ต้นกล้าความดี น้อมนำพระบรมราโชบายฯ สู่วิถีคนดีที่ยั่งยืน ด้วยรูป
ด้าน วิถีคนดี : มีทัศนคติที่ถูกต้องต่อบ้านเมือง
วิถีคนดี : มีทัศนคติที่ถูกต้องต่อบ้านเมือง
มีคุณธรรมนำชีวิต : มีพื้นฐานชีวิตที่มั่นคง - มีคุณธรรม
หนึ่งนักเรียน หนึ่งอาชีพ : มีงานทำ - มีอาชีพ
จิตอาสาด้วยหัวใจ : การเป็นพลเมืองดี
ชื่อสถานศึกษา โรงเรียนบ้านนาเวียง(วรพจนานุสรณ์)
ขนาดโรงเรียน
ขนาดใหญ่/ขนาดใหญ่พิเศษ
ขนาดกลาง
ขนาดเล็ก
สังกัด สพป. อำนาจเจริญ
โทรศัพท์ ........-.... โทรสาร..................-...............อีเมล์ amnat0173@amnat-ed.go.th
๑. ความสําคัญของผลงาน/นวัตกรรมการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice)
โรงเรียนบ้านนาเวียง(วรพจนานุสรณ์) เป็นโรงเรียนขนาดเล็ก โดยในวันที่ 1 ตุลาคม 2564 ข้าพเจ้า นางสาวเรณู เข็มพันธ์ ได้รับคำสั่งย้ายมาดำรงตำแหน่งที่โรงเรียนแห่งนี้ ขณะนั้นมีนักเรียน 51 คน โดยนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 จำนวน 23 คน ได้นั่งรถกระบะที่ดัดแปลงให้มีหลังคา ซึ่งได้รับยืมจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอำนาจเจริญ เพื่อไปเรียนรวมกับโรงเรียนบ้านโคกกลางเหนือ เป็นเวลา 3 ภาคเรียน ได้แก่ ภาคเรียนที่ 1/2563 , ภาคเรียนที่ 2/2563 และภาคเรียนที่ 1/2564 เมื่อวันที่คณะกรรมการสถานศึกษาและผู้ปกครอง ตลอดทั้งคณะครูและนักเรียนให้การต้อนรับ ซึ่งเป็นวันที่ 8 ตุลาคม 2564 คณะกรรมการได้ขอพบผู้อำนวยการสถานศึกษาที่ย้ายมาใหม่ และได้บอกเล่าเรื่องราวต่าง ๆ ที่ผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาได้อดทน รอให้ผู้อำนวยการสถานศึกษาท่านใหม่ย้ายมา เพื่อช่วยให้นำนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 ของโรงเรียนบ้านนาเวียง(วรพจนานุสรณ์) กลับมาจัดการเรียนการสอนเองที่โรงเรียน ด้วยสภาพปัญหาที่ผู้ปกครองและคณะกรรมการสะท้อนต่อข้าพเจ้า ดังนี้
1. เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุจากการเดินทางไปเรียนที่โรงเรียนอื่น
2. เพื่อป้องกันการติดเชื้อจากโรคระบาดโควิด – 19
3. เพื่อให้นักเรียนมีความรักความสามัคคีกันในโรงเรียนและรักสถาบัน
4. เพื่อให้นักเรียนได้อยู่ในสายตาผู้ปกครอง คอยดูแลติดตามได้ง่าย เนื่องจากปัจจุบันมีความเสี่ยงต่อการมีพฤติกรรมที่ก้าวร้าว เกเร ไม่เชื่อฟังผู้ปกครอง
5. ผู้บริหาร คณะครู และบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนบ้านนาเวียง(วรพจนานุสรณ์) มีความรู้ความสามารถ พร้อมที่จะจัดประสบการณ์ต่าง ๆ เพื่อพัฒนาผู้เรียน ให้เป็นคนดี คนเก่ง และอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
6. ชุมชนมีความเข้มแข็ง พร้อมให้การช่วยเหลือ ส่งเสริม สนับสนุนกิจกรรมของทางโรงเรียนทุกกิจกรรม
จากปัญหาที่กล่าวมา จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ข้าพเจ้าจำเป็นต้องหารูปแบบการพัฒนานักเรียนโรงเรียนบ้านนาเวียง(วรพจนานุสรณ์) ให้เป็นคนดี คนเก่ง และอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข โดยการน้อมนำพระบรมราโชบายด้านการศึกษาของในหลวงรัชการที่ 10 สู่การปฏิบัติ เพื่อเป็นหลักชัย และเป็นสิริมงคลให้แก่ตนเองในการทำงาน ณ โรงเรียนบ้านนาเวียง(วรพจนานุสรณ์) แห่งนี้
๒. จุดประสงค์และเป้าหมายของผลงาน/นวัตกรรมการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice)
๒.๑ จุดประสงค์
2.1.1 เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจต่อบ้านเมือง ยึดมั่นในศาสนา มั่นคงในสถาบันพระมหากษัตริย์ และมีความเอื้ออาทรต่อครอบครัวและชุมชนของตน
2.1.2 เพื่อให้นักเรียนเป็นคนดี เป็นคนเก่ง และอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
2.1.3 เพื่อให้โรงเรียนมีความเข้มแข็ง เป็นโรงเรียนของชุมชน ชุมชนภาคภูมิใจ และเชื่อมั่นในการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพ และเป็นไปตามความต้องการของชุมชน
๒.๒ เป้าหมาย
เชิงปริมาณ
- นักเรียนโรงเรียนบ้านนาเวียง(วรพจนานุสรณ์) ทุกคน
เชิงคุณภาพ
- นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจต่อบ้านเมือง ยึดมั่นในศาสนา มั่นคงในสถาบันพระมหากษัตริย์ และมีความเอื้ออาทรต่อครอบครัวและชุมชนของตน
- นักเรียนเป็นคนดี เป็นคนเก่ง และอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
- โรงเรียนมีความเข้มแข็ง เป็นโรงเรียนของชุมชน ชุมชนภาคภูมิใจ และเชื่อมั่นในการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพ และเป็นไปตามความต้องการของชุมชน
๓. กระบวนการผลิตผลงานหรือขั้นตอนการดำเนินงาน
๓.๑ การออกแบบผลงาน/นวัตกรรม นำเสนอผลงาน/นวัตกรรมในรูปแบบผังงาน(Flowchart)
๓.๒ การดำเนินงานตามกิจกรรม
3.2.1 การวางแผน (Plan)
N : Need (การบริหารตามความต้องการของชุมชน)
- มีการจัดประชุมผู้ปกครองนักเรียนอย่างเร่งด่วน และจัดประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน เพื่อให้ผู้ปกครองได้สะท้อนผล จากสภาพปัญหาที่มีอยู่
- จัดทำความต้องการของชุมชน เป็นรายข้อ เรียงลำดับตามความต้องการของผู้ปกครอง โดยให้ทุกคนมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะในแบบสอบถาม
- จัดประชุมครูทำ SWOT และวางแผนกลยุทธ์ในการทำงาน
3.2.2 การปฏิบัติ (Do)
A : Activity & Active Learning (การจัดกิจกรรมที่หลากหลายและกระตือรือร้น)
- มอบนโยบายการจัดการเรียนรู้และการจัดมวลประสบการณ์ให้แก่นักเรียนได้กิจกรรมที่หลากหลาย และจัดการเรียนรู้แบบกระตือรือร้น เพื่อให้นักเรียนได้พัฒนาศักยภาพของตนเองอย่างเต็มที่
W : Willingness (ทุกคนเต็มใจในการทำงาน)
- ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีความเต็มใจในการทำงาน ได้แก่ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครองนักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ศิษย์เก่า และชุมชน
I : Integrated (การบูรณาการ/การผสมผสาน)
- มีการจัดการเรียนรู้และกิจกรรมต่าง ๆ แบบบูรณาการ และผสมผสาน อย่างหลากหลาย ตามบริบทและข้อจำกัดของโรงเรียน
3.2.3 การติดตามตรวจสอบ (Check)
A : Achievement (การมุ่งสู่ความสำเร็จ)
- มีการติดตามตรวจสอบการทำงานที่มุ่งสู่ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินงานในกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
3.2.4 การพัฒนาปรับปรุง (Act)
N : Network (การสร้างเครือข่าย)
- มีการพัฒนาปรับปรุงการดำเนินงานโดยเน้นการสร้างเครือข่ายทางการศึกษา อย่างเข้มแข็งและยั่งยืน
G : Good Governance (หลักธรรมาภิบาล)
- มีการพัฒนาปรับปรุงการดำเนินงานโดยนำหลักธรรมาภิบาลเข้ามาใช้ในการบริหารงาน เพื่อช่วยสร้างสรรค์และส่งเสริมองค์กรให้มีศักยภาพและประสิทธิภาพ ประกอบด้วย 6 หลักการ คือ
(1) หลักคุณธรรม
(2) หลักนิติธรรม
(3) หลักความโปร่งใส
(4) หลักความมีส่วนร่วม
(5) หลักความรับผิดชอบ
(6) หลักความคุ้มค่า
ด้วยโรงเรียนบ้านนาเวียง(วรพจนานุสรณ์) มีข้าราชการครูที่ใกล้เกษียณอายุราชการ และมีครูไม่เพียงพอ จึงได้สร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วมในการพัฒนา 5 เครือข่าย ได้แก่ ด้านวิชาการ ด้านคุณธรรมจริยธรรม ด้านสาธารณสุข ด้านการเงิน และด้านชุมชน โดยเข้ามามีบทบาทในการส่งเสริมสนับสนุน และกำกับติดตาม และเน้นในการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลอย่างเคร่งครัด
3.3 การใช้ทรัพยากรมีอยู่อย่างเหมาะสม คุ้มค่า สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียน
- ด้านบุคคล : ด้วยโรงเรียนมีข้าราชการครูน้อยและอยู่ในช่วงใกล้เกษียณ คณะกรรมการจึงเห็นชอบให้จ้างครูอัตราจ้าง ด้วยงบประมาณเงินรายได้สถานศึกษา โดยมีผู้บริจาคเพื่อจ้างครูให้แก่นักเรียน และบุคลากรทำงานด้วยความเต็มใจ ตั้งใจและมุ่งมั่น จึงส่งผลดีต่อนักเรียน โรงเรียน ครู และชุมชน
- ด้านงบประมาณ : ใช้วิธีการสร้างเครือข่ายทางการศึกษา และระดมทรัพยากร งบประมาณเพื่อช่วยในการขับเคลื่อนภารกิจต่าง ๆ จนสำเร็จลุล่วงตามแผนงาน/โครงการ โดยการทำงานตามหลักธรรมาภิบาล
๔. ผลการดำเนินการ/ผลสัมฤทธิ์/ประโยชน์ที่ได้รับ
๔.๑ ผลที่เกิดตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ มีหลักฐานหรือข้อมูลประกอบชัดเจน
(1) นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจต่อบ้านเมือง ยึดมั่นในศาสนา มั่นคงในสถาบันพระมหากษัตริย์ และมีความเอื้ออาทรต่อครอบครัวและชุมชนของตน : โดยโรงเรียนจัดกิจกรรมวันสำคัญต่าง ๆ เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจต่อบ้านเมือง ศาสนา พระมหากษัตริย์ และครอบครัว ชุมชุน ได้แก่ โครงการกิจกรรมวันสำคัญ, กิจกรรมปลูกป่า, กิจกรรมการเยี่ยมบ้านนักเรียน, กิจกรรมกีฬาสีภายใน และสัมพันธ์ผู้ปกครองและชุมชน เป็นต้น
(2) นักเรียนเป็นคนดี เป็นคนเก่ง และอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข : โรงเรียนจัดกิจกรรมอบรมคุณธรรมจริยธรรม โดยพระ และคณะครูอย่างสม่ำเสมอ จึงทำให้นักเรียนเป็นคนดี, โรงเรียนจัดครูเข้าสอนอย่างเต็มความรู้ความสามารถ ใช้การเรียนรู้ที่หลากหลาย เน้นกระตือรือร้น จัดกิจกรรมส่งเสริมความรู้ความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ตลอดทั้งจัดค่ายภาษาอังกฤษ กิจกรรมสอนเสริมเพิ่มเติมความรู้ เป็นต้น
(3) โรงเรียนมีความเข้มแข็ง เป็นโรงเรียนของชุมชน ชุมชนภาคภูมิใจ และเชื่อมั่นในการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพ และเป็นไปตามความต้องการของชุมชน : กิจกรรมสานสัมพันธ์ บ้าน วัด โรงเรียน, กิจกรรมรณรงค์การเลือกตั้ง, กิจกรรมการเรียนการสอนจากครูแดร์, กิจกรรมประเพณีสำคัญของชุมชน เป็นต้น
๔.๒ ผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายของงาน สามารถพัฒนางานได้สอดคล้องกับบริบทและเป้าหมายอย่างครบถ้วน
(1) โรงเรียนมีครูสอนนักเรียนอย่างเหมาะสม ตามศักยภาพของโรงเรียน
(2) นักเรียนเป็นตัวแทนของกลุ่มโรงเรียน เข้าร่วมการแข่งขันงานศิลปหัตถกรรมนักเรียนระดับจังหวัด ได้ระดับเหรียญทอง และได้รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 ,รองชนะเลิศอันดับที่ 2 เป็นต้น
(3) ผลการทดสอบทางการระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2565 ได้อันดับที่ 21 ในระดับเขตพื้นที่การศึกษา และได้อันดับที่ 1 ในระดับอำเภอเสนางคนิคม
(4) โรงเรียนได้รับเกียรติบัตรระดับดีเด่น (ประเภทสถานศึกษาขนาดเล็ก โครงการส่งเสริมพัฒนาสถานศึกษาสะอาด บรรยากาศร่มรื่น น่าอยู่ น่าดู น่าเรียน และปลอดภัย ประจำปี 2565 จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอำนาจเจริญ
(5) นักเรียนที่จบการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สามารถสอบเข้าเรียนต่อที่โรงเรียนอำนาจเจริญ รอบทั่วไป ได้ลำดับที่ 7
(6) นักเรียนเป็นคนดี ทำหน้าที่ของตนได้เป็นอย่างดี
(7) นักเรียนได้รับเกียรติบัตรระดับโรงเรียนในด้านการเป็นคนดี
4.3 ประสิทธิภาพของการดำเนินงาน มีผลการปฏิบัติงานปรากฏชัดเจน ส่งผลต่อเป้าหมายและการพัฒนาอย่างมีคุณภาพ
(1) โรงเรียนมีครูผู้สอนเพิ่มเติมจากการสร้างเครือข่ายทางการศึกษา
(2) โรงเรียนมีคอมพิวเตอร์ให้นักเรียนใช้เพิ่มเติม จาการระดมทรัพยากรจากทุกภาคส่วน
(3) โรงเรียนมีนักเรียนที่มีคุณภาพทั้งด้านการเป็นคนดี เป็นคนเก่ง โดยมีคะแนนทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) เป็นอันดับที่ 21 ในระดับเขตพื้นที่การศึกษา และเป็นอันดับที่ 1 ระดับอำเภอเสนางคนิคม
(3) นักเรียนได้เป็นตัวแทนกลุ่มโรงเรียนในการแข่งขันงานศิลปหัตถกรรม ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และได้ระดับเหรียญทอง และอันดับรองชนะเลิศอันดับที่ 1, อันดับที่ 2
(4) โรงเรียนกลับมามีชีวิตชีวา ได้รับการยอมรับจากชุมชน ผู้ปกครองเริ่มย้ายลูกเข้ามาเรียนเพิ่มขึ้น ด้วยการบริหารตามความต้องการของชุมชน (N), เน้นการจัดกิจกรรมที่หลากหลายและกระตือรือร้น (A), ทุกคนเต็มใจในการทำงาน (W), การบูรณาการและการผสมผสาน (I), การมุ่งสู่ความสำเร็จ (A), การสร้างเครือข่าย (N) และการใช้หลักธรรมาภิบาลในการทำงาน (G) ตามรูปแบบ NAWIANG MODEL
๔.4 ประโยชน์ที่ได้รับ กระบวนการพัฒนาผลงาน/นวัตกรรมก่อให้เกิดประสบการณ์
การเรียนรู้ร่วมกัน
(1) รูปแบบ NAWIANG MODEL ก่อให้เกิดประสบการณ์การเรียนรู้ร่วมกันของนักเรียน ครู และบุคลากรทั้งในและนอกโรงเรียน ได้แก่ การบริหารโรงเรียนโดยทำตามความต้องการของชุมชน ครูมีการจัดกิจกรรมที่หลากหลายและเน้นการเรียนรู้แบบกระตือรือร้น โดยทุกฝ่ายเต็มใจในการทำงาน มีการบูรณาการการเรียนรู้/ผสมผสานในกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อมุ่งสู่ความสำเร็จ โดยเน้นการสร้างเครือข่ายและการบริหารโดยยึดหลักธรรมาภิบาล ทำให้ชุมชน ผู้ปกครองให้ความเชื่อมั่น โรงเรียนจึงน่าอยู่ น่าเรียน และปลอดภัย เป็นโรงเรียนดีของชุมชน
(2) นักเรียนโรงเรียนบ้านนาเวียง(วรพจนานุสรณ์) ทุกคนเป็นคนดี มีความรู้ความเข้าใจต่อบ้านเมือง ยึดมั่นในศาสนา มั่นคงในสถาบันพระมหากษัตริย์ และมีความเอื้ออาทรต่อครอบครัวและชุมชนของตน ตลอดทั้งนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้น มีที่เรียนต่อครบทุกคน เป็นคนดีของสังคมส่วนรวม
๕. ปัจจัยความสำเร็จ
(1) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง และชุมชน มีบทบาทเป็นอย่างมากที่ช่วยโรงเรียนขับเคลื่อนในภารกิจต่าง ๆ ภายใต้การบริหารตามความต้องการของชุมชน (N : Need) จึงเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญสู่ความสำเร็จ
(2) คณะครูและบุคลากรทางการศึกษา ทุกคนต้องเต็มใจในการทำงาน จัดกิจกรรมอย่างหลากหลายและกระตือรือร้น มีการบูรณาการ/ผสมผสาน มุ่งสู่ความสำเร็จ
(3) ผู้บริหารและบุคลากรต้องเน้นการสร้างเครือข่ายทางการศึกษา เพื่อเพิ่มโอกาสให้แก่นักเรียน
(4) ผู้บริหารจะต้องใช้หลักธรรมาภิบาลในการดำเนินงาน โรงเรียนจึงบรรลุตามวัตถุประสงค์ในวันนี้
๖. บทเรียนที่ได้รับ (Lesson Learned)
(1) โรงเรียนต้องรับฟังปัญหาของชุมชนผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับโรงเรียนโดยตรง
(2) ผู้บริหารและคณะครูต้องปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างตรงไปตรงมา
(3) ผู้บริหารและคณะครูต้องดำเนินการตามนโยบายจากกระทรวง สพฐ. และ สพป. ด้วยความกระตือรือร้น
๗. การเผยแพร่/การได้รับการยอมรับ
(1) มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่มผู้บริหารสถานศึกษา ในการประชุมกลุ่มโรงเรียนเสนางค์ประจิม ในระเบียบวาระที่ 5 เรื่องอื่น ๆ
(2) ลงเผยแพร่ในเวปครูวันดี
8. การขยายผลต่อยอดสู่ความยั่งยืน
(1) มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่มผู้บริหารสถานศึกษา ในการประชุมกลุ่มโรงเรียนเสนางค์ประจิม ในระเบียบวาระที่ 5 เรื่องอื่น ๆ
(2) มีการใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ PLC เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
9. ข้อเสนอแนะในการนำผลงาน/นวัตกรรมไปใช้
(1) ควรศึกษาความต้องการของชุมชนในทุกมิติ
(2) ควรมีการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning เพื่อนำไปพัฒนาผู้เรียนอย่างเต็มศักยภาพ
(3) ควรสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะครูและบุคลากรที่มีส่วนขับเคลื่อนภารกิจ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
(4) ควรให้โอกาสนักเรียน ยืดหยุ่น แม้จะขัดกับความรู้สึกของผู้ใหญ่ที่วัยต่างกัน เช่น ระเบียบว่าด้วยเรื่องทรงผม