การพัฒนาชุดการสอน เรื่องการประดิษฐ์จากเศษวัสดุเหลือใช้ วิชาการงา
ผู้วิจัย : นางสาวธิดารัตน์ เจษฎาฐิติกุล ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ
ปีการศึกษา : 2565
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) การพัฒนาชุดการสอน เรื่องการประดิษฐ์จากเศษวัสดุเหลือใช้ วิชาการงานอาชีพ โดยใช้รูปแบบการทักษะปฏิบัติงานประดิษฐ์ของซิมพ์ซัน ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อศึกษาผลการประดิษฐ์ชิ้นงานด้วยชุดการสอน 3) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการเรียนด้วยชุดการสอน 4) เพื่อศึกษาค่าดัชนีประสิทธิผล (Effectiveness Index : E.I) ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดการสอน 5) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดการสอน
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลอง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล 3 ประชายินดี ปีการศึกษา 2565 ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จากนักเรียนที่ผู้วิจัยเป็นครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาการงานอาชีพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างสำหรับผู้เชี่ยวชาญ 2) แผนการจัดการเรียนรู้ 3) ชุดการสอน เรื่องการประดิษฐ์จากเศษวัสดุเหลือใช้ วิชาการงานอาชีพ โดยใช้รูปแบบการทักษะปฏิบัติงานประดิษฐ์ของซิมพ์ซัน 4) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 5) แบบประเมินความสามารถในการปฏิบัติการประดิษฐ์จากเศษวัสดุเหลือใช้ 6) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าประสิทธิภาพของชุดการสอน (E1 /E2) และค่าที (T - test) แบบ Dependent วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ( ) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ประสิทธิภาพของชุดการสอน เรื่องการประดิษฐ์จากเศษวัสดุเหลือใช้ วิชาการงานอาชีพ โดยใช้รูปแบบการทักษะปฏิบัติงานประดิษฐ์ของซิมพ์ซัน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล 3 ประชายินดีที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ 95.03/81.33 ตามเกณฑ์ 80/80
2. ผลการประดิษฐ์ชิ้นงานของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดการสอน เรื่องการประดิษฐ์จากเศษวัสดุเหลือใช้ วิชาการงานอาชีพ โดยใช้รูปแบบการทักษะปฏิบัติงานประดิษฐ์ของซิมพ์ซัน พบว่านักเรียนมีคะแนนทักษะการปฏิบัติงานเฉลี่ย ( )เท่ากับ 3.80 อยู่ในระดับดีมาก
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนด้วยชุดการสอนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ค่าดัชนีประสิทธิผลโดยใช้ชุดสอน เรื่องการประดิษฐ์จากเศษวัสดุเหลือใช้ วิชาการงานอาชีพ โดยใช้รูปแบบการทักษะปฏิบัติงานประดิษฐ์ของซิมพ์ซัน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เท่ากับ 0.5483 แสดงว่านักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้น 0.5483 หรือคิดเป็นร้อยละ 54.83
5. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดการสอนโดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติงานประดิษฐ์ของซิมพ์ซัน เรื่องการประดิษฐ์จากเศษวัสดุเหลือใช้ วิชาการงานอาชีพ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ( = 2.59, S.D. = 0.49)