การบริหารการจัดการศึกษาโดยนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
จุดประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินงาน
1. เพื่อพัฒนาครูระดับปฐมวัยให้มีความรู้ ความสามารถ ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ Active Learning บูรณาการด้านเศรษฐกิจพอเพียง
2. เพื่อพัฒนาด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม สติปัญญาของนักเรียนปฐมวัย
ปัจจัยความสำเร็จ
1. ครู ในการบริหารการจัดการศึกษาด้านการจัดการเรียนการสอน Active Learning แบบบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงใช้กระบวนการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงตนเองสำหรับการพัฒนาครูปฐมวัย เป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาด้านในตนเองของครูเป็นเรื่องที่ใช้เวลานาน และอาศัยความเป็นปัจเจกบุคคลในการเรียนรู้ ดังนั้นครูที่เข้าร่วมกระบวนการเรียนรู้จึงต้องเข้าร่วมด้วยความสมัครใจ
2. ผู้บริหาร ผู้บริหารเป็นผู้จัดกระบวนการเรียนรู้มีบทบาทหลักคือ เป็นผู้อำนวยความสะดวก (Facilitator) การดำเนินการตามกระบวนการเรียนรู้ จัดหา แนะนำ กิจกรรมการเรียนรู้ สื่อและแหล่ง การเรียนรู้ที่สอดคล้องและเหมาะสมกับกระบวนการและผู้เรียน
3. วิธีการ ระยะเวลาและช่วงเวลาของการบริหารการจัดการศึกษาด้านการจัดการเรียนการสอน Active Learning แบบบูรณาการสะเต็มศึกษานี้ สามารถปรับเปลี่ยนได้ ขึ้นอยู่กับวิถีการทำงานของครู และสามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง ไม่สิ้นสุด เป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิต ดังนั้นควรพัฒนาให้ครูตระหนักถึงการเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
4. ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยง สอดคล้อง ลดความขัดแย้ง และความคับข้องใจที่อาจเกิดขึ้นควรจัดกระบวนการเรียนรู้แบบ Active Learning แบบบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยการสร้างชุมชนการเรียนรู้ร่วมกันทั้งโรงเรียน และเป็นการเสริมพลังการทำงานให้เกิดขึ้นในกลุ่มใหญ่
บทเรียนที่ได้รับ
1. ครูปฐมวัยพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอน Active Learning แบบบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านพัฒนาสมองด้านการจัดการเรียนรู้แบบ (BBL) และแบบ (EF) ใช้เป็นแนวทางในการเชื่อมโยงการเรียนรู้ในระดับประถมศึกษาต่อไป
2. ผู้เรียนได้เกิดทักษะการคิดการแก้ปัญหา ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์คิดวิเคราะห์ คิดสร้างสรรค์ และคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผล การพัฒนานิสัย ความรอบคอบ ความยั้งคิดไตร่ตรอง การควบคุมอารมณ์ การกำกับตนเอง และมีความเพียรพยายาม
3. ทำให้ได้คู่มือการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนแบบการบริหารการจัดการศึกษาด้านการจัดการเรียนการสอน Active Learning แบบบูรณาการเพื่อพัฒนาด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม สติปัญญาของนักเรียนปฐมวัย
4. เป็นข้อมูลพื้นฐานในการปรับปรุงแนวทาง ให้ผู้บริหารสถานศึกษา ครู นักเรียน ผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานได้ร่วมกันพัฒนาการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพ