การประเมินโครงการระบบช่วยเหลือนักเรียน
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการระบบช่วยเหลือนักเรียนตามหลักการทรงงาน “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” ของโรงเรียนบ้านโคกสูงคูขาด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 โดยมีการประเมิน 4 ด้าน ดังนี้ ด้านบริบท ด้านปัจจัยพื้นฐาน ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต ที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ คณะครูโรงเรียนบ้านโคกสูงคูขาด จำนวน 14 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (ที่ไม่ใช่ผู้แทนครูหรือผู้บริหารสถานศึกษา) จำนวน 7 คน ผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนบ้านโคกสูงคูขาด จำนวน 132 คน ปีการศึกษา 2564 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วยแบบสอบถาม มีจำนวน 5 ฉบับ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย (µ) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน () และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) สรุปผลการประเมิน ดังนี้
ผลการศึกษาพบว่า
การประเมินโครงการระบบช่วยเหลือนักเรียนตามหลักการทรงงาน “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” ของโรงเรียนบ้านโคกสูงคูขาด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน โดยรวมอยู่ระดับมากที่สุด และความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมอยู่ระดับมากที่สุด เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน ดังนี้
1. ผลการประเมินด้านบริบท ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน อยู่ในระดับมากที่สุด และความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อยู่ในระดับมากที่สุด
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้น ความพร้อมของครูผู้สอนอยู่ในระดับมากที่สุด และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานอยู่ในระดับมาก
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการ ความคิดเห็นของครูผู้สอนอยู่ในระดับมากที่สุด และความคิดเห็นคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานอยู่ในระดับมากที่สุด
4. ผลการประเมินด้านผลผลิตเกี่ยวกับด้านการเรียนตามสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัส โควิด 19 ด้านทักษะชีวิต และด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ความคิดเห็นของครูผู้สอนอยู่ในระดับมาก คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานอยู่ในระดับมาก และความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียนอยู่ในระดับมาก
5. ผลการประเมินด้านผลผลิตเกี่ยวกับความพึงพอใจตามความคิดเห็นของครูผู้สอนอยู่ในระดับมากที่สุด คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานอยู่ในระดับมากที่สุด และผู้ปกครองนักเรียนอยู่ในระดับมากที่สุด