เผยแพร่ผลงาน บทคัดย่อ รายงานวิจัยในชั้นเรียน
ชื่อ - ชื่อสกุลผู้วิจัย : นางณูสนี หะยียูโซะ
โรงเรียน : หาดใหญ่วิทยาลัย
ปีการศึกษา : 2565
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อหาประสิทธิภาพของบทเรียนออนไลน์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่อง แนวคิดเชิงนามธรรมและการแก้ปัญหา รายวิชาวิทยาการคำนวณ 1 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน (blended learning) ร่วมกับการใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Base Learning: PBL) ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียน ด้วยบทเรียนออนไลน์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่อง แนวคิดเชิงนามธรรมและการแก้ปัญหา รายวิชาวิทยาการคำนวณ 1 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน (blended learning) ร่วมกับการใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Base Learning: PBL) ให้ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนทั้งหมด 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนด้วยบทเรียนออนไลน์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่อง แนวคิดเชิงนามธรรมและการแก้ปัญหา รายวิชาวิทยาการคำนวณ 1 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน (blended learning) ร่วมกับการใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Base Learning: PBL) กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/8 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 1 ห้อง ทั้งหมด 42 คน เครื่องมือการวิจัย คือ (1) แผนการจัดการเรียนรู้การจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน (blended learning) ร่วมกับการใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Base Learning: PBL) จำนวน 3 แผน (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก คู่ขนานก่อนเรียนและหลังเรียน ฉบับละ 40 ข้อ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจ จำนวน 2 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สูตรการหาประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้ (E1/E2) และสถิติทดสอบที แบบ One sample t-test
ผลการวิจัยพบว่า
1. บทเรียนออนไลน์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่อง แนวคิดเชิงนามธรรมและการแก้ปัญหา รายวิชาวิทยาการคำนวณ 1 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน (blended learning) ร่วมกับการใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Base Learning: PBL) มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 87.91/81.55 สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนด้วยบทเรียนออนไลน์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่อง แนวคิดเชิงนามธรรมและการแก้ปัญหา รายวิชาวิทยาการคำนวณ 1 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน (blended learning) ร่วมกับการใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Base Learning: PBL) พบว่า มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยบทเรียนออนไลน์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่อง แนวคิดเชิงนามธรรมและการแก้ปัญหา รายวิชาวิทยาการคำนวณ 1 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน (blended learning) ร่วมกับการใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Base Learning: PBL) พบว่า นักเรียนมีคะแนนความพึงพอใจเฉลี่ยต่อการจัดการเรียนรู้เท่ากับ 4.06 ซึ่งมีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก