การพัฒนาแผ่นวัสดุดูดซับคาร์บอนมอนอกไซด์กันลามไฟจากผงถ่านไม้ไผ่
และผงดินขาวธรรมชาติ
Development of fire-retardant carbon monoxide absorbent sheets from
bamboo charcoal powder and natural kaolin powder
ผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์ : 1. นายรัตนชัย สอนจิตร
2. นายสุจิณดา บุญมี
3. นายกฤษฏ์ ดอนแก้วภู่
4. นายณฐพล วีระยุทธศิลป์
ครูที่ปรึกษา : 1. นายทัชพงษ์ จันทร์ลี
2. นายดนัย เพียรค้า
3. นางสาวพิมลพรรณ พิมพ์ศิริ
สถานศึกษา : วิทยาลัยเทคนิคปราจีนบุรี
บทคัดย่อ
การพัฒนาแผ่นวัสดุดูดซับคาร์บอนมอนอกไซด์กันการลามไฟจากผงถ่านไม้ไผ่และผงดินขาวธรรมชาติ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสม ความหนา ขนาดของแผ่นวัสดุดูดซับคาร์บอนมอนอกไซด์กันลามไฟ อายุการใช้งาน ความสามารถในการติดไฟ คุณสมบัติตามมาตรฐาน มอก. 535- 2527 และศึกษาความเป็นไปได้ในการนำแผ่นวัสดุดูดซับคาร์บอนมอนอกไซด์กันการลามไฟจากผงถ่านไม้ไผ่และผงดินขาวธรรมชาติไปใช้งาน
จากการศึกษาพบว่า สูตรที่ 2 ที่ความหนา 7 mm มีค่าเฉลี่ยร้อยละความเข้มข้นก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ที่แผ่นวัสดุดูดซับสูงที่สุด เท่ากับร้อยละ 71.00 และหลังผ่านแผ่นวัสดุดูดซับ เท่ากับ 29.00 ppm ไม่เกินมาตรฐานการปล่อยคาร์บอนมอนอกไซด์ เมื่อทดสอบความสามารถในการติดไฟมีค่าเฉลี่ยระยะเวลาในการเผาไหม้จนไฟดับด้วยตัวเอง และไม่มีลูกไฟเกิดขึ้นในการเผาแนวตั้ง เท่ากับ 3.83 วินาที จัดอันดับการเผาไหม้ เป็น V-0 และอัตราการเผาไหม้เฉลี่ยในการเผาแนวนอน ไม่เกิดการเผาไหม้ และมีคุณสมบัติผ่านเกณฑ์มาตรฐานอุตสาหกรรม ได้แก่ ความหนาแน่น 342.86 kg/m3 ค่าการดูดซึมน้ำ คือ 8.03 % และ ค่าทนแรงดึงสูงสุด คือ 2,667 N ที่ขนาดของแผ่น 1.25x1 cm2 มีค่าเฉลี่ยร้อยละความเข้มข้นก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ที่แผ่นวัสดุดูดซับสูงที่สุด เท่ากับร้อยละ 74.33 และหลังผ่านแผ่นวัสดุดูดซับ เท่ากับ 25.67 ppm ไม่เกินมาตรฐานการปล่อยคาร์บอนมอนอกไซด์ และที่น้ำหนัก 450 กรัม มีค่าเฉลี่ยการใช้งานได้เท่ากับ 3 ชั่วโมง และมีความเป็นไปได้ใน การนำแผ่นวัสดุดูดซับคาร์บอนมอนอกไซด์กันการลามไฟจากผงถ่านไม้ไผ่และผงดินขาวธรรมชาติไปใช้งาน ได้แก่ ช่วยให้ปริมาณก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ลดลง กันการลามไฟได้ดี ใช้งานได้สะดวก และที่น้ำหนัก 450 กรัม ราคา 3.42 บาท มีความเหมาะสมในการผลิตในเชิงพาณิชย์ และควรส่งเสริมให้เป็นอาชีพแก่ชุมชนในการสร้างงาน สร้างรายได้