การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน WPCES
ชุดกิจกรรมทัศนศิลป์ เรื่อง ฮูปปะติดไทหล่มกับเศษวัสดุท้องถิ่นสร้างสรรค์
เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
The development of an activity-based learning management process WPCES along with visual arts learning activity set: Hooppatid Tai Lom with scraps of local materials creatively for enhancing the key competencies for Grade 6 students.
พัฒนากร บุตรราช
Pattanagorn Budrach
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการในการเสริมสร้างสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน สร้างกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน WPCES ร่วมกับชุดกิจกรรมทัศนศิลป์ ศึกษาผลการเสริมสร้างสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่สร้างขึ้นและประเมินกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน WPCES ร่วมกับชุดกิจกรรมทัศนศิลป์ เรื่อง ฮูปปะติดไทหล่มกับเศษวัสดุท้องถิ่นสร้างสรรค์ เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาลบ้านสักงอย ปีการศึกษา 2565 จำนวน 24 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) ระดับชั้น ที่ผู้รายงานเป็นครูผู้สอน รายวิชาทัศนศิลป์ นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ฮูปปะติดไทหล่มกับเศษวัสดุท้องถิ่นสร้างสรรค์ โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน WPCES ร่วมกับชุดกิจกรรมทัศนศิลป์เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และชุดกิจกรรมทัศนศิลป์ จำนวน 6 หน่วย ได้แก่ หน่วยที่ 1 ฮูปปะติดสนุกคัก หน่วยที่ 2 ฮูปปะติดพาซิ่ง หน่วยที่ 3 ฮูปปะติดบันเทิงศิลป์ หน่วยที่ 4 ฮูปปะติดจ๊วด ๆ หน่วยที่ 5 ฮูปปะติดโฮแซว และหน่วยที่ 6 ฮูปปะติดม่วนอีหลี เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม แบบทดสอบ แบบประเมินพฤติกรรม และแบบประเมินผลชิ้นงาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความถี่และค่าร้อยละ และการเปรียบเทียบพัฒนาการ ผลการวิจัย พบว่า 1) ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีความต้องการให้ผู้เรียนได้รับการเสริมสร้างสมรรถนะสำคัญ โดยกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมและมีการเรียนรู้ร่วมกัน มีการวัดและประเมินผลจากภาระงาน/ชิ้นงานที่เกิดจากการปฏิบัติกิจกรรม โดยประเด็นที่มีความต้องการมากที่สุดในการจัดการเรียนรู้ ได้แก่ ผู้เรียนสามารถผลิตชิ้นงานส่งเสริมเป็นอาชีพได้ ครูใช้กระบวนการพาคิดพาทำอย่างต่อเนื่อง ผู้เรียนสามารถออกแบบผลงานร่วมกันกับเพื่อนและมีส่วนร่วมในการเรียนรู้โดยการลงมือทำด้วยตนเอง 2) กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน WPCES ร่วมกับชุดกิจกรรมทัศนศิลป์ เรื่อง ฮูปปะติดไทหล่มกับเศษวัสดุท้องถิ่นสร้างสรรค์ เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ประกอบด้วย 5 ขั้น ได้แก่ ขั้นที่ 1 ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน W (Warm) ขั้นที่ 2 ขั้นวางแผน P (Plan) ขั้นที่ 3 ขั้นค้นหาคำตอบ C (Cooperative learning) ขั้นที่ 4 ขั้นประเมินผล (E) Evaluation และขั้นที่ 5 ผลงานผู้เรียนที่สร้างสรรค์ (S) Show โดยมีผลการประเมินความเหมาะสม (Propriety) ความถูกต้อง (Accuracy) ความเป็นไปได้ (Feasibility) และความเป็นประโยชน์ (Utility) ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 3) ผลการเสริมสร้างสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน WPCES ร่วมกับชุดกิจกรรมทัศนศิลป์ เรื่อง ฮูปปะติดไทหล่มกับเศษวัสดุท้องถิ่นสร้างสรรค์ พบว่า ผู้เรียนมีสมรรถนะสำคัญทุกด้าน ได้แก่ ด้านความสามารถในการสื่อสาร ความสามารถในการคิด ความสามารถในการแก้ปัญหา ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต และความสามารถในการใช้เทคโนโลยี อยู่ในระดับดีขึ้นไป ร้อยละ 100 4) ผลประเมินกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน WPCES ร่วมกับชุดกิจกรรมทัศนศิลป์ เรื่อง ฮูปปะติดไทหล่มกับเศษวัสดุท้องถิ่นสร้างสรรค์เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน ตามความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย พบว่า ผู้เรียนและผู้ปกครองมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด
คำสำคัญ กระบวนการจัดการเรียนรู้, การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน,
ชุดกิจกรรมทัศนศิลป์, สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน