การบริหารจัดการศึกษาระดับปฐมวัย BNL ONE TEAMWINS MODEL
1.1 จุดประสงค์
1) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการศึกษาระดับปฐมวัย แบบมีส่วนร่วม (Participative Management) : โดยใช้รูปแบบ BNL ONE TEAMWINS MODEL อย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดการยอมรับ(Good School)
2) เพื่อส่งเสริมให้ผู้บริหาร ครูผู้สอน ผู้ปกครอง ชุมชน คณะกรรมการสถานศึกษา เข้ามามีส่วนคิด ตัดสินใจ ร่วมวางแผนร่วมทำงาน และตกลงใจร่วมกันในการบริหารจัดการศึกษาระดับปฐมวัย แบบมีส่วนร่วม (Participative Management) : โดยใช้รูปแบบ BNL ONE TEAMWINS MODEL ให้บรรลุเป้าหมาย (Good team)
3) เพื่อส่งเสริมให้ครูผู้สอนมีความรู้ ทักษะและกระบวนการในการจัดประสบการณ์สำหรับนักเรียนระดับปฐมวัย โดยใช้กิจกรรมที่หลากหลาย มีเทคนิค วิธีการ มีแนวปฏิบัติในการจัดประสบการณ์ที่เป็นเลิศ (Good teacher)
4) เพื่อส่งเสริมและพัฒนาเด็กปฐมวัย ให้มีพัฒนาทั้งด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคมและสติปัญญา เป็นไปตามเป้าหมายของหลักสูตรสถานศึกษาระดับปฐมวัย โรงเรียนบ้านนาหลวง(ประชาพัฒนา) และเป็นไปตามมาตรฐานการศึกษา ระดับปฐมวัย พ.ศ. 2561 (Good student)
1.2 เป้าหมาย
1.2.1 เป้าหมายเชิงปริมาณ
1.ผู้บริหาร ครูผู้สอน ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษา ร้อยละ 80 มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาปฐมวัย ร่วมคิด ตัดสินใจ วางแผน ขับเคลื่อนการบริหารจัดการศึกษาระดับปฐมวัย แบบมีส่วนร่วม (Participative Management) : โดยใช้รูปแบบ BNL ONE TEAMWINS MODEL ให้บรรลุเป้าหมาย (Good team)
2.ครูผู้สอนร้อยละ 100 มีความรู้ ทักษะและกระบวนการในการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กโดยใช้กิจกรรมที่หลากหลาย น่าสนใจ เน้นให้เด็กมีส่วนร่วม ลงมือปฏิบัติจริง (Active Learning) (Good teacher)
3.เด็กปฐมวัย ร้อยละ 80 มีพัฒนาการทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคมและสติปัญญา และมีทักษะกระบวนการคิด ผ่านเกณฑ์ตามหลักสูตรสถานศึกษาระดับปฐมวัย โรงเรียนบ้านนาหลวง(ประชาพัฒนา) และเป็นไปตามมาตรฐานการศึกษา ระดับปฐมวัย พ.ศ. 2561 (Good student)
1.2.2 เป้าหมายเชิงคุณภาพ
สถานศึกษามีกระบวนการบริหารจัดการศึกษาระดับปฐมวัย แบบมีส่วนร่วม (Participative Management) โดยใช้รูปแบบ BNL ONE TEAMWINS MODEL ที่มีประสิทธิภาพ สร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้ปกครอง ชุมชน คณะกรรมการสถานศึกษา โดยมีความพึงพอใจในระดับ “พึงพอใจมาก”ขึ้นไป (Good School)
3.กระบวนการผลิตผลงาน หรือขั้นตอนการดำเนินงาน
กระบวนการพัฒนา การบริหารจัดการสถานศึกษา แบบมีส่วนร่วม (Participative Management) : ด้วยรูปแบบ BNL ONE TEAMWINS MODEL ได้ดำเนินการบนพื้นฐานการมีส่วนร่วมของบุคลากรที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน คือ ผู้บริหาร ครูผู้สอน ผู้ปกครองนักเรียน ตัวแทนชุมชน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยเริ่มจากผู้บริหารสถานศึกษาศึกษาทฤษฎี แนวคิดการบริหารแบบมีส่วนร่วม (Participative Management) จากนั้นผู้มีส่วนได้เสียร่วมกันสังเคราะห์สภาพของปัญหา ความต้องการพัฒนา จุดแข็ง และจุดอ่อนของโรงเรียน โดยพิจารณาจากรายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR) ปีการศึกษาที่ผ่านมา และร่วมกันกำหนดบายที่จะดำเนินการพัฒนาการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยให้มีประสิทธิภาพ และเกิดความเชื่อมั่น โดยร่วมกันวิเคราะห์นโยบายของหน่วยงานต้นสังกัด เช่น ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง นโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ 2566 และนโยบายและจุดเน้น. “สพฐ. วิถีอนาคต วิถีคุณภาพ” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อนำมากำหนดเป็นนโยบายการพัฒนาการบริหารจัดการศึกษาระดับปฐมวัย โดยมีจุดเน้นในการพัฒนา 4 เรื่อง คือ 1.เปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาระดับปฐมวัย ให้บรรลุเป้าหมาย (Good team) 2.พัฒนาครูผู้สอนให้มีทักษะและกระบวนการในการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กโดยใช้กิจกรรมที่หลากหลาย น่าสนใจ เน้นให้เด็กมีส่วนร่วม(Active Learning) (Good teacher) 3.เด็กปฐมวัย ได้รับการพัฒนาการทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคมและสติปัญญา และมีทักษะกระบวนการคิด ผ่านเกณฑ์ตามหลักสูตรสถานศึกษาระดับปฐมวัย โรงเรียนบ้านนาหลวง(ประชาพัฒนา) และเป็นไปตามมาตรฐานการศึกษา ระดับปฐมวัย พ.ศ. 2561 (Good student) และ 4.สถานศึกษามีกระบวนการบริหารจัดการศึกษาระดับปฐมวัย แบบมีส่วนร่วม (Participative Management) ที่มีประสิทธิภาพ (Good School) โดยใช้การบริหารแบบมีส่วนร่วม (Participative Management) มาเป็นกลไกหลักในการบริหารงาน ประกอบกับการใช้ทฤษฎีระบบ (system theory) ในการกำหนดรูปแบบ แนวทางการบริหารงานการใช้กระบวนการวงจรคุณภาพ P-D-C-A หรือวงจรเดมมิ่ง ในการดูแล ควบคุม และกำกับติดตามการดำเนินงานผ่านกิจกรรมนิเทศภายใน กิจกรรม PLC และกิจกรรม AAR โดยยึดหลักการบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาล ส่งผลให้การดำเนินการบริหารจัดการศึกษาบรรลุตามเป้าหมาย มีรายละเอียดของกระบวนการพัฒนานวัตกรรมการบริหารโรงเรียนให้มีคุณภาพ ดังนี้
1. INPUT (ปัจจัยนำเข้า) ได้แก่
1.1 หลักการบริหารแบบมีส่วนร่วม (Participation Management)
หมายถึง ผู้ปกครอง ชุมชน ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (ทีมสนับสนุน) มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น กำหนดโนบาย ออกแบบรูปแบบการบริหารจัดการศึกษาระดับปฐมวัยให้มีประสิทธิภาพ เกิดประโยชน์ต่อเด็ก
1.2 นโยบายด้านการศึกษา และนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัด (Policy)
หมายถึง ผู้ปกครอง ชุมชน ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (ทีมกำหนดนโยบาย) ได้ดำเนินการประชุม เพื่อดำเนินการวิเคราะห์ถึงนโยบายจุดเน้นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยได้ศึกษานโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน “สพฐ.วิถีใหม่ วิถีคุณภาพ” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 โดยให้ความสนใจนโยบายเร่งด่วน สพฐ. Quick Policy จำนวน 3 ประเด็น คือ ประเด็นที่ 4 การจัดการศึกษาปฐมวัย ประเด็นที่ 5 Active Learning และประเด็นที่ 8 Learning Loss จากนั้นได้ดำเนินการสังเคราะห์ร่วมกับประเด็นจุดข้อควรพัฒนา ในแบบรายงานผลการปฏิบัติงานของสถานศึกษา ระดับปฐมวัย (SAR) ปีการศึกษาที่ผ่านมา กำหนดเป็นนโยบายและทิศทางการพัฒนาการบริหารจัดการศึกษาระดับปฐมวัย ในระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566 - 2570) ดังนี้
1.ส่งเสริม สนับสนุน ให้เด็กปฐมวัยทุกคน ได้รับการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ สร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้และการดูแลปกป้อง เพื่อให้มี่พัฒนาการครบทุกด้าน
2. ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ ผ่านกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม และมีปฏิสัมพันธ์กับกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติที่หลากหลายรูปแบบ (Active Learning) มีการวัดและประเงินผลเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน (Assessment for Learning) เพื่อให้เกิดสมรรถนะกับผู้เรียนทุกระดับ
3.ครูผู้สอนจัดประสบการณ์การเรียนรู้ผ่านการเล่น และการปฏิบัติที่หลากหลายรูปแบบ (Active Learning) ประเมินพัฒนาการเด็กโดยการพัฒนาเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ
4.ส่งเสริม สนับสนุน และเปิดโอกาสให้ทุกฝ่าย มีส่วนร่วม (Participation Management) ในการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยให้มีประสิทธิภาพ
1.3 หลักหารบริหารปัจจัยสู่ความสำเร็จ 4 M's (4 M Management)
หมายถึง การบริหารทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดการพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาปฐมวัย ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ประกอบด้วย
Man คือ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาได้เข้ามามีส่วนคิด ตัดสินใจ ร่วมวางแผน ร่วมทำงาน และตกลงใจร่วมกันในการบริหารโรงเรียนให้บรรลุเป้าหมาย ที่ประกอบด้วย ทีมสนับสนุน ทีมกำหนดนโยบาย และ ทีมขับเคลื่อน
Money คือ งบประมาณที่ใช้ในการบริหาร โรงเรียนบ้านนาหลวง (ประชาพัฒนา) ในxxxส่วนของระดับปฐมวัย ที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณจากเงินอุดหนุนรายหัวนักเรียน และงบประมาณจากการระดมทุนทรัพย์เพื่อใช้พัฒนาการจัดการศึกษาระดับปฐมวัย ให้เกิดประโยชน์ต่อเด็กสูงสุด
Materials คือ สื่อ วัสดุอุปกรณ์ เทคโนโลยี รวมถึงสื่อในท้องถิ่น สื่อจากธรรมชาติที่จำเป็นต่อการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย รวมถึงที่มีการจัดหาที่ความเหมาะสม หลากหลาย และเพียงพอกับความต้องการของเด็ก
Management คือ แนวคิดการบริหารจัดการ ด้านการวางแผน การจัดองค์การ การจัดคน การสั่งการการประสานความร่วมมือ การรายงาน และงบประมาณ มาควบคุมและกำกับดูแลการดำเนินงานภายในของโรงเรียน โดยยึดแนวทางการบริหารจัดการที่ดี (Good Governance) หรือหลักธรรมาภิบาลซึ่งประกอบไปด้วย หลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส หลักการมีส่วนร่วม หลักความรับผิดชอบและหลักความคุ้มค่า
2. PROCESS (กระบวนการ)
สถานศึกษาได้ดำเนินงานตามรูปแบบการบริหารจัดการศึกษาระดับปฐมวัย แบบมีส่วนร่วม (Participative Management) : โดยใช้รูปแบบ BNL ONE TEAMWINS MODEL ซึ่งมีแนวทางการดำเนินงานวงจรบริหารงานคุณภาพ (PDCA) และใช้เครื่องมือในการติดตามผลการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ ผ่านกิจกรรมการบริหารแบบมีส่วนร่วม กิจกรรมการนิเทศภายใน การให้ข้อมูลสะท้อนกลับ และกิจกรรมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) และการทบทวนหลังปฏิบัติงาน (After Action Review : AAR) โดยสรุปขั้นตอนการดำเนินงานได้ ดังนี้
BNL ONE หมายถึง BNL One Team for Success การทำงานเป็นทีมหนึ่งเดียว สู่ความสำเร็จ
ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน บุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครองนักเรียน ชุมชน และคณะกรรมการสถานศึกษา ได้มีโอกาสเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงาน มีบรรยากาศในการทำงานที่เป็นการช่วยเหลือเกื้อxxxลกัน สร้างทีมงานที่มีความเข้มแข็งทางวิชาการ มีคุณภาพและสมรรถนะสูง ส่งเสริมการเรียนรู้ของทีมงานเพื่อขับเคลื่อน จัดการศึกษาระดับปฐมวัยให้มีคุณภาพ บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ ดังนี้
ร่วมใจ (Heart) หมายถึง ความรู้สึกของสมาชิกที่รักและศรัทธาในหัวหน้าทีม งานที่ทำ และเพื่อน ๆ ร่วมทีม มีความเอื้อเสื้อห่วงใยซึ่งกันและกัน มีความเคารพให้เกียรติซึ่งกันและกัน และเกิดความไว้วางใจต่อกัน
ร่วมคิด (Head) หมายถึง การใช้ความคิด เหตุผลให้เพื่อนร่วมงานเชื่อมั่นว่าทำแล้วดี มีประโยชน์ต่อตัวเอง ต่อองค์กร โดยช่วยกันระดมสมอง กำหนด เป้าหมาย วางแผน แบ่งงาน แบ่งหน้าที่
ร่วมทำ (Hand) หมายถึง การร่วมมือ ลงมือทำงานซึ่งได้มีการวางแผนไว้ มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน
T - Technology and Innovation หมายถึง การส่งเสริม สนับสนุน การจัดการศึกษาอย่างสร้างสรรค์ โดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษาที่หลากหลาย ซึ่งมีแนวทางการจัดการศึกษาอย่างสร้างสรรค์ 3 ปัจจัยหลัก ดังนี้
1. Creative Teaching (สอนอย่างสร้างสรรค์) หมายถึง ครูผู้สอนใช้รูปแบบการดำเนินกิจกรรมกิจกรรมการเรียนรู้ Active Learning ที่หลากหลาย เช่น กิจกรรมบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยปะเทศไทย กิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน Project Approach สำหรับเด็กปฐมวัย กิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการอื่นๆ เช่น กิจกรรมฟันน้ำนมชวนปลูกผัก (กิจกรรมเศรษฐกิจพอเพียง) กิจกรรมปลูกพลังบวกสร้างภูมิคุ้มกัน ลดปัจจัยเสี่ยงเหล้าบุหรี่ สำหรับเด็กปฐมวัย (สนองโครงการสถานศึกษาสีขาว) กิจกรรมต้นกล้ารักษ์สิ่งแวดล้อม (สนองโครงการโรงเรียนปลอดขยะ) โดยทุกกิจกรรมมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างทัศนคติที่ดีด้านการเรียนรู้ รวมถึงพัฒนาการสำคัญ 4 ด้านสำหรับเด็ก
2. Creative Media & Method (สื่อและรูปแบบการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ ทันสมัย) ครูผู้สอนเลือกใช้สื่อของจริง สื่อการสอนที่สร้างสรรค์ ไม่ว่าจะเป็น เกม, Social Network, You Tube, Google VDO ฯลฯ หรือวิธีการที่หลากหลาย เพื่อเป็นการเพิ่มทางเลือกการบริโภคสื่อที่ดีให้กับเด็ก ตลอดจนเป็นการกระตุ้นให้เด็กสนใจต่อสื่อที่ดี ๆ มากขึ้น โดยนำเสนอในรูปแบบที่เด็กสามารถเข้าใจได้ง่าย สนุก และทันสมัย สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการเสาะแสวงหาความรู้ได้ในอนาคต
3. Creative Environments (บรรยากาศสร้างสรรค์) สถานศึกษา ครูผู้สอน สามารถจัดสภาพบรรยากาศห้องเรียนและแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก เมื่อสภาพแวดล้อมสร้างสรรค์ จะเอื้อผลที่ดีให้กับ Creative Teaching และ Creative Media โดยได้รับความร่วมมือจากผู้ปกครอง ชุมชน และคณะกรรมการสถานศึกษาเข้ามาให้ความช่วยเหลือ และประเมินความพร้อมก่อนเปิดเรียนทุกปีการศึกษา
E - Envision มองภาพอนาคตร่วมกัน หมายถึง ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน บุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครองนักเรียน ชุมชน และคณะกรรมการสถานศึกษา ร่วมกันกำหนดวิสัยทัศน์ ภาพอนาคตที่ชัดเจน เป็นไปได้ ยึดหลักกระบวนการบริหารโรงเรียนแบบมีส่วนร่วม (Participative Management) เปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องร่วมแสดงความคิดเห็น สะท้อนกลับ เพื่อเป็นข้อมูลในการพัฒนาสถานศึกษา พัฒนาเด็กปฐมวัยไปในทิศทางที่ควร
A - Activities การจัดกิจกรรมที่หลากหลาย หมายถึง ส่งเสริม สนับสนุน การจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาการของเด็ก สนองตามวิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าหมายตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 และหลักสูตรสถานศึกษาระดับปฐมวัย โดยจัดประสบการณ์เล่นและเรียนรู้อย่างหลากหลาย เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและสนองความต้องการ ความสนใจ ความแตกต่างระหว่างบุคคลและตามสภาพแวดล้อมของสังคมที่เด็กอยู่อาศัย จัดให้เด็กได้รับการพัฒนา โดยให้ความสำคัญกับกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาการของเด็ก เน้นการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ (Integrate Teaching) จัดประสบการณ์เสริม โดยใช้รูปแบบโครงงาน จัดประสบการณ์การสอนแบบโครงการ ( Project Approach) การเรียนรู้แบบลงมือกระทำ (Active Learning) และกิจกรรมเสริมพัฒนาการอื่นๆ โดยโรงเรียนได้ดำเนินการเป็นขั้นตอน ดังนี้
1) ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน บุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครองนักเรียน ชุมชน และคณะกรรมการสถานศึกษา ร่วมกันออกแบบ กำหนดกิจกรรมการพัฒนาการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย
2) พัฒนาครูผู้สอนปฐมวัยเข้าร่วมอบรม สัมมนา ในหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับการจัดกิจกรรม การจัดประสบการณ์ที่เหมาะสมและหลากหลายแก่เด็กปฐมวัย และสามารถเขียนแผนจัดประสบการณ์แบบบูรณาการได้
3) จัดกิจกรรมเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน เน้นการลงมือกระทำ (Active Learning) เช่น กิจกรรมบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยปะเทศไทย กิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน Project Approach สำหรับเด็กปฐมวัย กิจกรรมฟันน้ำนมชวนปลูกผัก (กิจกรรมเศรษฐกิจพอเพียง) กิจกรรมปลูกพลังบวกสร้างภูมิคุ้มกัน ลดปัจจัยเสี่ยงเหล้าบุหรี่ สำหรับเด็กปฐมวัย (สนองโครงการสถานศึกษาสีขาว) กิจกรรมต้นกล้ารักษ์สิ่งแวดล้อม (สนองโครงการโรงเรียนปลอดขยะ) เป็นต้น
4) ปรับปรุงสภาพแวดล้อม อาคารเรียน ห้องเรียน ลานกิจกรรมเคลื่อนไหว เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย เสริมสร้างทักษะทั้ง 4 ด้าน
M - Measurable and Evaluation การประเมินสรุปและรายงานผล หมายถึง สถานศึกษามีระบบนิเทศติดตามที่มีประสิทธิภาพ โดยการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้อง อย่างต่อเนื่อง มีการกำหนดปฏิทินที่ชัดเจน ดำเนินการประเมิน สรุปและรายงานผลการดำเนินงานอย่างสม่ำเสมอ เปิดโอกาสให้ผู้ปกครอง ชุมชน คณะกรรมการสถานศึกษา รวมถึงศึกษานิเทศก์ประจำกลุ่มเครือข่ายการศึกษาเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมนิเทศ เพื่อให้งานมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล อีกทั้งใช้วิธีการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) และกิจกรรมการทบทวนหลังปฏิบัติงาน (After Action Review : AAR) เพื่อพัฒนา ต่อยอดงานสู่ความสำเร็จ
W - Willful มุ่งมั่นตั้งใจทำงานอย่างเต็มศักยภาพ หมายถึง ผู้บริหารเป็นแบบอย่างในการทำงาน มีความมุ่งมั่น ตั้งใจ มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน ตลอดจนสร้างวัฒนธรรมการทำงาน “เต็มที่ เต็มกำลัง เต็มเวลา” ให้เกิดกับบุคลากรในโรงเรียน และที่สำคัญ คือ ไม่เกี่ยงงาน ปฏิบัติงานด้วยความสามารถ เพื่อประโยชน์สูงสุดแก่เด็ก
I – Improvement & E-Portfolio พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอและมีข้อมูลสะท้อนกลับหมายถึง การเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องเมื่อมีโอกาส นำความรู้ ประสบการณ์ที่ได้รับมาปรับใช้ เพื่อพัฒนาด้านการบริหารจัดการ ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การจัดประสบการณ์แก่เด็ก รวมถึง สร้าง พัฒนา ฐานข้อมูลที่จำเป็น ได้แก่ ข้อมูลเด็ก ผลงานของเด็ก การจัดกิจกรรมพัฒนาทักษะและพัฒนาการของเด็ก ผ่านระบบเทคโนโลยี (E-Portfolio หรือ E-Classroom) เผยแพร่ประชาสัมพันธ์แก่ผู้ปกครอง หรือผู้ที่สนใจ ให้มีส่วนร่วมอย่างสม่ำเสมอ
N - Network and Communication การเป็นเครือข่ายที่มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกันสม่ำเสมอหมายถึง สร้างเครือข่ายการจัดการศึกษาปฐมวัย แบบมีส่วนร่วม ประกอบด้วย ผู้บริหาร ครูผู้สอน ผู้ปกครองนักเรียน ชุมชน และคณะกรรมการสถานศึกษา แลกเปลี่ยน เรียนรู้ แบ่งปันแนวคิดในการพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาปฐมวัยสู่ความสำเร็จ ผ่านรูปแบบกิจกรรมที่หลากหลาย เช่น กิจกรรมประชุมผู้ปกครอง กิจกรรมเปิดบ้านวิชาการ หรือกิจกรรมอื่นๆ รวมถึงช่องทางการติดต่อทั้งในรูปแบบ On-Site Online เป็นต้น
S - Service Mind การมีจิตมุ่งบริการ หมายถึง ผู้บริหารเป็นแบบอย่างในการวางตนให้เหมาะสม คิดถึงผลประโยชน์ของเด็ก ผู้ปกครอง และผู้มีส่วนได้เสียในระยะยาว และพร้อมที่จะปรับเปลี่ยนวิธีหรือขั้นตอนการให้บริการ เพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้รับบริการ เป็นที่ปรึกษาแก่ครู บุคลากร ที่มีส่วนช่วยในการตัดสินใจที่ผู้รับบริการไว้วางใจ ผ่านกิจกรรมที่หลากหลาย เช่า กิจกรรมการประชุมเครือข่ายผู้ปกครองนักเรียน กิจกรรมสัมพันธ์ชุมชน กิจกรรมเยี่ยมบ้านนักเรียน เป็นต้น
3. OUTPUT (ผลผลิต)
จากปัจจัยนำเข้า สู่กระบวนการและวิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ การบริหารจัดการศึกษาระดับปฐมวัย แบบมีส่วนร่วม โดยใช้รูปแบบ BNL ONE TEAMWINS ผ่านกระบวนการ ขั้นตอนที่มีประสิทธิภาพ (PDAC) และการดำเนินการติดตามด้วยกิจกรรมนิเทศภายใน PLC และ AAR ส่งผลให้เกิดผลผลิตที่กำหนดไว้ ดังนี้
3.1 GOOD TEAM หมายถึง ผู้บริหาร ครูผู้สอน ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาปฐมวัย ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.2 GOOD TEACHER หมายถึง ครูผู้สอน มีความรู้ ทักษะและกระบวนการในการจัดประสบการณ์สำหรับเด็ก ด้วยกิจกรรม Active Learning ที่หลากหลาย ส่งผลต่อพัฒนาการของเด็ก
3.3 GOOD STUDENT หมายถึง เด็กปฐมวัย ได้รับการพัฒนาทักษะ พัฒนาการอย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้มีพัฒนาการทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจสังคมและสติปัญญา ผ่านเกณฑ์ตามหลักสูตร
โดยผลผลิตทั้ง 3 ข้อจะนำไปสู่ผลลัพธ์ OUTCOME คือ
GOOD SCHOOL หมายถึง โรงเรียนมีรูปแบบการบริหารจัดการศึกษาระดับปฐมวัยที่มีประสิทธิภาพ สร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้ปกครอง ชุมชน คณะกรรมการสถานศึกษา และเป็นที่ยอมรับในระดับต่างๆ