รายงานโครงการพัฒนาการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
1. ศึกษาสภาพการพัฒนาการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านมังกาล่า สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 ด้วยรูปแบบกระบวนการดำเนินงาน TRUST MODEL พบว่า
1.1 ผลศึกษาในภาพรวมพบว่าความเหมาะสมของรูปแบบกระบวนการดำเนินงาน มีความเหมาะสมมากที่สุด รองลงมา คือความเป็นประโยชน์ของรูปแบบกระบวนการดำเนินงาน มีความเป็นประโยชน์มากที่สุด และความเป็นไปได้ของรูปแบบกระบวนการดำเนินงาน หมายถึง ความคิดเห็นเพื่อรายงานกระบวนการบริหารงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีความเป็นไปได้มาก ตามลำดับ
1.2 ผลการรายงานคุณภาพด้านความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ ของกิจกรรมการส่งเสริมพัฒนาทักษะด้านต่าง ๆ ของนักเรียนในโครงการการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในภาพรวมพบว่า ความเป็นไปได้ของของรูปแบบกระบวนการดำเนินงานทั้ง 5 กิจกรรม มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือ ความเหมาะสมมากที่สุด และมีความเป็นประโยชน์มากที่สุด ตามลำดับ
2. ศึกษาแนวทางการพัฒนากระบวนการบริหารงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามวงจรคุณภาพ PDCA ทั้ง 5 ด้าน มีระดับความเหมาะสมการปฏิบัติงานอยู่ในระดับบ่อย ซึ่งผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ เรียงตามลำดับ คือ การป้องกันและแก้ไขปัญหา การส่งต่อ การคัดกรองนักเรียน การส่งเสริมนักเรียน และการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน สรุปได้ดังนี้
2.1 ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคลโดยรวม มีความเหมาะสม/ปฏิบัติงานอยู่ในระดับบ่อย เมื่อพิจารณาแต่ละขั้น พบว่า ขั้นการวางแผน (P) รายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ผู้บริหารประชุมปรึกษาหารือเพื่อกำหนดโครงสร้างบุคลากร เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนประกอบด้วย คณะกรรมการอำนวยการ คณะกรรมการประสานงาน และคณะกรรมการดำเนินงาน ขั้นดำเนินงานตามแผน (D) รายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ครูที่ปรึกษานำข้อมูล มาทำการวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสาร คู่มือ และแบบบันทึกการเยี่ยมบ้านตามปฏิทินการปฏิบัติงาน ขั้นติดตามประเมินผล (C) รายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ คณะกรรมการตรวจสอบ ติดตามผลการดำเนินงานตามปฏิทินการปฏิบัติงาน ขั้นปรับปรุงแก้ไข/ดำเนินการต่อ (A) รายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ผู้บริหารและคณะกรรมการกำหนดแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล
2.2 ด้านการคัดกรองนักเรียนโดยรวม มีความเหมาะสม/การปฏิบัติงานอยู่ในระดับบ่อย เมื่อพิจารณาแต่ละขั้น พบว่า ขั้นการวางแผน (P) รายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ผู้บริหาร คณะกรรมการ จัดประชุมชี้แจงเพื่อกำหนดเกณฑ์การจัดกลุ่มนักเรียน ขั้นดำเนินงานตามแผน (D) รายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ครูที่ปรึกษาให้คำปรึกษาเบื้องต้นและดูแลช่วยเหลือนักเรียน ให้ผู้เรียนพัฒนาตนเองได้ตามศักยภาพ ขั้นติดตามรายงานผล (C) รายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ คณะกรรมการตรวจสอบ ติดตามผลการดำเนินงานตามปฏิทินการปฏิบัติงาน ขั้นปรับปรุงแก้ไข/ดำเนินการต่อ (A) รายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ผู้บริหารและคณะกรรมการดำเนินงานนำผลการประเมินมาปรับปรุงและดำเนินการตามแผนการครั้งต่อไปอย่างต่อเนื่อง
2.3 ด้านการส่งเสริมนักเรียนโดยรวม มีความเหมาะสม/ปฏิบัติงานอยู่ในระดับบ่อย เมื่อพิจารณาแต่ละขั้น พบว่า ขั้นการวางแผน (P) รายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ผู้บริหารแต่งตั้งครู ที่ปรึกษาและคณะกรรมการดำเนินงาน เพื่อจัดทำเอกสาร คู่มือการปฏิบัติงาน ขั้นดำเนินงานตามแผน (D) รายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ครูที่ปรึกษาจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อให้ความรู้และส่งเสริมทักษะให้กับนักเรียนเป็นรายบุคคล ขั้นติดตามรายงานผล (C) รายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ครูที่ปรึกษาสรุปผลการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพนักเรียน ตามความสามารถ ความสนใจและความถนัดของผู้เรียน ขั้นปรับปรุงแก้ไข/ดำเนินการต่อ (A) รายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ผู้บริหารและคณะกรรมการดำเนินงานนำข้อมูลที่ได้รับจากแบบรายงานมาตัดสินใจร่วมกันเพื่อการส่งเสริมและให้การดูแลช่วยเหลืออย่างมีประสิทธิภาพ
2.4 ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาโดยรวม มีความเหมาะสม/ปฏิบัติงานอยู่ในระดับบ่อยครั้ง เมื่อพิจารณาแต่ละขั้น พบว่า ขั้นการวางแผน (P) รายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ คณะกรรมการดำเนินงานวางแผนจัดทำแบบฟอร์มการบันทึกกิจกรรมการป้องกันและช่วยเหลือนักเรียนรายบุคคล ขั้นดำเนินงานตามแผน (D) รายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ครูที่ปรึกษาจัดกิจกรรมทั้งในและนอกห้องเรียน เพื่อป้องกัน แก้ไขการส่งเสริมพัฒนานักเรียนทุกคน ขั้นติดตามรายงานผล (C) รายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ครูที่ปรึกษาสรุปรายงานแจ้งผลระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้คณะกรรมการพิจารณา ขั้นปรับปรุงแก้ไข/ดำเนินการต่อ (A) รายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ผู้บริหารและคณะกรรมการดำเนินงานนำข้อมูลที่ได้รับจากแบบรายงานมาตัดสินใจร่วมกันเพื่อการส่งเสริมและให้การดูแลช่วยเหลืออย่างมีประสิทธิภาพ
2.5 ด้านการส่งต่อโดยรวม มีความเหมาะสม/ปฏิบัติงานอยู่ในระดับบ่อย เมื่อพิจารณาแต่ละขั้นพบว่า ขั้นการวางแผน (P) รายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ คณะกรรมการดำเนินงาน จัดประชุมชี้แจง การจัดทำเอกสาร คู่มือ แบบบันทึก และกำหนดปฏิทินการติดตามในการวางแผน ขั้นดำเนินงานตามแผน (D) รายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ครูที่ปรึกษาประสานงานกับครูที่รับผิดชอบระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน เพื่อให้ทราบขั้นตอนการปฏิบัติงาน ขั้นติดตามรายงานผล (C) รายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ครูที่ปรึกษาสรุปผลและบันทึกผลลงในแบบบันทึกการส่งต่อของโรงเรียน ขั้นปรับปรุงแก้ไข/ดำเนินการต่อ (A) รายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ผู้บริหารสถานศึกษา คณะกรรมการดำเนินงานประชุมสรุปผลระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเป็นรายบุคคล
3. ผลการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านมังกาล่า สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 พบว่า
3.1 ผลการประเมิน แต่ละกิจกรรมในภาพรวมพบว่ามีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาแต่ละกิจกรรมพบว่า 1) กิจกรรม ลูกเสือ และเนตรนารี มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก รายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การวัดและรายงานผลกิจกรรมลูกเสือและเนตรนารีตามมาตรฐานของการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 2) กิจกรรมส่งเสริมทักษะอาชีพ มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก รายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การวัดและรายงานผลการจัดกิจกรรมส่งเสริมทักษะอาชีพตามกิจกรรมกลุ่มที่กำหนดไว้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการการวัดและประเมินผลการจัดกิจกรรมส่งเสริมทักษะอาชีพ 3) กิจกรรมชุมนุม (ค้นหาความรู้ด้วยตนเอง) มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด รายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ มีการแต่งตั้งคณะกรรมการการวัดและรายงานผลการจัด/กิจกรรมชุมนุม (ค้นหาความรู้ด้วยตนเอง) 4) กิจกรรมเด็กดีศรีมังกาล่า มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด รายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การวัดและรายงานผลการปฏิบัติกิจกรรมกิจกรรมเด็กดีศรีมังกาล่า ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ 5) กิจกรรมห่างไกลยาเสพติด มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก รายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ มีการประชุมชี้แจงการวัดและรายงานผลกิจกรรมห่างไกลยาเสพติดตามสภาพจริง
3.2 ผลการรายงานการสังเกตพฤติกรรมของนักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมในภาพรวมพบว่าอยู่ในระดับบ่อยครั้ง เมื่อพิจารณาแต่ละพฤติกรรม พบว่า 1) พฤติกรรมด้านความรับผิดชอบ พบว่า นักเรียนทำงานที่ได้รับมอบหมายเสร็จทันตามเวลาที่กำหนด นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมหน้าเสาธงเป็นประจำ นักเรียนมาโรงเรียนก่อนทำกิจกรรมหน้าเสาธงเพื่อปฏิบัติตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายตามบริเวณที่รับผิดชอบ 2) พฤติกรรมด้านความมีระเบียบวินัย พบว่า นักเรียนเข้าแถวรับอาหารกลางวันและเข้าแถวซื้อของ นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมหน้าเสาธงเป็นประจำ นักเรียนมีมารยาท ในการไหว้ รู้จักทำความเคารพคณะครูและผู้มาติดต่อราชการเป็นประจำ 3) พฤติกรรมด้านความมีจิตสาธารณะ พบว่า นักเรียนมีน้ำใจช่วยเหลือและงานครูเพื่อนและคนอื่น ๆ ด้วยความเต็มใจ นักเรียนปิดน้ำ ปิดไฟ ปิดพัดลมภายหลังเลิกใช้แล้วทุกครั้ง นักเรียนมีความรักในโรงเรียนเห็นประโยชน์ขององค์กรมากกว่าประโยชน์ส่วนตน 4) พฤติกรรมด้านความมีน้ำใจ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ พบว่า นักเรียนมีน้ำใจต่อผู้อื่นและผู้ร่วมงาน นักเรียนเห็นเพื่อนมีความเดือดร้อนยื่นมือไปช่วยตามกำลังของตน นักเรียนรู้จักแบ่งปันสิ่งของให้เพื่อน นักเรียนช่วยเหลือกันเห็นประโยชน์ส่วนรวมมากกว่า ตามลำดับ