การพัฒนาความคิดการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์โดยใช้โครงงานเป็นฐาน
ของชุมนุมนักวิทยาศาสตร์น้อย โรงเรียนบ้านต้นรุง
ชื่อผู้วิจัย นางสาวโสภา สามแก้ว
ตำแหน่งครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนบ้านต้นรุง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2
ปีที่ศึกษา ปีการศึกษา 2564
บทคัดย่อ
การพัฒนาความคิดการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์โดยใช้โครงงานเป็นฐานของชุมนุมนักวิทยาศาสตร์น้อย โรงเรียนบ้านต้นรุง มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษารูปแบบและองค์ประกอบของรูปแบบการพัฒนาความคิด การแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์โดยใช้โครงงานเป็นฐาน 2) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการพัฒนาความคิด การแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์โดยใช้โครงงานเป็นฐานของชุมนุมนักวิทยาศาสตร์น้อย โรงเรียนบ้านต้นรุง
3) เพื่อศึกษาผลการพัฒนาความคิดการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์โดยใช้โครงงานเป็นฐานของชุมนุมนักวิทยาศาสตร์น้อย โรงเรียนบ้านต้นรุง ประชากรกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ ในการศึกษาในครั้งนี้ คือ นักเรียน ชุมนุมนักวิทยาศาสตร์น้อย โรงเรียนบ้านต้นรุง ปีการศึกษา 2564 จำนวน 53 คน เครื่องมือที่ใช้ ในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย 1) คู่มือการพัฒนาความคิดการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์โดยใช้โครงงาน เป็นฐานของชุมนุมนักวิทยาศาสตร์น้อย โรงเรียนบ้านต้นรุง 2) แบบประเมินความคิดการแก้ปัญหา เชิงสร้างสรรค์ 3) บันทึกคะแนนวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ และแบบสอบถามความพึงพอใจ
การพัฒนาความคิดการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์โดยใช้โครงงานเป็นฐานของชุมนุมนักวิทยาศาสตร์น้อย โรงเรียนบ้านต้นรุง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( ) และ ร้อยละ (P) นำเสนอผลการศึกษาในรูปตารางประกอบความเรียง การศึกษาครั้งนี้ดำเนินการ 3 ระยะ ตามวัตถุประสงค์ ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้
1. รูปแบบการพัฒนาความคิดการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์โดยใช้โครงงานเป็นฐานของชุมนุม
นักวิทยาศาสตร์น้อย โรงเรียนบ้านต้นรุง ประกอบด้วยองค์ประกอบ 6 ขั้นตอน 25 ตัวชี้วัด ได้แก่ ขั้นที่ 1 สร้างความตระหนักหลักการเรียนรู้โครงงาน 5 ตัวชี้วัด ขั้นที่ 2 เตรียมสถานการณ์ค้นหาปัญหา 5 ตัวชี้วัด ขั้นที่ 3 วางแผนการปฏิบัติ 5 ตัวชี้วัด ขั้นที่ 4 แสวงหาความรู้ ร่วมมือปฏิบัติตามแผน 5 ตัวชี้วัด ขั้นที่ 5 ทบทวน ตรวจสอบ 2 ตัวชี้วัด ขั้นที่ 6 สรุปผล ชื่นชมผลงาน 3 ตัวชี้วัด
2. ผลการสร้างและพัฒนารูปแบบการพัฒนาความคิดการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์โดยใช้โครงงานเป็นฐานของชุมนุมนักวิทยาศาสตร์น้อย โรงเรียนบ้านต้นรุง ประกอบด้วยองค์ประกอบ 6 ขั้นตอน 25 ตัวชี้วัด ผลประเมินด้านความถูกต้อง/เหมาะสมของรูปแบบภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.68, =0.14)
3. ผลการพัฒนาความคิดการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์โดยใช้โครงงานเป็นฐานของชุมนุมนักวิทยาศาสตร์น้อย โรงเรียนบ้านต้นรุง
3.1 ผลการเปรียบเทียบความคิดการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์โดยใช้โครงงานเป็นฐาน ของชุมนุมนักวิทยาศาสตร์น้อย โรงเรียนบ้านต้นรุง นักเรียนชุมนุมนักวิทยาศาสตร์น้อยจำนวน 53 คน ก่อนพัฒนา คะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ( =2.67, =0.16) เฉลี่ยร้อยละ 53.40 หลังพัฒนาคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับระดับมากที่สุด ( =4.70, =0.12) เฉลี่ยร้อยละ 90.00 มีความก้าวหน้า ร้อยละ 40.60
3.2 ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชุมนุมนักวิทยาศาสตร์น้อย โรงเรียนบ้านต้นรุง ประเมินจากคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของปีการศึกษา 2563 และ ปีการศึกษา 2564 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ ปีการศึกษา 2564 เพิ่มมากขึ้นจาก ปีการศึกษา 2563 ทั้ง 3 ระดับชั้น และคะแนนเฉลี่ยของแต่ละระดับชั้นผ่านเกณฑ์การประเมินที่โรงเรียนกำหนด นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ปีการศึกษา 2563 คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 70.28 ปีการศึกษา 2564 คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 75.50 (+5.22) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2563 คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 65.15 ปีการศึกษา 2564 คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 78.00 (+12.85) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2563 คะแนน เฉลี่ยร้อยละ 70.27 ปีการศึกษา 2564 คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 75.82 (+5.55)
3.3 ความพึงพอใจของนักเรียนชุมนุมนักวิทยาศาสตร์น้อย ต่อการพัฒนาความคิด การแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์โดยใช้โครงงานเป็นฐานของชุมนุมนักวิทยาศาสตร์น้อย โรงเรียนบ้านต้นรุง โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.75, =0.10)