การแก้ปัญหาด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
การจัดการเรียนรู้แบบ 4E x 2
ชื่อผู้ทำวิจัย นางสาวชนานันท์ กุ่มพรม
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ปีการศึกษา 2565
บทคัดย่อ
ประเด็นท้าทาย เรื่อง การแก้ปัญหาด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 6 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ 4E x 2
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบ 4Ex2 2)
เพื่อแก้ปัญหาด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่จัดการเรียนรู้แบบ 4Ex2
ให้ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 3) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบ 4Ex2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/2 โรงเรียนไทรโยคมณีกาญจน์วิทยา อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 35 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม (cluster random sampling)
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้เรื่องการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ
ที่จัดการเรียนรู้แบบ 4Ex2 ซึ่งมีวิธีการจัดการเรียนรู้ จำนวน 5 แผน แผนละ 2 ชั่วโมง รวม 10 ชั่วโมง
2) แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ซึ่งประเมินการคิดขั้นสูง ตามแนวคิดทฤษฎีของ Bloom's Taxonomy ได้แก่ การคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์และการคิดประเมินค่า จำนวน 30 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้การหาค่าร้อยละ, ค่าเฉลี่ยเลขคณิต, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หลังการจัด
การเรียนรู้ด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบ 4E x 2 สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้ และความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หลังการจัดการเรียนรู้แบบ 4Ex2 ผ่านเกณฑ์
ร้อยละ 80
2. ความคิดเห็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบ 4Ex2 อยู่ในระดับที่เห็นด้วยมากที่สุด