แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง MI - The Theory
จัดทำโดย คุณครูนาฏกนิษฐ์ ทิศทะษะ
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
วิชา ภาษาอังกฤษพื้นฐาน รหัสวิชา อ33101
เรื่อง MI - The Theory เวลา 2 ชั่วโมง
สอนวันที่ 9 เดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2557 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557
สอนโดย คุณครูนาฏกนิษฐ์ ทิศทะษะ
1. สาระสำคัญ
การอ่านเพื่อความเข้าใจจะทำให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจเนื้อหาที่อ่านและประเมินค่าสิ่งที่อ่านเพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวันและหากผู้เรียนได้มีโอกาสฝึกอ่านอยู่บ่อยๆจะทำให้ เกิดการพัฒนาทักษะดังกล่าวเพิ่มมากขึ้น มีความเข้าใจในการอ่าน โดยเฉพาะเนื้อหาที่ผู้อ่านมีประสบการณ์เดิม จะช่วยให้นักเรียนเกิดทักษะในการลำดับขั้นตอน และแสวงหาข้อมูล ข้อเท็จจริงตามที่ต้องการ เป็นพื้นฐานของการอ่านในระดับที่สูงขึ้น และสามารถนำความรู้มาใช้ ในชีวิตประจำวันได้
2. มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด
สาระที่ 1 : ภาษาเพื่อการสื่อสาร
มาตรฐาน ต 1.1 เข้าใจและตีความเรื่องที่ฟังและอ่านจากสื่อประเภทต่าง ๆ และแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล
ตัวชี้วัด ม.6/4 จับใจความสำคัญ วิเคราะห์ความ สรุปความ ตีความคิดเห็น จากการฟังและอ่านเรื่องที่เป็นสารคดีและบันเทิง พร้อมทั้งให้เหตุผลและยกตัวอย่างประกอบ
มาตรฐาน ต 1.3 นำเสนอข้อมูลข่าวสาร ความคิดรวบยอด และความคิดเห็นในเรื่องต่างๆ โดยการพูดและการเขียน
ตัวชี้วัด 6/2 พูดและเขียนสรุปใจความสำคัญแก่นสาระที่ได้จากการวิเคราะห์ เรื่อง กิจกรรม ข่าว เหตุการณ์ และสถานการณ์ตามความสนใจ
สาระที่ 3 ภาษากับความสัมพันธ์กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น
มาตรฐาน ต 3.1 ใช้ภาษาต่างประเทศในการเชื่อมโยงความรู้กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น และเป็นพื้นฐานในการพัฒนาและเปิดโลกทัศน์ของตน
3. จุดประสงค์การเรียนรู้
3.1 จุดประสงค์ปลายทาง
นักเรียนสามารถระบุรายละเอียดข้อเท็จจริง เข้าใจเรื่องที่อ่าน และ สรุปใจความสำคัญเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านได้
3.2 จุดประสงค์นำทาง
3.2.1 นักเรียนสามารถบอกความหมายของคำศัพท์ในบทอ่านได้
3.2.2 นักเรียนสามารถอภิปรายเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านได้
3.2.3 นักเรียนสามารถกรอกรายละเอียดและใจความสำคัญลงในตาราง KWL ได้ถูกต้อง
3.2.4 นักเรียนสามารถเขียนสรุปใจความสำคัญและใช้ข้อมูลจากแผนภูมิความหมายได้
3.2.5 นักเรียนสามารถทราบจุดมุ่งหมายของผู้เขียนได้
4. สมรรถนะที่สำคัญของผู้เรียน
4.1 ความสามารถในการสื่อสาร
4.2 ความสามารถในการคิด
4.3 ความสามารถในการแก้ปัญหา
5. คุณลักษณะอันพึงประสงค์
5. 1 ซื่อสัตย์ สุจริต
5. 2 มีวินัย
5. 3 ใฝ่เรียนรู้
5. 4 มุ่งมั่นในการทำงาน
6. สัมพันธ์กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
7. สาระการเรียนรู้
บทอ่าน : Magazine Article (MI- The Theory)
คำศัพท์ ได้แก่ psychologist, capacity, individual (individually), perceive, recognize, infancy, education (educational), intelligence (intelligent), property, category, agility, re-examine
8. กระบวนการเรียนรู้
กระบวนการสอน KWL-Plus A
กระบวนการกลุ่ม
9. กิจกรรมการจัดการเรียนรู้
ชั่วโมงที่ 1
Warm-up
1. ครูทักทายนักเรียน พร้อมกับเขียน ‘Intelligence’ บนกระดานและถามนักเรียนว่า
Do you know, what is the Intelligence?
ถ้านักเรียนยังตอบไม่ได้ครูอาจให้ clue ดังนี้
It’s about your brain.
It is about your thinking.
It is cleverness. Etc…
นักเรียนตอบว่าความชาญฉลาดหรือเชาว์ปัญญา และให้นักเรียนเล่นเกมส์
Guess, what? ที่ครูเตรียมไว้
2. นักเรียนแจกแบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยวิธีสอน
แบบ KWL- Plus เล่ม 2 เรื่อง MI – The Theory
Pre - reading
ขั้นสิ่งที่นักเรียนรู้ K (What I Know)
3. ครูแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ และทำความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้
กลยุทธ์ในการทำความเข้าใจบทอ่านโดยใช้วิธีสอน KWL- Plus A และบอกเกณฑ์การประเมินผล
4. นักเรียนแบ่งกลุ่มๆละ 8 คน ทั้งหมด 5 กลุ่ม โดยคละนักเรียนที่เรียนเก่ง ปานกลาง อ่อน
5. นักเรียนปฏิบัติตามขั้นตอนการใช้แบบฝึกทักษะฯและครูกำชับนักเรียนเรื่องความซื่อสัตย์ในการใช้แบบฝึกด้วยเนื่องจากในแบบฝึกมีเฉลยในเล่มด้วย
6. นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียนในเวลาที่กำหนด
7. ครูถามนักเรียนว่า นักเรียนอยากทราบหรือไม่ว่าตนเองมีความชาญฉลาดกี่ด้านและด้านใดบ้าง นักเรียนตอบคำถามตามแต่พื้นความรู้เดิม และตามความรู้สึกนึกคิด
8. ครูรับฟังคำตอบแต่ยังไม่เฉลย แล้วบอกนักเรียนว่า ถ้าอยากรู้ให้ตั้งใจทำกิจกรรม ในแผนภูมิ KWL- Plus และให้นักเรียนกรอกข้อมูลที่นักเรียนรู้เกี่ยวกับ MI-The Theory ลงในช่อง ‘What I know’
9. นักเรียนกรอกข้อมูลโดยใช้เวลาประมาณ 3- 5 นาที โดยครูเดินดูรอบๆเพื่อให้คำแนะนำ
10. เมื่อนักเรียนกรอกข้อมูลเสร็จแล้ว ครูให้นักเรียนตั้งคำถามว่านักเรียนอยากรู้อะไรบ้างเกี่ยวกับ MI-The Theory โดยให้นักเรียนตอบปากเปล่า
11. แบ่งนักเรียนเป็นกลุ่มตามเดิม คละนักเรียน เก่ง-ปานกลาง-อ่อน นักเรียนแต่ละกลุ่ม
ครูทบทวนการสรุปความ จากนั้นให้นักเรียนศึกษาตามขั้นตอนของแบบฝึกฯ
12. นักเรียนจับคู่ แล้วทำ Worksheet 1 แล้วให้นักเรียนช่วยกันจับคู่คำศัพท์
13. ครูเดินสำรวจการทำกิจกรรมของนักเรียน เมื่อมั่นใจว่านักเรียนทำกิจกรรมเสร็จแล้ว ก็ช่วยกันเฉลยและระดมความคิดเกี่ยวกับความหมายของคำศัพท์ โดยการถาม elicit และตรวจสอบว่านักเรียนเข้าใจความหมายคำศัพท์อย่างแท้จริง
While-reading
ขั้นสิ่งที่นักเรียนต้องการรู้อะไร W (What I want to know)
14. นักเรียนสำรวจบทความ MI – The Theory
15 นักเรียนทำ Worksheet 2 แล้วให้นักเรียนอ่านคำถามเกี่ยวกับลทอ่านแล้วตอบคำถาม Exercise 1 และครูถามความหมายและตรวจสอบนักเรียนว่าเข้าใจคำถามหรือไม่ แล้วให้นักเรียนตอบคำถามโดยใช้วิธีการการอ่านแบบกวาดสายตา (Scanning) โดยกำหนดเวลาให้ 3 นาที
16. ครูเดินสำรวจนักเรียนขณะทำกิจกรรม เมื่อนักเรียนตอบคำถามเสร็จแล้ว ครูให้นักเรียนช่วยกันตอบคำถาม ครูเขียนคำตอบบนกระดาน แต่ยังไม่เฉลย แล้วถามนักเรียนว่าพบคำตอบ ได้อย่างไร และใช้กลวิธีหรือมีวิธีการอย่างไรให้พบคำตอบ
17. นักเรียนตรวจสอบคำตอบของตนเองอีกครั้งหนึ่งโดยการอ่านบทความอย่างละเอียด
18. นักเรียนร่วมกันเฉลยคำตอบกับครู พร้อมทั้งอธิบายให้นักเรียนฟังว่าการอ่านแบบกวาดสายตา (Scanning) เป็นสิ่งที่ปฏิบัติกันเสมอในชีวิตจริง เราไม่จำเป็นต้องอ่านทุกบรรทัด และการอ่านแบบกวาดสายตาสามารถทำให้เรามองหาข้อมูลที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว โดยสังเกตจากตัวเลข คำที่เป็นตัวเลข และตัวพิมพ์ใหญ่ (Capital Letter)
19. นักเรียนทำ Exercise 2 โดยให้นักเรียนใช้ความรู้จากการอ่านและถ้าไม่มั่นใจก็ให้อ่านบทความได้อีกโดยใช้การอ่านแบบ scanning ครูเดินดูรอบชั้นเรียนเพื่อสังเกตการทำกิจกรรม ของนักเรียน
20. ครูและนักเรียนช่วยกันเฉลยแบบฝึก ให้คำชมเชยกับนักเรียนที่ตอบถูกต้อง
21. นักเรียนทำ Worksheet 3 แล้ว ครูอธิบายว่าในบทอ่านนักเรียนจะพบคำศัพท์ที่ใช้ด้วยกัน แล้วให้นักเรียนลงมือทำ Exercise 1 โดยให้จับคู่คำศัพท์ที่ใช้ด้วยกัน แล้วนำคำศัพท์ที่ได้มาเติมลงใน Exercise 2 ให้ถูกต้องตามหลักภาษา
22. นักเรียนเปรียบเทียบคำตอบกับคู่นักเรียนอื่นๆ
23. ครูและนักเรียนช่วยกันเฉลยคำตอบ ครูชมเชยนักเรียนที่ตอบคำถามถูกต้อง และให้นักเรียนกลับที่นั่งของตนเอง
24. นักเรียนทำ Worksheet 4 โดยกรอกข้อมูลที่นักเรียนเขียนไว้ ใน What I know ในตอนต้น แล้วอ่านคำถามใน What I want to learn แล้วครูให้นักเรียนตอบคำถาม ใน What I have learned
25. นักเรียนอ่านบทอ่านต่อไปจนจบ บันทึกข้อมูลลงในคอลัมน์ L เหมือนกิจกรรมในข้อ 8
26. หลังจากนั้นนักเรียนร่วมกันตรวจสอบว่า ได้รับคำตอบครบทุกข้อตามคอลัมน์ W และถูกต้องตามที่ปรากฏในบทอ่านหรือไม่
27. นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอข้อมูลในคอลัมน์ L ครูและนักเรียนช่วยกันตรวจสอบความถูกต้อง สมบูรณ์ของข้อมูล หากกลุ่มใดมีข้อมูลในคอลัมน์ L ไม่ถูกต้อง สมบูรณ์ สามารถแก้ไขและบันทึกเพิ่มเติมลงในคอลัมน์ L
ชั่วโมงที่ 2
Post-reading
นักเรียนได้เรียนรู้อะไร L (What I have learned)
28. นักเรียนแต่ละกลุ่มระดมพลังสมอง อภิปราย คิดวิเคราะห์ เพื่อรวบรวมข้อมูลในคอลัมน์ L มาจัดจำแนกประเภทข้อมูล จัดลำดับหัวข้อ ใจความสำคัญ ใจความสนับสนุน และรายละเอียด อื่น ๆ เขียนสรุปใจความสำคัญลงในแผนภูมิความหมาย ใน worksheet 4
29. นักเรียนแต่ละกลุ่มนำข้อมูลจากการกรอกข้อมูลลงในแผนภูมิความหมาย มาเขียนสรุปใจความสำคัญ ใน worksheet 5 และ 6
กิจกรรมการสร้างผังความคิด (Mind Mapping)
ครูแนะนำการจัดประเภทของข้อมูลและความสัมพันธ์ของข้อมูลในเบื้องต้นก่อนจากนั้นนักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันจัดประเภทและหาความสัมพันธ์ของข้อมูลเพื่อสร้างผังความคิด และความสัมพันธ์กันตรงตามเรื่องที่อ่าน
30. นักเรียนเขียนแผนผังความคิดลงในใบงาน KWL-Plus A
31. นักเรียนเขียนจุดมุ่งหมายของผู้เขียนลงในแผนผัง
32. นักเรียนแต่ละคนทำแบบทดสอบหลังเรียน
33. ครูตรวจผลงานของนักเรียน 4 รายการคือการเขียนสรุปใจความสำคัญลงในแผนภูมิ
ความหมาย การเขียนสรุปใจความสำคัญโดยใช้ข้อมูลจากแผนภูมิความหมายและการทดสอบย่อย บันทึกคะแนนในตอนท้ายของแบบฝึกเพื่อนำผลพัฒนาต่อไป
10. สื่อ วัสดุอุปกรณ์ และแหล่งเรียนรู้
1. เกม Guess, what? (เดาใจเธอ) 1 รายการ นำเข้าสู่บทเรียน
2. บทความ MI - The Theory 1 ฉบับ ปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้
3. Worksheet 1 - Worksheet 6 1 ฉบับ ฝึกทักษะและปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้ พัฒนาศักยภาพ
4. แบบทดสอบหลังเรียน 1 ฉบับ ประเมินผลการเรียนรู้
11. การวัดผลและประเมินผล
1. ปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้ ตรวจผลงาน Worksheet 1-3 ร้อยละ 80
2. พฤติกรรมประเเมินการสังเกต แบบสังเกตพฤติกรรมกลุ่ม ระดับดี
3. ศักยภาพ ตรวจผลงาน Worksheet 4-6 ร้อยละ 80
4. ผลการเรียนรู้ ทดสอบ แบบทดสอบย่อยหลังเรียน ร้อยละ 80
11.1 เกณฑ์การประเมินผล
11.1.1 เกณฑ์การให้คะแนนแต่ละองค์ประกอบ
ตอบถูก ได้ 1 คะแนน
ตอบผิดหรือไม่ตอบ ได้ 0 คะแนน
11.1.2 เกณฑ์การให้คะแนนแต่ละองค์ประกอบ
4 หมายถึง ดีมาก
3 หมายถึง ดี
2 หมายถึง พอใช้
1 หมายถึง ควรปรับปรุง