BEST บ้านหลังที่ 2
ปัจจุบันเด็กและเยาวชนในประเทศไทยกำลังเผชิญกับปัญหามากมาย ทั้งปัญหาที่เกิดจากตัวเด็กเอง เช่น สภาพร่างกาย จิตใจผิดปกติไม่เหมือนคนทั่วไป และสภาพครอบครัวไม่เอื้ออำนวยต่อการดำรงชีพ ไม่สามารถศึกษาในระบบโรงเรียนได้ ผู้ปกครองไม่มีเวลาดูแลลูกหลานของตนเอง ระบบการศึกษาของชาติมีข้อบกพร่อง ไม่อาจสนองความต้องการของเด็กและเยาวชนได้อย่างเท่าเทียมกัน ทำให้เด็ก บางคนไม่ได้รับการดูแลที่ถูกต้อง แสดงความสามารถในทางที่ผิดหรือแสดงได้ไม่เต็มตามศักยภาพของตนเอง รวมถึงเด็กบางคนขาดโอกาสในการศึกษาตามระบบโรงเรียน เนื่องด้วยปัญหาทางเศรษฐกิจ ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการได้พยายามจัดการศึกษาให้กับเด็กทุกคนในประเทศ โดยการกำหนดหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานของไทยให้เหมาะสมกับสภาพการเปลี่ยนแปลงของสังคม โดยมุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคนซึ่งเป็นกำลังของชาติให้เป็นมนุษย์ที่มีความสมดุลทั้งด้านร่างกาย ความรู้ คุณธรรม มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและเป็นพลโลก ยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีความรู้และทักษะพื้นฐาน รวมทั้งเจตคติที่จำเป็นต่อการศึกษาต่อ การประกอบอาชีพ และการศึกษาตลอดชีวิต โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญบนพื้นฐานความเชื่อว่า ทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ (กระทรวงศึกษาธิการ. 2551)
โรงเรียนวัดอัยยิการาม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 มีภารกิจหลักในการจัดการศึกษา มีแนวคิดสำคัญในการจัดการศึกษาคือ เปรียบเสมือนโรงเรียนคือบ้านของนักเรียน คือ เป็นสถานที่ที่นักเรียนมีความรู้สึกปลอดภัย อยากที่จะมาโรงเรียน ครูอาจารย์ คือ พ่อ แม่ของนักเรียน ที่คอยอบรม ให้ความรู้กับนักเรียน ผู้อำนวยการโรงเรียนคือ ผู้ใหญ่บ้าน ซึ่งแนวคิดนี้เป็นแนวคิดของผู้อำนวยการโรงเรียนวัดอัยยิการาม คือ นายธนณัฐ ศิระวงษ์ ที่บริหารงานภายใต้นโยบาย “บ้านหลังที่ 2”
2. วัตถุประสงค์
1. เพื่อแก้ไขปัญหาพฤติกรรมนักเรียน โดยใช้กิจกรรมบ้านหลังที่ 2 ในการส่งเสริมและพัฒนาพฤติกรรมนักเรียนให้สามารถอยู่ร่วมกับบุคคลอื่นในสังคมได้
2. เพื่อให้นักเรียนได้รับการดูแลช่วยเหลือและส่งเสริมพัฒนาอย่างทั่วถึง ตรงตามสภาพปัญหาเต็มตามศักยภาพมีความสมบูรณ์ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา
3. เพื่อให้โรงเรียนสามารถดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างเป็นระบบ โดยมีกระบวนการ วิธีการและเครื่องมือที่มีคุณภาพ
3. เป้าหมาย
1. นักเรียนโรงเรียนวัดอัยยิการาม ไม่มีนักเรียนที่มีปัญหาด้านพฤติกรรม และยาเสพติด นักเรียนเห็นคุณค่าในตนเอง มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
2. โรงเรียนวัดอัยยิการาม มีระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่เข้มแข็ง โดยมีกิจกรรมในการปรับปรุงพฤติกรรมนักเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ
3. นักเรียนได้รับการพัฒนาอย่างถูกทิศทางและเรียนรู้อย่างมีความสุข มีทักษะในการดำเนินชีวิต สามารถดำรงตนอยู่ในสังคมได้อย่างเหมาะสม
4. กระบวนการผลิตผลงาน
โดยมีวงจรของนวัตกรรมดังภาพ
.
4. ผลงานที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงาน
1. นักเรียนสามารถได้รับการแก้ไขพฤติกรรมและสามารถอยู่ร่วมกับบุคคลอื่น ในสังคมได้อย่างมีความสุข
2. นักเรียนได้รับการดูแลช่วยเหลือและส่งเสริมพัฒนาอย่างทั่วถึง ตรงตามสภาพปัญหาเต็มตามศักยภาพมีความสมบูรณ์ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา
3. โรงเรียนสามารถดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างเป็นระบบ โดยมีกระบวนการ วิธีการและเครื่องมือที่มีคุณภาพ
5. รางวัลที่ได้รับ
1. รางวัลระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ระดับเขตตรวจราชการที่ 1 ระดับเหรียญเงิน โรงเรียนสถานศึกษาขนาดใหญ่ ประจำปีการศึกษา 2561
2. รางวัลระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ระดับเขตตรวจราชการที่ 2 ระดับเหรียญเหรียญทอง รองชนะเลิศอันดับที่ 1 โรงเรียนสถานศึกษาขนาดใหญ่ ประจำปีการศึกษา 2562
3. รางวัลระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ระดับเขตตรวจราชการที่ 2 ระดับเหรียญเหรียญทอง รองชนะเลิศอันดับที่ 1 โรงเรียนสถานศึกษาขนาดใหญ่ ประจำปีการศึกษา 2563
4. รางวัลโรงเรียนต้นแบบนักเรียนไทยสุขภาพดี รุ่นที่ 6 ระดับประเทศ ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
บรรณานุกรม
กรมสุขภาพจิต. (2546). คู่มือวิทยากร ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ช่วงชั้นที่ 3 – ช่วงชั้น
ที่ 4 (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 6). กรุงเทพฯ: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
กรมสามัญศึกษา. (2544). ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนสังกัด
กรมสามัญศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา.
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, สานักงาน. (2547). แนวทางการดาเนินงานระบบการช่วยเหลือ
นักเรียนในสถานศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2547). เทคนิคการสร้างเครื่องมือรวบรวมข้อมูลสำหรับการวิจัย.
(พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ : พีแอนด์บี พับลิชชิ่ง.
วิชาการ, กรม กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544.
พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
สมพร สุทัศนีย์, ม.ร.ว. (2544). จิตวิทยาการปกครองชั้นเรียน. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สาโรช ไสยสมบัติ. (2534). ความพึงพอใจในการทำงานของครูอาจารย์ โรงเรียนมัธยมศึกษา
สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม.
หลุย จำปาเทศ. (2533). จิตวิทยาการจูงใจ. กรุงเทพฯ : สามัคคีสาส์น จำกัด