รายงานการประเมินโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนห้วยซ้อวิทยาคม
ผู้ประเมิน : ศุภชัย อุ่นแก้ว
หน่วยงาน : โรงเรียนห้วยซ้อวิทยาคม รัชมังคลาภิเษก
ปีที่ประเมิน : 2565
บทคัดย่อ
การประเมินครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนห้วยซ้อวิทยาคม รัชมังคลาภิเษก ด้านบริบท ด้านปัจจัย ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิต โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน ครูผู้รับผิดชอบโครงการ จำนวน 7 คน ครูและบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียน 34 คน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – มัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 578 คน และผู้ปกครองนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – มัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 236 คน โดยการใช้สูตรในการกำหนดกลุ่มตัวอย่างของทาโร่ ยามาเน่ (Taro Yamane, 1973 : 125) โดยกำหนดระดับค่าความเชื่อมั่นที่ 95% และได้ทำการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) แบบเป็นxxxส่วน รวมทั้งสิ้น จำนวน 877 คน ปีการศึกษา 2565 สำหรับเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ โดยประยุกต์ใช้การประเมินโครงการตามรูปแบบ CIPP MODEL วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ซึ่งนำเสนอในรูปแบบตารางประกอบการบรรยาย
สรุปผลการประเมิน
สรุปผลการประเมินโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนห้วยซ้อวิทยาคม รัชมังคลาภิเษกดังนี้
1. ผลการประเมินด้านบริบทของโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนห้วยซ้อวิทยาคม รัชมังคลาภิเษกภาพรวม พบว่า ผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด และผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อจำแนกผลการประเมินตามตัวชี้วัดซึ่งมี 2 ตัวชี้วัด ทุกตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมินและมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยของโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนห้วยซ้อวิทยาคม รัชมังคลาภิเษกภาพรวม พบว่า ผลการประเมินอยู่ในระดับมาก และผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อจำแนกผลการประเมินตามตัวชี้วัดซึ่งมี 4 ตัวชี้วัด ทุกตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมินและมีผลการประเมินส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการของโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนห้วยซ้อวิทยาคม รัชมังคลาภิเษกภาพรวม พบว่า ผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด และผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อจำแนกผลการประเมินตามตัวชี้วัดซึ่งมี 7 ตัวชี้วัด ทุกตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมินและมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด
4. ผลการประเมินด้านผลผลิต
4.1 ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนห้วยซ้อวิทยาคม รัชมังคลาภิเษกภาพรวม พบว่า ผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด และผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อจำแนกผลการประเมินตามตัวชี้วัดซึ่งมี 8 ตัวชี้วัด เป็นตัวชี้วัดผลผลิตนักเรียนที่โรงเรียน จำนวน 4 ตัวชี้วัด มีผลการประเมินโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านการประเมินตามเกณฑ์การประเมิน เป็นตัวชี้วัดผลผลิตนักเรียนที่บ้าน จำนวน 4 ตัวชี้วัด มีผลการประเมินโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และผ่านการประเมินตามเกณฑ์การประเมินทุกตัวชี้วัด
4.2. ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่มีต่อโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนห้วยซ้อวิทยาคม รัชมังคลาภิเษก โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีความพึงพอใจโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากทุกรายการ ได้แก่ การอดออม ประหยัด รู้จักใช้ทรัพย์สินอย่างคุ้มค่า ความรับผิดชอบ ความสามัคคี มีเมตตากรุณา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ การเรียนรู้
ผลการประเมินภาพรวมของโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนห้วยซ้อวิทยาคม รัชมังคลาภิเษก พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด และผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาผลการประเมินทั้ง 4 ด้าน ด้านบริบท ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนด้านปัจจัย มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก และผ่านเกณฑ์การประเมินทุกด้าน เมื่อจำแนกผลการประเมินตามตัวชี้วัดทั้ง 21 ตัวชี้วัด ผ่านเกณฑ์การประเมินจำนวน 21 ตัวชี้วัด โดยมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด 18 ตัวชี้วัด ผลการประเมินอยู่ในระดับมาก 3 ตัวชี้วัด