LASTEST NEWS

23 พ.ย. 2567วิทยาลัยอาชีวศึกษาชลบุรี รับสมัครครูอัตราจ้าง 3 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567โรงเรียนตากพิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกวิทยาศาสตร์ จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 23 พ.ย.-16 ธ.ค.2567 23 พ.ย. 2567สพป.อำนาจเจริญ รับสมัครพนักงานราชการ ตำแหน่งพี่เลี้ยง 5 อัตรา วุฒิม.3-ปวส.ทุกสาขา เงินเดือน 10,430-13,800 บาท สมัครระหว่างวันที่ 2-12 ธันวาคม 2567 23 พ.ย. 2567สพป.อำนาจเจริญ เปิดสอบพนักงานราชการ ตำแหน่งครูผู้สอน 38 อัตรา วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 18,000.-บาท สมัครระหว่างวันที่ 2-12 ธันวาคม 2567 23 พ.ย. 2567#ไม่ต้องผ่านภาค ก กรมทางหลวงชนบท เปิดสอบพนักงานราชการ 111 อัตรา สมัครออนไลน์ ตั้งแต่วันที่ 20 พฤศจิกายน 2567 - 29 พฤศจิกายน 2567 ตลอด 24 ชั่วโมงไม่เว้นวันหยุดราชการ 22 พ.ย. 2567โรงเรียนบ้านผารางวังหม้อ(มิตรประชา) รับสมัครครูผู้สอน วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 5,000 บาท (ห้าพันบาทถ้วน) 22 พ.ย. 2567สพป.ชัยภูมิ เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 6 อัตรา - รายงานตัว 25 พฤศจิกายน 2567 22 พ.ย. 2567สพป.อุดรธานี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 11 อัตรา - รายงานตัว 9 ธันวาคม 2567 22 พ.ย. 2567สพป.พังงา เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 6 จำนวน 5 อัตรา - รายงานตัว 28 พฤศจิกายน 2567 22 พ.ย. 2567สพป.อุบลราชธานี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 55 อัตรา - รายงานตัว 9 ธันวาคม 2567

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์

usericon

ชื่อเรื่อง        การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับแนวการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร (CLT) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
ผู้วิจัย        นางพรรณพัชร เฉลิมพล
ปีที่วิจัย         2564
บทคัดย่อ

    การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับแนวการสอน ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร (CLT) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 2) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับแนวการสอน ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร (CLT) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับแนวการสอน ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร (CLT) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 4) เพื่อประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับแนวการสอน ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร (CLT) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาผลการทดลองใช้และประเมินการจัดการเรียนรู้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนประทาย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับแนวการสอน ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร (CLT) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 2) คู่มือการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับแนวการสอน ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร (CLT) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) แบบทดสอบวัดความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร 5) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับแนวการสอน ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร (CLT) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 6) แบบประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับแนวการสอน ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร (CLT) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์เอกสาร

สรุปผลการวิจัย
    1. ข้อมูลพื้นฐานสำหรับรูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อส่งเสริมความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ดังนี้
    1.1 สภาพการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 3.53 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.62 และสภาพการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ของครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ในองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา กลุ่มที่ 6 มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 3.51 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.57
         1.2 ความต้องการในการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษของครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ พบว่า ต้องการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาความสามารถในการสื่อสาร ซึ่งทำได้โดยการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารผ่านการเผชิญกับเหตุการณ์ สถานการณ์หรือปัญหาด้วยตนเอง กำหนดเรื่องจากใกล้ตัวมองเห็นภาพชัดเจน ให้กับนักเรียนครูเป็นผู้มีบทบาทในการออกแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การจัดกิจกรรมการผู้เรียนมีส่วนร่วม รวมถึงการวัดผลประเมินผลตามสภาพจริง เพื่อส่งเสริมความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร
         1.3 หลักการพัฒนาข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จากผู้เชี่ยวชาญ พบว่า หลักการพัฒนารูปแบบการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ควรจัดกิจกรรมการใช้โดยการสร้างความรู้ด้วยตนเอง เพื่อส่งเสริมความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร เน้นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามกระบวนการโดยครูเป็นผู้มีบทบาทในการออกแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การจัดกิจกรรมการผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง ค้นพบความรู้ สร้างความรู้ด้วยตนเอง และการวัดผลประเมินผลตามสภาพจริง
         1.4 การศึกษาแนวคิดทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาข้อมูลพื้นฐานสำหรับรูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีองค์ประกอบที่เหมาะสมและสอดคล้อง นำมาพัฒนาข้อมูลพื้นฐานสำหรับรูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่สำคัญ คือ แนวการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร (CLT) ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ และความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร พบว่า องค์ประกอบของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ คือ 1.แนวคิดทฤษฎีพื้นฐาน 2.วัตถุประสงค์ 3. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 4. ระบบสังคม 5. หลักการวัดประเมินผล 6. สิ่งสนับสนุนอำนวยความสะดวก และจากการศึกษาแนวคิดทฤษฎีการสอนภาษาอังกฤษ ได้รูปแบบ PSPKS Model ดังนี้คือ ขั้นที่ 1 ขั้นเตรียมความพร้อม (Preparing) ขั้นที่ 2 ขั้นกำหนดเรื่อง (Story) ขั้นที่ 3 ขั้นฝึกปฏิบัติ (Practice ) ขั้นที่ 4 ขั้นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Knowledge Sharing ) และขั้นที่ 5 ขั้นการสรุปและนำเสนอ (Summary and Present)
        2. ผลการสร้างและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับแนวการสอน ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร (CLT) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ดังนี้
            2.1 รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับแนวการสอน ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร (CLT) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 คือ รูปแบบ PSPKS Model ผ่านการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญ มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.71 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.44
                 2.2 ผลการประเมินแผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับแนวการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร (CLT) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ผ่านการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญ มีความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.73 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.34
            2.3 ผลการหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับแนวการสอน ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร (CLT) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 พบว่า ทดลองใช้กับนักเรียนแบบเดี่ยว (1:1) จำนวน 3 คน ประสิทธิภาพของรูปแบบ มีค่าเท่ากับ 74.17/72.22 แบบกลุ่ม (1:10) จำนวน 9 คน ประสิทธิภาพของรูปแบบ มีค่าเท่ากับ 76.67/75.56 แบบภาคสนาม 1:100 จำนวน 30 คน ประสิทธิภาพของรูปแบบ มีค่าเท่ากับมีค่าเท่ากับ 80.83/80.11ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80
         3. ผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับแนวการสอน ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร (CLT) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ดังนี้
                3.1 ประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับแนวการสอน ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร (CLT) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีค่าเท่ากับ 81.48/80.74
                3.2 การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ของนักเรียนที่ได้เรียนรู้ โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับแนวการสอน ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร (CLT) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผลการเปรียบเทียบความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ของนักเรียนที่ได้จัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับแนวการสอน ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร (CLT) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
    3.3 นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการรู้ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับแนวการสอน ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร (CLT) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.78 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.42
    4. ผลการประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับแนวการสอน ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร (CLT) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย ( ) 4.82 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.39 ซึ่งผลการประเมินเมื่อเทียบกับเกณฑ์ โดยรวม ผ่าน
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^