รายงานการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานด้วยกระบวนการ ๖ ขั้นตอน
เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
ผู้วิจัย : นางไอนี สุระกำแหง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนบ้านตะโละใส
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล
ปีที่วิจัย : ปีการศึกษา ๒๕๖๓
บทคัดย่อ
การจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานด้วยกระบวนการ ๖ ขั้นตอน เพื่อพัฒนาทักษะ การอ่านและการเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ มีวัตถุประสงค์ ๑)เพื่อใช้วิธีการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน ด้วยกระบวนการ ๖ ขั้นตอน เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ที่มีประสิทธิภาพให้เป็นไปตามเกณฑ์ ๘๐/๘๐ ๒) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการใช้วิธีการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน ด้วยกระบวนการ ๖ ขั้นตอน เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๓ โรงเรียนบ้านตะโละใส สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล จำนวน ๓๐ คน เนื้อหาที่ใช้ในการวิจัย คือ เรื่อง สระเสียงยาว (สระ อา อี อู เอ แอ อือ โอ ใอ ไอ) โดยจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน ๑๑ แผน ระยะเวลาที่ทำการวิจัย ใช้เวลา ๒๐ ชั่วโมง ซึ่งรวมการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน ทำการวิจัยในเวลาเรียนปกติ ในปีการศึกษา ๒๕๖๓ สัปดาห์ละ ๑ - ๒ ชั่วโมง ตัวแปรที่วิจัยได้แก่ ๑) ตัวแปรต้น คือ วิธีการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน ด้วยกระบวนการ ๖ ขั้นตอน เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ เรื่อง สระเสียงยาว (สระ อา อี อู เอ แอ อือ โอ ใอ ไอ) ๒) ตัวแปรตาม ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการใช้วิธีการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน ด้วยกระบวนการ ๖ ขั้นตอน เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ค่า ร้อยละ (% ) ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( ) และทดสอบค่าที ( t-test)
ผลการวิจัยพบว่า ๑) ผลการหาประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน ด้วยกระบวนการ ๖ ขั้นตอน เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนบ้านตะโละใส เรื่อง สระเสียงยาว (สระ อา อี อู เอ แอ อือ โอ ใอ ไอ) มีประสิทธิภาพ (E_(1 )/ E_2) เท่ากับ ๘๐.๑๑ / ๘๒.๓๓ สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ ๘๐ / ๘๐ เป็นไปตามสมมติฐานที่กำหนดไว้ ๒) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนบ้านตะโละใส จากการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน ด้วยกระบวนการ ๖ ขั้นตอน เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง สระเสียงยาว (สระ อา อี อู เอ แอ อือ โอ ใอ ไอ) โดยก่อนเรียนได้คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ ๑๖.๓๐ จากคะแนนเต็ม ๓๐ คะแนน คิดเป็นร้อยละ ๕๔.๔๔ และหลังเรียน ได้คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ ๒๔.๗๐ จากคะแนนเต็ม ๓๐ คะแนน คิดเป็นร้อยละ ๘๒.๓๓ ค่าคะแนนเฉลี่ยหลังเรียน มีค่าการพัฒนาตั้งแต่ ๒ – ๒๒ คะแนน เมื่อรวมคะแนนความแตกต่างก่อนและหลังเรียน พบว่า มีค่าความแตกต่างเท่ากับ ๘.๓๗ คะแนน และได้ค่าผลรวมของค่าความแตกต่างแต่ละตัวยกกำลังสองเท่ากับ ๑๐๕.๓๗ คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน ด้วยกระบวนการ ๖ ขั้นตอน เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑โรงเรียนบ้านตะโละใส เรื่อง สระเสียงยาว (สระ อา อี อู เอ แอ อือ โอ ใอ ไอ) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ .๐๕ เป็นไปตามสมมติฐานที่กำหนดไว้