3. ด้านกระบวนการดำเนินโครงการ (Process Evaluation) ผลการประเมินของคณะกรรมการ
บริหารโรงเรียนและครูผู้รับผิดชอบโครงการ พบว่า เมื่อเทียบกับเกณฑ์แล้ว โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (¯x = 4.88, S.D.=0.10) ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4. ด้านผลผลิตของโครงการ (Product Evaluation) ผลการประเมินความคิดเห็นของครูผู้เข้าร่วมโครงการ การพัฒนาการจัดกระบวนการเรียนรู้ด้วยการนิเทศภายในโรงเรียนชุมแสงชนูทิศ
ปีการศึกษา 2564 พบว่า ทั้ง 6 ด้าน ประกอบด้วย ด้านการเตรียมการสอนและการเขียนแผน
การจัดการเรียนรู้ ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านการวัดและประเมินผล ด้านการผลิตสื่อ
การเรียนการสอน ด้านการวิจัยในชั้นเรียน ด้านการนิเทศการสอนแบบกัลยาณมิตร พบว่า เมื่อเทียบกับเกณฑ์แล้วโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก (¯x = 4.23, S.D.=0.36) ผ่านเกณฑ์การประเมิน
ผลการประเมินความคิดเห็นของนักเรียนที่เรียนจากครูผู้เข้าร่วมโครงการ การพัฒนาการจัดกระบวนการเรียนรู้ด้วยการนิเทศภายในโรงเรียนชุมแสงชนูทิศ ปีการศึกษา 2564 พบว่า ทั้ง 4 ด้าน ประกอบด้วย ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านการใช้สื่อการสอน ด้านการวัดผลประเมินผล
ด้านการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม พบว่า เมื่อเทียบกับเกณฑ์แล้วโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
(¯x = 3.71, S.D.=0.59) ผ่านเกณฑ์การประเมิน