การพัฒนารูปแบบคุณธรรมจริยธรรม ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื
เพื่อส่งเสริมทักษะชีวิต สำหรับนักเรียนโรงเรียนวัดหลักสี่ราษฎร์สโมสร
ผู้วิจัย นายศักดิ์ณรงค์ บุญเรือง ผู้อำนวยการสถานศึกษา
สถานศึกษา โรงเรียนวัดหลักสี่ราษฎร์สโมสร สังกัดกองการศึกษา องค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสาคร อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร
ปีที่วิจัย 2564
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องการพัฒนารูปแบบคุณธรรมจริยธรรม ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อส่งเสริมทักษะชีวิต สำหรับนักเรียนโรงเรียนวัดหลักสี่ราษฎร์สโมสรใช้วิธีดำเนิน การวิจัยวิจัยและพัฒนา (Research and Development : R&D) โดยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัย1) เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบคุณธรรมจริยธรรม ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อส่งเสริมทักษะชีวิต สำหรับนักเรียนโรงเรียนวัดหลักสี่ราษฎร์สโมสร 2) เพื่อสร้างรูปแบบคุณธรรมจริยธรรม ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อส่งเสริมทักษะชีวิต สำหรับนักเรียนโรงเรียนวัดหลักสี่ราษฎร์สโมสร 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบคุณธรรมจริยธรรม ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อส่งเสริมทักษะชีวิต สำหรับนักเรียนโรงเรียนวัดหลักสี่ราษฎร์สโมสร 4) เพื่อประเมินความพึงพอใจของครู นักเรียนและผู้ปกครองที่มีต่อการใช้รูปแบบคุณธรรมจริยธรรม ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อส่งเสริมทักษะชีวิต สำหรับนักเรียนโรงเรียนวัดหลักสี่ราษฎร์สโมสร กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยใช้หลักการของ ยามาเน่ (Yamane 1973) ที่มีค่าความคาดเคลื่อนร้อยละ 5 และทำการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย(Simple Random Sampling) ประกอบด้วยครูจำนวน 39 คน นักเรียนจำนวน 602 คน และผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 602 คน เครื่องมือที่ใช้ ประกอบด้วย 1. แบบวิเคราะห์เอกสารที่ใช้ศึกษาความต้องการในการพัฒนารูปแบบคุณธรรมจริยธรรม ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อส่งเสริมทักษะชีวิต สำหรับนักเรียนโรงเรียนวัดหลักสี่ราษฎร์สโมสรของครูและนักเรียน 2. แบบสัมภาษณ์ แบบมีโครงสร้าง โดยสัมภาษณ์ ครู นักเรียน รูปแบบคุณธรรมจริยธรรม ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อส่งเสริมทักษะชีวิต สำหรับนักเรียนโรงเรียนวัดหลักสี่ราษฎร์สโมสร 3. แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และแบบสอบถามความคิดเห็นของครู นักเรียนและผู้ปกครองที่มีต่อรูปแบบคุณธรรมจริยธรรม ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อส่งเสริมทักษะชีวิต สำหรับนักเรียนโรงเรียนวัดหลักสี่ราษฎร์สโมสร 4. แบบสอบถามความเหมาะสมและความเป็นไปได้ ของรูปแบบคุณธรรมจริยธรรม ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อส่งเสริมทักษะชีวิต สำหรับนักเรียนโรงเรียนวัดหลักสี่ราษฎร์สโมสร 5. แบบประเมินคุณลักษณะความพอเพียงในการดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของครูและนักเรียน โรงเรียนวัดหลักสี่ราษฎร์สโมสร และ 6. แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบคุณธรรมจริยธรรม ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อส่งเสริมทักษะชีวิต สำหรับนักเรียนโรงเรียนวัดหลักสี่ราษฎร์สโมสร การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
การวิจัยเรื่องการพัฒนารูปแบบคุณธรรมจริยธรรม ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อส่งเสริมทักษะชีวิต สำหรับนักเรียนโรงเรียนวัดหลักสี่ราษฎร์สโมสร สามารถสรุปผลการวิจัยได้ดังนี้
1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบคุณธรรมจริยธรรม ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อส่งเสริมทักษะชีวิต สำหรับนักเรียนโรงเรียนวัดหลักสี่ราษฎร์สโมสร ผลจากการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับนโยบายการศึกษา แผนการศึกษาแห่งชาติพระราช บัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 พ.ศ. 2545 เป้าหมายการสร้าง ครูและนักเรียน ให้มีความพอเพียงตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง แนวคิด ทฤษฎี วรรณกรรมและงานวิจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญในการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ โดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ซึ่งผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ สรุปได้ดังนี้
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานเชิงนโยบายการศึกษา แผนการศึกษาแห่งชาติ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 พ.ศ. 2545 วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคของสถานศึกษา (SWOT Analysis) พบว่า พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 พ.ศ. 2545 มีเจตนารมณ์ที่ต้องการเน้นย้ำว่าการจัดการ ศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิตสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข โดยยึดหลักดังนี้ 1) การศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน 2) ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา 3) การพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง โรงเรียนวัดหลักสี่ราษฎร์สโมสร เป็นสถานศึกษาที่ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากชุมชนในกิจกรรมต่าง ๆ และมีคณะกรรมการสถานศึกษาที่เข้มแข็งเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการร่วมกับสถานศึกษาได้เป็นอย่างดี
ผลการวิเคราะห์หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 พบว่าหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งพัฒนานักเรียนทุกคนซึ่งเป็นกำลังของชาติให้เป็นมนุษย์ที่มีความสมดุลทั้งด้านร่างกาย ความรู้ คุณธรรม มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทย และเป็นพลโลก ยึดมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีความรู้และทักษะพื้นฐาน รวมทั้ง เจตคติที่จำเป็นต่อการศึกษาต่อการประกอบอาชีพ และการศึกษาตลอดชีวิต โดยมุ่ง เน้นนักเรียนเป็นสำคัญบนพื้นฐานความเชื่อว่าทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ และมุ่งพัฒนานักเรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข ทั้งในฐานะพลเมืองไทยและพลโลก ดังนี้ 1) รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ 2) ซื่อสัตย์สุจริต 3) มีวินัย 4) ใฝ่เรียนรู้ 5) อยู่อย่างพอเพียง 6) มุ่งมั่นในการทำงาน 7) รักความเป็นไทยและ 8) มีจิตสาธารณะ
ผลการวิเคราะห์เป้าหมายการสร้างความพอเพียงของครูและนักเรียนโรงเรียนวัดหลักสี่ราษฎร์สโมสร พบว่า นักเรียนโรงเรียนวัดหลักสี่ราษฎร์สโมสร ยังไม่มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามเป้าหมายของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ครบทั้ง 8 ข้อ โดยเฉพาะคุณลักษณะการอยู่อย่างพอเพียง มุ่งมั่นในการทำงาน และการมีจิตสาธารณะยังต้องได้รับการพัฒนาปลูกฝังเพื่อให้เกิดคุณลักษณะดังกล่าว และนักเรียนยังมีความฟุ่มเฟือย เช่น การใช้โทรศัพท์มือถือราคาแพง การใช้จ่ายที่สิ้นเปลือง ไม่รู้จักวางแผน ขาดการออม เป็นต้น จึงจำเป็นอย่ายิ่งที่จะสร้างเสริมคุณลักษณะความพอเพียงให้เกิดขึ้นและคงอยู่ตลอดไป
ผลการวิเคราะห์การจัดการเรียนการสอนและการปฏิบัติของครูและนักเรียนโรงเรียนวัดหลักสี่ราษฎร์สโมสร จากการสัมภาษณ์ครู จำนวน 39 คน ที่มีประสบการณ์ในการจัดการเรียนการสอน 5 ปีขึ้นไป พบว่าการจัดการเรียนการสอนของครูยังใช้รูปแบบการสอนแบบบรรยาย ให้นักเรียนทำแบบฝึกหัดจากบทเรียน ไม่ค่อยใช้สื่อ แหล่งเรียนรู้ และฝึกให้นักเรียนคิด แก้ปัญหาได้อย่างมีเหตุผลเท่าที่ควร และการจัดการเรียนการสอนใน 8 กลุ่ม สาระการเรียนรู้ขาดการบูรณาการหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง
ผลการวิเคราะห์แนวคิด ทฤษฎี วรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง กับการพัฒนารูปแบบ พบว่า Tony Wagner (2008 : 20 - 24 อ้างถึงใน มนต์ชัย พงศกรนฤวงษ์ 2552 : 6 - 7) กล่าวว่าการที่นักเรียน นักศึกษา มีผลสัมฤทธิ์ที่อยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างต่ำและขาดทักษะการคิดเป็น ทำเป็น และแก้ไขปัญหาได้นั้น ควรมีการพัฒนาทักษะการติดต่อสื่อสารที่ดี ทักษะการปฏิบัติงาน และทักษะการแก้ปัญหาให้มีวิธีการเรียนรู้ที่หลากหลาย สามารถเรียนรู้ได้ตลอดชีวิตโดยกระตุ้นส่งเสริมและพัฒนาให้นักเรียนมีวิธีการเรียนรู้เพื่อสร้างความรู้ได้อย่างต่อเนื่อง จัดโอกาสและกิจกรรมที่หลากหลาย เพื่อนักเรียนสามารถพัฒนาตนเองได้ตลอดชีวิตมีประสิทธิภาพในการทำงานและดำรงชีวิตที่มีคุณภาพในสังคม ที่มีการเปลี่ยนแปลง ดังที่กระทรวงศึกษาธิการ (2546 : 14) สรุปว่าสถานศึกษามีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาคุณภาพของคน ซึ่งจะส่งผลต่อความเข้มแข็งของสังคมและประเทศชาติดังกล่าวแล้ว นอกจากนี้ผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพที่บริหารจัดการสถานศึกษาจนประสบผลสำเร็จ และเป็นไปตามแนวทางที่พึงประสงค์ จำเป็นต้องใช้รูปแบบการบริหารและจัดการที่มีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษามาใช้เป็นแนวทางในการบริหารและจัดการ รูปแบบการบริหารจัดการศึกษามีหลายรูปแบบที่สำคัญ ได้แก่ การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน(School - Based Management : SBM) การบริหารแบบบูรณาการ (Chief Executive Officer : CEO) การบริหารแบบมีส่วนร่วมและการบริหารคุณภาพทั้งองค์กร (Total Quality Management : TQM) เป็นต้น และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (2545 : 1) ได้รวมถึงการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้กับการจัดการศึกษาของประเทศไทยปัจจุบันได้อย่างสอดคล้อง โดยให้ความสำคัญกับ “คน” และ “พื้นที่” เป็นศูนย์กลางในการพัฒนา และมีหลักดำเนินการที่สำคัญ ได้แก่ ความพอประมาณ คือ ความเหมาะสอดคล้องกับความต้องการของชุมชน สังคมความพร้อมของสถานศึกษา และความสามารถและความถนัดของนักเรียน หลักความมีเหตุผล คือ การปลูกฝัง ให้เกิดกระบวนการทางวิทยาศาสตร์กับผู้เกี่ยวข้องให้เป็นคนมีเหตุผล คือ ทำกิจกรรมด้วยความรู้ ความเข้าใจถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการกระทำ โดยคำนึงถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้อง รู้จักเชื่อมโยงกระบวนการจากจุดเริ่มต้นสู่ผลลัพธ์ และปฏิบัติบนพื้นฐานของความรู้และประสบการณ์ ส่งเสริมการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้ให้มีการเรียนรู้ตลอดเวลา การมีภูมิคุ้มกันในตัวเอง คือ เน้นหลักการพึ่งตนเอง เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง สามารถปรับตัวให้เข้ากับสิ่งที่ควบคุมไม่ได้ ทั้งที่มาจากภายในและภายนอกประเทศ มีวิสัยทัศน์และพยากรณ์อนาคตอย่างมีหลักการและเหตุผลและการดำเนินการจะประสบผลสำเร็จและบรรลุเป้าหมายได้นั้นจำเป็นต้องมีเงื่อนไขประกอบ 2 อย่าง คือ การมีความรู้เกี่ยวกับหลักวิชาการ การจัดการศึกษาต้องให้นักเรียนได้เรียนรู้อย่างสอดคล้องสมดุลและบูรณาการทั้งทฤษฎีและปฏิบัติ ด้านวิทยาศาสตร์และสังคม และด้านคุณธรรม มีความรอบคอบ รู้จักประยุกต์และเชื่อมโยงความรู้ด้านต่าง ๆ เพื่อการวางแผนก่อนตัดสินใจนำไปปฏิบัติอย่างเป็นขั้นตอน การมีคุณธรรมด้านจิตใจและด้านการกระทำหรือแนวทาง ในการดำเนินชีวิต
2. ผลการสร้างรูปแบบคุณธรรมจริยธรรม ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อส่งเสริมทักษะชีวิต สำหรับนักเรียนโรงเรียนวัดหลักสี่ราษฎร์สโมสร ได้รูปแบบที่มีชื่อเรียกว่า “ PCLEEPA Model ” ซึ่งได้พัฒนาตามหลักการและแนวคิดการออกแบบรูปแบบการเรียนการสอนร่วมกับกระบวนการวิจัยและพัฒนา(Research and Development : R&D) และแนวคิดเกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และแนวคิดของนักการศึกษา เช่น มนูญ มุกข์ประดิษฐ์ (2549 : 9 -11) ; ป.อ. ปยุตโต (2549 : 9 - 11) ; กลุ่มพัฒนากรอบแนวคิดทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (2546 : 36 - 37) โดยรูปแบบการจัดการเรียนรู้มีองค์ประกอบ คือ หลักการ วัตถุประสงค์ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี เงื่อนไขความรู้ และเงื่อนไขคุณธรรม การพัฒนาบุคลากร การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา การจัดการเรียนการสอน การประเมินผล กาจัดบรรยากาศและสภาพแวดล้อม การมีส่วนร่วมของชุมชน และการบริหารสถานศึกษา ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
องค์ประกอบที่ 1 หลักการของรูปแบบคุณธรรมจริยธรรม ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อส่งเสริมทักษะชีวิต สำหรับนักเรียนโรงเรียนวัดหลักสี่ราษฎร์สโมสร
องค์ประกอบที่ 2 วัตถุประสงค์ของรูปแบบคุณธรรมจริยธรรม ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อส่งเสริมทักษะชีวิต สำหรับนักเรียนโรงเรียนวัดหลักสี่ราษฎร์สโมสร
องค์ประกอบที่ 3 หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คือ หลัก 3 ห่วง 2 เงื่อนไข ประกอบ ด้วย ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี และ 2 เงื่อนไข ได้แก่ เงื่อนไขความรู้ และเงื่อนไขคุณธรรม เป็นขั้นที่สร้างความรู้ ความเข้าใจ หลักทฤษฎีแก่ครู และนักเรียน
องค์ประกอบที่ 4 รูปแบบการจัดการเรียนรู้ มีส่วนประกอบ 7 ขั้นตอนดังนี้
1) การพัฒนาบุคลากร (Personnel : P) เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพด้านความรู้ ความเข้าใจ ด้านทักษะ ความชำนาญในการปฏิบัติงาน ด้วยวิธีการฝึกอบรม ส่งไปดูงานในหน่วยงานต่าง ๆ ร่วมสัมมนาทั้งในและนอกสถานที่ และส่งเสริมการปฏิบัติตนตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อบุคลากรจะสามารถปฏิบัติงานได้อย่างเต็มที่ และมุ่งไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายของสถานศึกษา
2) การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา (Curriculum : C) เป็นขั้นการจัดทำหลักสูตรท้องถิ่น ให้สอดคล้องกับความต้องการ ความจำเป็นและสอดคล้องกับนโยบายของชาติ หลักสูตรบูรณาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และการกำหนดกิจกรรมการเรียนรู้
3) การจัดการเรียนการสอน (Learning : L) เป็นขั้นการจัดการเรียนการสอนตามแผนการจัดการเรียนรู้บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ และกิจกรรมพัฒนานักเรียน ได้แก่ ศูนย์การเรียนรู้ ทัศนศึกษา การประชุม อบรมสัมมนา เป็นการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับชุมชน
4) การประเมินผล (Evaluation : E) เป็นขั้นการติดตามการดำเนินงานก่อนดำเนินการ เพื่อ ทราบข้อมูลพื้นฐาน การประเมินระหว่างดำเนินการเพื่อปรับปรุงให้เหมาะสม ประเมินผลหลังการดำเนินการ สรุปและรายงาน
5) การจัดบรรยากาศและสภาพแวดล้อม (Environment : E)เป็นขั้นที่ปรับสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกสถานศึกษา การดูแลรักษาอาคารเรียน ห้องเรียน ห้องพิเศษ แหล่งเรียนรู้ สถานที่เล่น และแหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียนให้สะอาด ปลอดภัย และเอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียน
6) การมีส่วนร่วมของชุมชน (Participation : P) เป็นขั้นที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง คือคณะกรรม การสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและชุมชน เข้ามามีบทบาทในการจัดการศึกษา จัดทำหลักสูตร กำหนดกิจกรรมการเรียนรู้ และเป็นที่ปรึกษาโครงการต่าง ๆ ในสถานศึกษา ในหลักการของการมีส่วนร่วม ร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมดำเนินการ ร่วมประเมินผล ร่วมรับผิดชอบ ร่วมกิจกรรม และร่วมกับชุมชน
7) การบริหารการศึกษา (Administration : A) เป็นขั้นการบริหารจัดการที่ดี ในสถานศึกษา โดยให้สอดคล้องกับหลักสูตรสถานศึกษา นโยบาย และพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 (แก้ไข พ.ศ. 2545) การบริหารจัดการที่ดี การบริหารแบบมีส่วนร่วม การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน สนับสนุนแหล่งเรียนรู้และการใช้ทรัพยากรที่เหมาะสม
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบคุณธรรมจริยธรรม ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อส่งเสริมทักษะชีวิต สำหรับนักเรียนโรงเรียนวัดหลักสี่ราษฎร์สโมสร โดยนำรูปแบบคุณธรรมจริยธรรม ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อส่งเสริมทักษะชีวิต สำหรับนักเรียนโรงเรียนวัดหลักสี่ราษฎร์สโมสร สอบถามครูจำนวน 39 คน ที่ร่วมการสนทนากลุ่ม (Focused Group Discussion) พบว่า รูปแบบคุณธรรมจริยธรรม ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อส่งเสริมทักษะชีวิต สำหรับนักเรียนโรงเรียนวัดหลักสี่ราษฎร์สโมสร พบว่า โดยภาพรวมมีความเหมาะสมและความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายองค์ประกอบพบว่าการพัฒนาบุคลากร การบริหารการศึกษาและการประเมินผลมีความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก และการพัฒนาหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน การมีส่วนร่วมของชุมชน และการจัดบรรยากาศและสภาพแวดล้อม มีความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด ตามลำดับ หลังจากทดลองใช้รูปแบบคุณธรรมจริยธรรม ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อส่งเสริมทักษะชีวิต สำหรับนักเรียนโรงเรียนวัดหลักสี่ราษฎร์สโมสร ครูมีคุณลักษณะในการปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอยู่ในระดับมาก และนักเรียนมีคุณลักษณะในการปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง อยู่ในระดับมาก
4. ผลการประเมินความพึงพอใจของครู นักเรียนและผู้ปกครองที่มีต่อการใช้รูปแบบคุณธรรมจริยธรรม ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อส่งเสริมทักษะชีวิต สำหรับนักเรียนโรงเรียนวัดหลักสี่ราษฎร์สโมสร ครู นักเรียน และผู้ปกครองมีความพึงพอใจต่อรูปแบบคุณธรรมจริยธรรม ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อส่งเสริมทักษะชีวิต สำหรับนักเรียนโรงเรียนวัดหลักสี่ราษฎร์สโมสร อยู่ในระดับมากที่สุด