รูปแบบการเสริมสร้างคุณธรรมการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์
รูปแบบการเสริมสร้างคุณธรรมการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4ด้วย "เกมสิบคำถาม ล้านความสุจริต"
อ่านต่อได้ที่: https://www.kruwandee.com/index.php?module=forum-edit&qid=88615
๑. ความสำคัญของผลงาน/นวัตกรรมการปฏิบัติที่เป็นเลิศ(Best Practice)
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ได้มุ่งเน้นพัฒนาผู้เรียนทุกคน ซึ่งเป็นกำลังของชาติ โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญบนพื้นฐานความเชื่อว่าทุกคนสามารถเรียนรู้และ พัฒนาตนเองได้เต็มศักยภาพในการพัฒนาผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่มุ่ง พัฒนาผู้เรียนให้มีสมรรถนะในด้านความสามารถในการสื่อสารความสามารถในการคิด ความสามารถ ในการแก้ปัญหาความสามารถในการใช้ทักษะความคิดและความสามารถในการใช้ เทคโนโลยี (กระทรวงศึกษาธิการ, ๒๕๕๒)วิชาวิทยาศาสตร์จึงมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งเพราะทำให้คนได้ พัฒนาวิธีคิด ทั้งความคิด เป็นเหตุเป็นผล คิดสร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์วิจารณ์ มีทักษะที่สำคัญในการ ค้นหาความรู้ มีความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ สามารถตัดสินใจโดยใช้ข้อมูล หลากหลายและ ประจักษ์พยานที่ตรวจสอบได้ทุกคนจึงจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาให้รู้ วิทยาศาสตร์เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจโลกธรรมชาติ พัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีตลอดจนการพัฒนา สิ่งแวดล้อมและ ทรัพยากรธรรมชาติอย่างสมดุลและยั่งยืน การเรียนรู้วิทยาศาสตร์เป็นการเรียนรู้ ตลอดชีวิตเนื่องจาก ความรู้วิทยาศาสตร์เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับโลกธรรมชาติซึ่งมีการเปลี่ยนแปลง ตลอดเวลา ทุกคนต้อง เรียนรู้เพื่อนำผลการเรียนรู้ไปใช้ในชีวิตและการประกอบอาชีพเมื่อผู้เรียนได้ ปัญหา มีการร่วมกันคิด ลงมือปฏิบัติจริงก็จะเข้าใจและเห็นความเชื่อมโยงของวิทยาศาสตร์ อื่นและชีวิต ทำให้สามารถอธิบาย ทำนายคาดการณ์สิ่งต่าง ๆ ได้อย่างมีเหตุผล (กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ, ๒๕๔๖)
ปัจจุบันข้าพเจ้าสอนวิชาวิทยาศาสตร์ ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔-๖ ได้สังเกตพฤติกรรม การเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ทำให้ทราบว่านักเรียนไม่ชอบเรียนวิทยาศาสตร์ คิดว่าเป็น วิชาที่ยาก และมีเจตคติที่ไม่ดีต่อวิชาวิทยาศาสตร์ ซึ่งส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนซึ่งอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างต่ำ ครูผู้สอนจึงมีแนวคิดว่าจะทำอย่างไรให้นักเรียนชอบเรียน วิทยาศาสตร์ และสนุกกับการเรียนวิทยาศาสตร์ จึงได้คิดสร้างเกมสิบคำถาม ล้านความสุจริต ขึ้น เพื่อควบคู่ไปกับการสอน เพราะเกมอาจทำให้นักเรียนเกิดความสนุกสนาน อีกทั้งยังส่งผลให้นักเรียนมี ความกระตือรือร้นในการเรียนมากขึ้น “เกมสิบคำถาม ล้านความสุจริต” นั้นเป็นเกมที่สร้างขึ้นมาเพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ อย่างสนุกสนาน พร้อมทั้งได้รับความรู้ในวิชาวิทยาศาสตร์ อีกทั้งสอดแทรกความรู้เรื่องความซื่อสัตย์ สุจริต นักเรียนทุกคนในชั้นเรียนได้มีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้ สนุกคิด ทำให้นักเรียนเกิดความเข้าใจ มีความสุขในการเรียนรู้และกระตุ้นความสนใจได้เป็นอย่างดี ทุกคนต้องเคารพกติกาใน การเล่นเกม ซึ่งข้าพเจ้าได้สร้างเกมเพื่อบูรณาการกับความสุจริต ทั้ง ๕ คุณลักษณะเพื่อเป็นนวัตกรรมประกอบการเรียนการสอน ในการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมและธรรมาภิบาลในสถานศึกษา ให้กับนักเรียน เพื่อจะได้ส่งเสริมทักษะกระบวนการคิด ความมีระเบียบวินัย
ความซื่อสัตย์ ความพอเพียง และมีจิตสาธารณะ อีกทั้งยังเกิดความสามัคคี มีวินัยในการเล่นเกมในกลุ่ม และยังได้ ความสนุกสนาน ฝึกทักษะด้านกระบวนการคิด ความมีระเบียบวินัย ความซื่อสัตย์ ความพอเพียง
และมีจิตสาธารณะ ทั้ง ๕ ด้าน ให้ดีขึ้นจากปัญหาดังกล่าว ครูผู้สอนต้องการให้นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อวิชาวิทยาศาสตร์ มีความรู้ ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ที่ยั่งยืน ควบคู่กับมีคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต จึงคิดสร้าง “เกมสิบคำถาม ล้านความสุจริต” มาเป็นนวัตกรรมประกอบการเรียนการสอน เพื่อให้นักเรียนมีเจตคติที่ดี ต่อวิชาวิทยาศาสตร์ มีความสนุกในการเรียนวิทยาศาสตร์ และสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมให้กับ นักเรียน โดยกลุ่มเป้าหมาย คือนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ จำนวน 9 คน สาระการเรียนรู้เรื่อง การจัดกลุ่มสิ่งมีชีวิต
๒. วัตถุประสงค์และเป้าหมายของผลงาน/นวัตกรรมการปฏิบัติที่เป็นเลิศ(Best Practice)
๒.๑ วัตถุประสงค์
๑) เพื่อให้นักเรียนมีวินัยในการเล่นเกม “เกมสิบคำถาม ล้านความสุจริต”
๒) เพื่อให้นักเรียนรู้กติกา ปฏิบัติตามกติกาในการเล่นเกมและมีความซื่อสัตย์ในการเล่นเกม
๓) เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการคิดของนักเรียนและมีเจตคติที่ดีต่อวิชาวิทยาศาสตร์
๔) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ในรายวิชาวิทยาศาสตร์ สาระการเรียนรู้เรื่อง การจัดกลุ่มสิ่งมีชีวิต ให้สูงขึ้น
๕) เพื่อส่งเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรต้านทุจริตของโรงเรียน
๒.๒ เป้าหมาย
๒.๒.๑ เชิงปริมาณ
๑) นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ ร้อยละ ๘๐ มีวินัยและความซื่อสัตย์ใน การเล่นเกม สามารถปฏิบัติตามกติกาในการเล่นเกมได้
๒) นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ ร้อยละ ๘๐ มีทักษะกระบวนการคิดและ มีเจตคติที่ดีต่อวิชาวิทยาศาสตร์
๓) นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ ร้อยละ ๘๐ มีผลสัมฤทธิ์ในรายวิชา วิทยาศาสตร์ สาระการเรียนรู้เรื่อง การจัดกลุ่มสิ่งมีชีวิตที่สูงขึ้น
๒.๒.๒ เชิงคุณภาพ
นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ มีพัฒนาการด้านกระบวนการคิด ความมีระเบียบ วินัย ความซื่อสัตย์ ความพอเพียง และมีจิตสาธารณะ ทั้ง ๕ ด้าน ดีขึ้น